THAI

สัญญากู้ยืมเงิน
การอายัดทรัพย์ชั่วคราว
การอายัดทรัพย์ชั่วคราวเพื่อเป็นมาตรการเพื่ออารักขาทรัพย์
- “มาตรการเพื่ออารักขาทรัพย์” หมายถึง มาตรการที่กระทำเพื่ออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ในขณะนี้ จนกว่าจะได้รับสิทธิในการจำหน่ายทรัพย์สินโดยการบังคับคดี
- “การอายัดทรัพย์ชั่วคราว” อาจได้รับผลกระทบเพื่อบังคับคดีต่อทรัพย์สินของลูกหนี้ในเรื่องการเรียกร้องทางการเงินหรือการเรียกร้องที่แปลงสภาพเป็นเงินได้ (มาตรา 276 แห่งรัฐบัญญัติบังคับคดีแพ่ง)
ผลและประโยชน์ของการอายัดทรัพย์ชั่วคราว
- การอายัดทรัพย์ชั่วคราวอาจมีผลทางอ้อมจากการบังคับให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ทันที และยังมีผลโดยตรงต่อการขัดจังหวะอายุความ
- อายุความจะสะดุดหยุดลงด้วยการอายัดทรัพย์ชั่วคราว (มาตรา 168 แห่งรัฐบัญญัติกฎหมายแพ่ง)
วิธีการยื่นคำร้องขอการอายัดทรัพย์ชั่วคราว
- กระบวนการที่เกี่ยวกับการอายัดทรัพย์ชั่วคราวจะอยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลเฉพาะศาลเขตที่มีอำนาจพิจารณาคดีเหนือสถานที่ตั้งของทรัพย์สินที่จะอายัดทรัพย์ชั่วคราว หรืออยู่ภายใต้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาสาระแห่งคดีในการเรียกร้องเงินต้น (มาตรา 278 และ 21 แห่งรัฐบัญญัติบังคับคดีแพ่ง)
- แบบคำร้องขออายัดทรัพย์ชั่วคราวจะต้องประกอบด้วยสาระดังต่อไปนี้ (มาตรา 279-(1) แห่งรัฐบัญญัติบังคับคดีแพ่ง)
· รายละเอียดส่วนบุคคลของผู้ยื่นคำร้องและตัวแทนทางกฎหมายของตน หากมี (มาตรา 249-(1) แห่งรัฐบัญญัติกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง)
· จำนวนเงินที่เรียกร้อง (หมายเหตุ: หากข้อเรียกร้องไม่ใช่การเรียกร้องทางการเงิน ข้อเรียกร้องดังกล่าวจะถูกแปลงเป็นเงิน)
· ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญซึ่งอาจเป็นเหตุให้มีคำสั่งอายัดทรัพย์ชั่วคราว (มาตรา 277 แห่งรัฐบัญญัติบังคับคดีแพ่ง)
- โดยที่คำสั่งอายัดทรัพย์ชั่วคราวอาจสั่งโดยไม่ถือคำคู่ความใดๆ (มาตรา 280-(1) แห่งรัฐบัญญัติบังคับคดีแพ่ง) จะต้องระบุจำนวนเงินที่เรียกร้องและเหตุให้มีคำสั่งอายัดทรัพย์ชั่วคราวไว้ในแบบคำร้อง (มาตรา 279-(2) แห่งรัฐบัญญัติบังคับคดีแพ่ง)