THAI

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
ผู้ขับขี่ที่จำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกรณีพิเศษ
เหตุผลสำหรับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกรณีพิเศษ
- หากผู้ที่ถือใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งหรือใบอนุญาตชนิดที่สองมีความพิการทางกายภาพที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ที่ปลอดภัย ผู้นั้นจะต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกรณีพิเศษ ซึ่งจะดำเนินการโดยหัวหน้าหน่วยงานสอบใบอนุญาตขับขี่
ผู้ขับขี่ที่จำเป็นต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกรณีพิเศษ
- หากผู้ที่ถือใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งหรือใบอนุญาตชนิดที่สอง(รวมถึงใบขับขี่สากลหรือใบขับขี่ต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับร่วมกัน)มีความพิการทางกายภาพที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการขับขี่ที่ปลอดภัย ผู้นั้นจะต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกรณีพิเศษ ซึ่งจะดำเนินการโดยหัวหน้าหน่วยงานสอบใบอนุญาตขับขี่ (「กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」มาตรา 88.(1))
- ด้านล่างนี้คือประเภทของบุคคลที่ต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกรณีพิเศษ (มาตรา 88.(2) 「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」; มาตรา 56.(1)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
· หากท่านเข้าข่ายบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้ หรือหากมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าท่านเข้าเงื่อนไขความพิการทางกายภาพที่อาจเป็นอุปสรรคค่อการขับขี่ที่ปลอดภัย ท่านจะต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายกรณีพิเศษ:
① บุคคลผู้มีสภาวะบกพร่องทางจิต เช่น ภาวะสมองเสื่อม, โรคจิตเภท, โรคบุคลิกภาพจิตเภท, โรคอารมณ์สองขั้ว, หรือโรคซึมเศร้า; ความผิดปกติอื่น เช่น ปัญญาอ่อน หรือโรคลมชัก ตามที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางว่าไม่สามารถขับขี่ยานพาหนะได้อย่างปกติ (「กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」มาตรา 72.(1) ข้อ 2 และ「ระเบียบการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจรจรทางบก」มาตรา 42.(1))
② ผู้มีความบกพร่องทางการได้ยิน (สำหรับเฉพาะใบอนุญาตขับขี่ประเภท 1 ) ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น(ประเภท 1 ในใบขับขี่รถยนตฺ์เฉพาะของใบขับขี่รถใหญ่·ใบขับขี่พิเศษในกรณีของผู้ที่ตามองไม่เห็นเพียงข้างเดียวหรือ ผู้ไร้ความสามารถในการนั่งเนื่องจากความพิการทางร่างกายบริเวณขาศีรษะหรือกระดูกสันหลังอย่างไรก็ตามบุคคลที่มีความสามารถในการขับขี่ในสภาวะปกติซึ่งใช้ยานพาหนะที่ผลิตให้เหมาะกับความพิการทางร่างกายและได้รับอนุญาตให้ใช้งานดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นจากข้อกำหนดข้างต้น (มาตรา 82 (1) วรรค 3 ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบกและมาตรา 42 (2) ในกฤษฎีกาที่ออกเพื่อมีผลบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบก)
③ ผู้ที่สูญเสียแขนทั้งสองข้างตรงส่วนเหนือข้อศอก หรือผู้ที่ไม่สามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้โดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ดี ข้อกำหนดเดียวกันนี้จะไม่บังคับใช้ในกรณีที่ผู้ขับขี่สามารถขับรถที่ผลิตให้เหมาะสมกับระดับความพิการทางกายภาพของผู้นั้นได้ตามปกติ (มาตรา 82.(1).4「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
④ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาว่าไม่สามารถขับขี่ได้อย่างปกติ เนื่องจากการใช้สารควบคุมหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (มาตรา 82.(1).5「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」; มาตรา 42.(3)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
⑤ บุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่ผู้บริหารหน่วยงานกองกำลังทหารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการนายกเทศมนตรีมหานครพิเศษนายกเทศมนตรีมหานครผู้ว่าราชการจังหวัดนายกเทศมนตรีจังหวัดปกครองตนเองพิเศษหรือหัวหน้าของชี (เมือง)/คุน (อำเภอ)/คู (เขต) เสนาธิการกองทัพบกกองทัพเรือและกองทัพอากาศประธานสำนักงานสวัสดิการและค่าชดเชยแรงงานเกาหลีใต้หัวหน้าหน่วยงานคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยประธานสหกรณ์ให้ความช่วยเหลือร่วมหัวหน้าสถานพยาบาลและสถานกักกันผู้อำนวยการศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านเงินบำนาญแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติบุคคลที่มีการตรวจสอบว่ามีความพิการหลังกำเนิดฯลฯและแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (มาตรา 89 (1) ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบกมาตรา 56 (1) วรรค 2 และมาตรา 58 (1) ในกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบก)