THAI

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
การทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายตามระยะ
เหตุผลสำหรับการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายตามระยะ
- หากผู้ขับขี่ไม่มีความสามารถทางกายภาพหรือทางจิตใจที่ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้สำหรับการขับขี่ยานพาหนะ อาจนำไปสู่อุบัติเหตุจราจรที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ และ/หรือสร้างความเสียหายให้แก่ทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้ กฎหมายจึงได้กำหนดให้ผู้ถือใบอนุญาตขับขี่ประเภทที่หนึ่งเข้ารับการทดสอบตามระยะ เพื่อพิจารณาถึงสมรรถภาพสำหรับการขับขี่ และจะอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกายเท่านั้นสามารถคงสภาพการใช้งานใบอนุญาตขับขี่ได้

ผู้ยื่นคำร้อง

- ผู้มีใบอนุญาตขับขี่ ประเภท 1

- ผู้มีใบอนุญาตขับขี่ประเภท 2 ที่มีอายุเกิน 70 ปี ในวันที่ออกใบอนุญาต

สถานที่ยื่นคำร้อง

สนามสอบใบอนุญาตขับขี่ทั่วประเทศ หรือ กรมการขนส่ง สถานีตำรวจ

(ในกรณีออกใบอนุญาตที่สถานีตำรวจ ต้องทำการตรวจร่างกายในสถานพยาบาที่กำหนดก่อนยื่นคำร้อง)

กำหนดทดสอบสมรรถภาพเพื่อต่ออายุใบอนุญาตขับขี่

- ครั้งแรก : 10 ปี นับจากวันที่ผ่านการทดสอบ(ทว่า, บุคคลผู้มีอายุ 65-75 ปี : 5 ปี, มากกว่า 75 ปี : 3 ปี , บุคคลผู้บกพร่องทางการมองเห็นหนึ่งข้างที่สอบใบอนุญาตขับขี่ ประเภท 1 แบบทั่วไป : 3 ปี)นับจากวันที่1 เดือนมกราคมถึงวันที่31 เดือนธันวาคมของปีที่สอบใบขับขี่ได้(「กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」 มาตรา 87 วรรค 1 ข้อ 1)

- ครั้งถัดไป : ก่อนวันต่ออายุใบอนุญาตขับขี่ครั้งแรก 10 ปี ((ทว่า, บุคคลผู้มีอายุ 65-75 ปี : 5 ปี, มากกว่า 75 ปี : ทุกๆ 3 ปี , บุคคลผู้บกพร่องทางการมองเห็นหนึ่งข้างที่สอบใบอนุญาตขับขี่ ประเภท 1 แบบทั่วไป : ทุกๆ 3 ปี)นับจากวันที่1 เดือนมกราคมถึงวันที่31 เดือนธันวาคมของปีที่สอบใบขับขี่ได้(「กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」 มาตรา 87.(1) ข้อ 2)

เอกสารประกอบ

การยื่นคำร้อง (「ระเบียบบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」 มาตรา 54 และ 「กฎการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」 มาตรา 82 วรนรค 1)

- ใบยื่นคำร้องขอทดสอบสมรรถภาพ (「กฎการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」เอกสารแนบ แบบฟอร์ม 64)

- รูปถ่าย 2 ใบ

- บันทึกประวัติทางการแพทย์ ใช้เฉพาะผู้ถือครองใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะขนาดเล็ก/ใหญ่/พิเศษ ประเภท 1 (「กฎการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」เอกสารแนบ แบบฟอร์ม 65)

- บันทึกลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการตรวจโรคหรือการตรวจร่างกาย ใช้เฉพาะกับผู้ถือครองใบอนุญาตขับขี่ทั่วไปประเภท 1 หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภท 2

- เอกสารอื่นๆที่จำเป็นต่อการออกใบอนุญาต ตาม「ระเบียบการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」 มาตรา 45.(1) ที่ออกไม่เกิน 2 ปี ก่อนวันยื่นคำร้อง (บุคคลผู้บกพร่องทางสายตา ที่มีใบอนุญาตขับขี่ยานพาหนะประเภท 1 ยื่นเฉพาะใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยแพทย์ผู้รักษาตาม「กฎหมายว่าด้วยการรักษาพยาบาล」 มาตรา 17 เท่านั้น) (อาจไม่รวมเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางตาม「กฎหมายว่าด้วยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 36)

√ ใบตรวจสุขภาพที่ออกโดยแพทย์ตาม「กฎหมายว่าด้วยการรักษาพยาบาล」 มาตรา 3.(2) ข้อ 1 ก, และสถานพยาบาลและคลินิกทางการแพทย์ตามวรรคเดียวกัน ข้อ 3 ก และ จ.「ระเบียบบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」 แบบฟอร์ม 64 (ผู้ถือใบอนุญาตขับขี่ประเภท 1 ทั่วไป และ ประเภท 2 「กฎการบังคับใช้กฎหมายว่าการจราจรทางบก」 แบบฟอร์ม 65 )

√ใบแจ้งผลตรวจร่างกายตาม「กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 52

√ ใบรับรองที่ออกโดยแพทย์ตาม「กฎหมายว่าด้วยการรักษาพยาบาล」 มาตรา 17

√ ใบแจ้งผลตรวจสุขภาพเกณฑ์ทหารตาม「กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร」 มาตรา 11 (รวมถึงการตรวจร่างกายเพื่อรับราชการทหาร)

※ ผู้ร้องต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมในกรณีที่ ผู้ร้องไม่ยินยอมให้สืบค้นข้อมูลส่วนตัว ผ่านระบบฐานข้อมูลกลาง ตาม「กฎหมายว่าด้วยการบริหารด้วยฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์」 มาตรา 36 ผ่านระบบฐานข้อมูลกลาง

(1) ผลการตรวจสุขภาพทั่วไป และ ประวัติการรักษา ตาม「กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 52 หรือ 「กฎหมายว่าด้วยการรักษาพยาบาล」 มาตรา 14 หรือ ใบแจ้งผลตรวจสุขภาพเกณฑ์ทหารและประวัติการรักษาตาม「กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร」 มาตรา 11 (รวมถึงการตรวจร่างกายเพื่อรับราชการทหาร) ที่ระบุข้อมูลด้านความสามารถทางการมองเห็นและการได้ยินเสียง ก่อนวันยื่นคำร้องไม่เกิน 2 ปี

(2) หากผู้ยื่นคำร้องเป็นชาวต่างชาติหรือชาวเกาหลีที่พำนักอยู่ต่างประเทศและไม่ยินยอมให้เข้าถึงข้อมูลสถานที่พำนักในสาธารณรัฐเกาหลี ผ่านฐานข้อมูลกลาง ตามมาตรา 36 ของกฎหมายว่าด้วยการบริหารด้วยฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(「ระเบียบบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」 มาตรา 82 วรรค 2)

บทลงโทษกรณีไม่ยื่นคำร้องขอต่ออายุ ใบอนุญาตขับขี่

- หากไม่ทำการต่อใบอนุญาตขับขี่ของท่านภายในกำหนดระยะเวลาการต่ออายุใบอนุญาตที่ระบุ มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 วอน (「กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก」มาตรา 160.(2) ข้อ 7)