ขั้นตอนการสอบใบอนุญาตขับขี่
การสอบใบอนุญาตขับขี่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังที่แสดงไว้ในผังขั้นตอนด้านล่างนี้
1. การอบรมความปลอดภัยด้านการจราจร
- ผู้ที่ประสงค์จะยื่นขอสอบทักษะนั้น จะต้องเข้ารับการอบรมความปลอดภัยด้านการจราจรเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งจัดอบรมโดยโรงเรียนสอบขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ และสถาบันอบรมความปลอดภัยด้านการจราจรก่อนที่จะขอสอบข้อเขียน (มาตรา 73.(1)「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」; มาตรา 37.(1)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน 」)
- หากผู้ที่ใบอนุญาตขับขี่ของตนได้รับการเพิกถอน ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขับขี่ใหม่ และเข้ารับการอบรมความปลอดภัยด้านการจราจรพิเศษตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว หรือหากผู้ยื่นขอใบอนุญาตได้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้วที่โรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ ผู้นั้นจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้ารับการอบรมความปลอดภัยด้านการจราจร (บทบัญญัติตามมาตรา 73.(1)「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
คุณสมบัติผู้อบรม
|
ชั่วโมงการอบรม
|
เนื้อหาและหัวข้อการอบรม
|
วิธีการอบรม
|
บุคคลที่ต้องการทำใบขับขี่ใหม่
|
1 ชั่วโมง
|
·มารยาทพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับผู้ขับขี่ ·ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับและความรู้ด้านอื่นที่เกี่ยวกับการจราจรทางถนน ·ทักษะในการขับขี่อย่างปลอดภัย · การป้องกันอุบัติเหตุจราจรและการจัดการ ·เนื้อหาสาระเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุจราจรที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ·เทคนิคการเปิดถนนสำหรับเหตุฉุกเฉิน ·ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการขับขี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการขับขี่ตามภาวะเศรษฐกิจ ·ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการขับขี่ที่ปลอดภัย ※ รายละเอียด วิธีการ เวลาการฝึกอบรมอ้างอิงจากตารางแนบ 16「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」
|
ผ่านวิดีโอ
|
2. การตรวจร่างกาย (การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย)
- ผู้ที่ขอสอบใบอนุญาตขับขี่จะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายที่สถานพยาบาล (สถานพยายาลบางแห่งอาจมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ของตนเองภายในสถานประกอบการของตน) เพื่อตรวจว่ามีสภาพร่างกายที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้สำหรับการขับขี่รถยนต์หรือไม่ (มาตรา 83.(1).1「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」); มาตรา 45,「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
หลักเกณฑ์ที่เป็นข้อจำกัด
|
รายละเอียด
|
การมองเห็น (รวมทั้งระดับของการมองเห็น)
|
สำหรับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ประเภทที่หนึ่ง: การมองเห็นซึ่งวัดขณะที่ตาทั้งสองข้างเปิดนั้นจะต้องมีค่าความคมชัด 0.8 หรือสูงกว่าและการมองเห็นของตาสองข้างนั้นแต่ละข้างจะต้องมีค่าความคมชัด0.5 หรือสูงกว่า สำหรับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ประเภทที่สอง:การมองเห็นซึ่งวัดขณะที่ตาทั้งสองข้างเปิดนั้นจะต้องมีค่าความคมชัด 0.5 หรือสูงกว่า
|
การระบุสี
|
ท่านต้องสามารถแยกความแตกต่างของสีแดง สีเขียวและสีเหลืองได้อย่างชัดเจน
|
ความสามารถในการได้ยิน
|
ผู้ยื่นขอจะต้องสามารถได้ยินเสียงที่ระดับการได้ยินที่ 55 เดซิเบลหรือสูงกว่า(ผู้ยื่นขอใบอนุญาตที่ใช้เครื่องช่วยฟังจะต้องสามารถได้ยินเสียงที่ระดับการได้ยินที่40 เดซิเบลหรือสูงกว่า)
|
ความพิการทางกายภาพ
|
ผู้ยื่นขอจะต้องไม่มีความพิการทางกายภาพหรือทางจิตใจที่ถือว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ผู้ยื่นขอใบอนุญาตไม่สามารถขับรถได้อย่างปกติรวมถึงไม่สามารถบังคับควบคุมพวงมาลัยหรือระบบอื่น ๆ ได้ (ทั้งนี้ผู้ยื่นขอจะต้องได้รับการรับรองเป็นการเฉพาะว่าสามารถขับรถได้อย่างปกติหากใช้รถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ซึ่งได้รับการผลิต/อนุญาตให้ในฐานะอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือตามระดับความพิการทางกายภาพของผู้ยื่นขอ)
|
√ แบบฟอร์มตรวจร่างกายในเอกสารแนบ 64 แห่งพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้กฎหมายการจราจรทางบกที่ออกโดยสถานพยาบาลตามมาตรา 3 วรรค 2 อนุ 1 แห่งกฎหมายการแพทย์ ออกโดยโรงพยาบาลตามมาตรา 3 วรรค 2 อนุ 3 (ก) ถึง (ฉ) (หากต้องการสอบใบขับขี่ประเภท 1 สามัญและประเภท 2 ให้ใช้เอกสารแนบ 65 แห่งพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้กฎหมายการจราจรทางบก)
· เอกสารใดๆดังต่อไปนี้ที่ออกภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอการทดสอบใบอนุญาตขับขี่
√ 「รัฐบัญญัติว่าด้วยบริการทางการแพทย์」มาตรา 3.2 แบบ1 ตามคลินิกทั่วไปแบบ 3 (ข้อ ก. และข้อ ฉ.) และตามที่ระบุไว้เอกสารที่ออกโดยโรงพยาบาลและโรงพยาบาลที่รักษาโรคทั่วไปแบบ 64 (ประเภท 1 ทั่วไปและประเภท 2 ในกรณีการทดสอบใบอนุญาตขับขี่「กฎหมายบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」ใบแนบ แบบฟอร์มหมายเลข 65)
√ใบตรวจสุขภาพตามมาตรา 52 แห่ง「รัฐบัญญัติว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」หรือ
√ผลวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรที่ออกให้โดยแพทย์ตามมาตรา 17 แห่ง「รัฐบัญญัติว่าด้วยบริการทางการแพทย์」
√ตาม「กฏหมายเกณฑ์ทหาร」มาตรา 11 กำหนดเกี่ยวกับผลการตรวจร่างกายในการตัดสินในการเกณฑ์ทหาร (รวมไปถึงการตรวจร่างกายเมื่อเข้ารับการเกณฑ์ทหาร)
· ใบประวัติทางการแพทย์ (แบบ 42 ในตัวบทที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบก)(ยกเว้นกรณีประเภท 1 ของใบอนุญาตทั่วไปและประเภท 2 ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์)
· ใบรายงานผลตรวจโรค/สภาพร่างกาย(แบบ 42.2 ในตัวบทที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบก)(ยกเว้นกรณีประเภท 1 ของใบอนุญาตทั่วไปและประเภท 2 ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์)
※อย่างไรก็ตาม การมีสมรรถภาพตามมาตรฐานหรือไม่นั้น ตามมาตรา 45(1) แบบ1ในกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบก 「ตามมาตรา 17 แห่งรัฐบัญญัติว่าด้วยบริการทางการแพทย์」ให้มีผลวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรที่ออกให้โดยแพทย์เท่านั้น ตามมาตรา 45(2) แบบ1ในกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบก
3. การสอบข้อเขียน
- ผู้ที่ขอสอบใบอนุญาตขับขี่ จะต้องแนบเอกสารต่างๆ ตามรายการด้านล่างดังต่อไปนี้พร้อมใบคำขอ (แบบ 42 ตาม「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」) ในกรณีของใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งประเภทยานพาหนะขนาดใหญ่/ประเภทพิเศษ หรือ (แบบ 42-2 ตาม「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」) ในกรณีของใบอนุญาตชนิดที่หนึ่งประเภทธรรมดา/ชนิดที่สอง (แบบ 42-2 ตาม「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」) โดยยื่นต่อผู้บังคับการตำรวจประจำท้องที่หรือหัวหน้าหน่วยสอบใบอนุญาตขับขี่ พร้อมทั้งแสดงหนังสือแสดงตัวประชาชน(ในกรณีที่ผู้สมัครต้องการสามารถยืนยันตนเองด้วยข้อมูลลายนิ้วมือได้)ของผู้ยื่นขอ (มาตรา 83, 「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」; มาตรา 57.(1) 「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
·รูปถ่ายสีขนาดครึ่งตัว ไม่สวมหมวก (3.5 x 4.5 ซ.ม.) ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่มีพื้นหลัง
·ใบรายงานประวัติทางการแพทย์ (เฉพาะผู้ที่ขอสอบใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่หนึ่งประเภทยานพาหนะขนาดใหญ่/ประเภทพิเศษ)
·ใบรายงานเกี่ยวกับความเจ็บป่วย/สภาพร่างกาย (เฉพาะผู้ที่ขอสอบใบอนุญาตขับขี่ชนิดที่หนึ่งประเภทธรรมดาและชนิดที่สอง)
· เอกสารใดแต่ละประเภทดังต่อไปนี้ที่ออกภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอการทดสอบใบอนุญาตขับขี่(ผู้ที่ตามองไม่เห็นเพียงข้างเดียว ประเภท1 ในการสอบใบขับขี่รถยนต์ทั่วไปจะใช้หนังสือรับรองแพทย์ที่แพทย์ออกให้ได้เท่านั้น ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์)รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านการขับขี่ตามมาตรา 45(1) ในกฤษฎีกาที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบกอย่างไรก็ตามจะต้องไม่รวมเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านการข้อมูลด้านการบริหารที่ใช้ร่วมกันตามมาตรา 36 ในรัฐบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
√ บันทึกการตรวจร่างกาย
√ ผลการตรวจสุขภาพ
√ ใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยแพทย์
√ ผลการตรวจร่างกายสำหรับการตัดสินในการเกณฑ์ทหาร (รวมถึงผลการตรวจร่างกายของอาสาสมัครที่เข้าประจำการในกรมทหาร)
※หากท่านไม่เห็นด้วยกับการตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและการได้ยินของท่านจากผลทางการแพทย์หรือผลการตรวจร่างกายสำหรับการตัดสินในการเกณฑ์ทหารที่ลงทะเบียนไม่เกิน 2 ปีก่อนวันทดสอบใบอนุญาตขับขี่ตามมาตรา 52 ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 14 ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลหรือมาตรา 11 ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการรับราชการทหารผ่านข้อมูลด้านการบริหารที่ใช้ร่วมกันตามมาตรา 36 ในรัฐบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ท่านต้องยื่นข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมจากเอกสารที่ระบุข้างต้น (มาตรา 57 (2) ในตัวบทที่ออกเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางบก)
- ผลบังคับใช้ตามกฎหมายของใบคำขอ คือ หนึ่งปี นับจากวันที่มีการสอบข้อเขียนครั้งแรก ทั้งนี้ ผลบังคับใช้ ตามกฎหมายของใบอนุญาตหัดขับชนิดที่หนึ่งประเภทธรรมดา หรือใบอนุญาตหัดขับชนิดที่สองประเภทธรรมดา จะระบุไว้ในใบอนุญาตหัดขับนั้น ๆ (มาตรา 58.(2) ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจร ทางถนน)
- หลังจากที่ยื่นใบคำขอแล้ว จะมีการออกบัตรประจำตัวผู้สอบสำหรับการสอบใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ยื่นขอ หากท่านทำบัตรประจำตัวผู้สอบหาย หรือบัตรประจำตัวผู้สอบเสียหาย ท่านสามารถขอบัตรประจำตัวผู้สอบใหม่ได้ ที่สถานที่ตามที่ผู้กำกับการสำนักงานตำรวจท้องที่ หรือหัวหน้าหน่วยงานสอบใบอนุญาตขับขี่กำหนด (มาตรา 58.(1) และ (3) ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน)
- การสอบข้อเขียนจะจัดขึ้นตามช่วงเวลาและวันที่ระบุเมื่อท่านยื่นใบคำขอ โดยทำการสอบ ณ ห้องสอบข้อเขียนที่อยู่ในหน่วยสอบ
หมวดหมู่
|
เนื้อหา
|
ขอบเขตการสอบ (「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」 มาตรา 48(1))
|
* ความรู้ด้านกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการจราจรทางถนนรถยนต์ เป็นต้น รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง คิดเป็น 95% ของคำถามทั้งหมด - บทบัญญัติของ「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」และตามคำสั่งในพระราชบัญญัติเดียวกัน - สถานการณ์ตามแต่ที่「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการจัดการอุบัติเหตุจราจร」และกฎหมายที่เหมือนกันกำหนดไว้ - 「กฎหมายการจัดการรถยนต์」และกฎหมายที่เหมือนกันกำหนดไว้เกี่ยวกับการจดทะเบียนหรือการตรวจสอบยาหพาหนะ -「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」มาตรา 144 กฎระเบียบเรื่องความปลอดภัยด้านการจราจรและนโยบายการอบรมความปลอดภัยด้านการจราจรกำหนดไว้ * ความรู้เรื่องการรักษาและตรวจสภาพรถเพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยคิดเป็น 5% ที่เหลือ (ของคำถามทั้งหมด) - การตรวจสภาพรถขั้นพื้นฐาน เป็นต้น - การรับรู้ถึงการทำงานที่ผิดปกติเล็กน้อย - วิธีการขับขี่ที่ช่วยประหยัดน้ำมันรวมถึงวิธีการดูแลเครื่องยนต์ในการขับขี่ - กฎระเบียบเรื่องความปลอดภัยด้านการจราจรและนโยบายการอบรมความปลอดภัยด้านการจราจรตามบัญญัติมาตรา 144 แห่ง「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」
|
เกณฑ์ผ่าน/ไม่ผ่าน
|
ประเภทที่หนึ่ง (70 คะแนนหรือสูงกว่า), ประเภทที่สอง (60 คะแนนหรือสูงกว่า), รถจักรยานยนต์ 60 คะแนนหรือสูงกว่า)
|
※สำหรับข้อมูลเรื่องสอบใบอนุญาตขับขี่สำหรับผู้พิการ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และผู้ที่ไม่สามารถอ่านและเขียนได้ โปรดตรวจสอบรายละเอียดดังกล่าวที่หัวข้อการให้บริการด้านใบอนุญาตขับขี่ในหน้าโฮมเพจ (ภาษาอังกฤษ) ของหน่วยงานจราจรทางถนน <
Driver's License Examination - Exam for the Disabled>
※การสอบข้อเขียนที่เป็นภาษาไทย
·ชนิดที่หนึ่งประเภทธรรมดา, ชนิดที่หนึ่งประเภทยานพาหนะขนาดใหญ่, รถบรรทุกลากจูง
·ชนิดที่สองประเภทธรรมดา, ชนิดที่สองประเภทยานพาหนะขนาดเล็ก
สอบวิชา การขับขี่รถจักรยานยนต์
- ถ้าไม่มีกรณีพิเศษใด ๆ ท่านจะได้รับแจ้งว่าท่านสอบผ่านหรือไม่ในวันเดียวกันกับวันที่สอบ พร้อมกันนั้นท่านจะได้รับแจ้งเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่ต้องทำการทดสอบทักษะอีกด้วย (มาตรา 64.(1) และ (2)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- เมื่อท่านสอบผ่านข้อเขียน ท่านจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องสอบข้อเขียนอีกเป็นเวลาหนึ่งปี (มาตรา 50.(6)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
4. การทดสอบทักษะ
- หากท่านสอบข้อเขียนผ่าน หรือหากท่านตกการทดสอบทักษะ และประสงค์จะขอสอบอีกครั้ง ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อไปคือ การขอทดสอบทักษะ
- การทดสอบทักษะจะจัดขึ้นในช่วงเวลาและวันตามที่ระบุไว้ เมื่อท่านยื่นใบคำขอเพื่อการทดสอบทักษะ โดยจะจัดขึ้น ณ สถานที่/หน่วยทดสอบทักษะที่อยู่ในหน่วยสอบ
หมวดหมู่
|
เนื้อหา
|
ขอบเขตการทดสอบ
|
ท่านสามารถใช้งานอุปกรณ์ขับขี่ได้หรือไม่ ท่านสามารถขับรถได้ถูกต้องตามกฎจราจรหรือไม่ ท่านสามารถเข้าใจและทำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องขณะที่ขับรถหรือไม่
|
คำถาม คะแนนมาตรฐาน เกณฑ์ผ่าน/ไม่ผ่าน
|
โปรดดูรายละเอียดตามตารางแนบท้าย 24 ของ「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」
|
- ท่านจะได้รับแจ้งเป็นการเฉพาะส่วนบุคคลว่าท่านสอบผ่านหรือไม่ทันทีหลังจากที่สอบเสร็จ ณ สถานที่ที่ท่านได้ทำการสอบ (มาตรา 74.(1)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- กรณีที่ไม่มาทำการทดสอบทักษะ จะถือว่าสอบตก (มาตรา 74.(3)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- หากท่านตกการทดสอบทักษะ ท่านสามารถขอสอบใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากผ่านไปแล้วอย่างน้อยสามวัน (มาตรา48.(6)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
5. การขอรับใบอนุญาตหัดขับ
- ใบอนุญาตหัดขับเป็นใบอนุญาตชั่วคราวที่ออกให้แก่ผู้ที่สอบผ่านการทดสอบทักษะ เพื่อที่ผู้นั้นจะสามารถฝึกหัดขับรถบนท้องถนนได้ ทั้งนี้ ใบอนุญาตหัดจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายเป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ออกใบอนุญาต (มาตรา81「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- หากผู้ถือใบอนุญาตหัดขับขอรับใบอนุญาตขับขี่ประเภทธรรมดาชนิดที่หนึ่ง หรือใบอนุญาตขับขี่ประเภทธรรมดาชนิดที่สอง ใบอนุญาตหัดขับของผู้นั้นจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแม้ว่ากำหนดนระยะเวลาที่มีผลบังใช้ตามกฎหมายของใบอนุญาตนั้นยังคงเหลืออยู่ก็ตาม (บทบัญญัติตามมาตรา 81「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
※ผลของใบอนุญาตหัดขับ
· ใบอนุญาตหัดขับสามารถออกแทนบัตรประจำตัวผู้สอบสำหรับการสอบใบอนุญาตขับขี่ได้ซึ่งจะมีการระบุหมายเลขใบอนุญาตหัดขับและระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายไว้ (แบบ42「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」) (บทบัญญัติตามมาตรา 77(3)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
·ใบอนุญาตหัดขับมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลาหนึ่งปี เมื่อผู้ถือใบอนุญาตหัดขับขอรับใบอนุญาตชนิดที่หนึ่ง/ชนิดที่สองประเภทธรรมดาแล้ว ใบอนุญาตหัดขับจะไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แม้ว่ากำหนดระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายของใบอนุญาตนั้นยังคงเหลืออยู่ก็ตาม (มาตรา 81 「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- ท่านสามารถใช้แถบป้ายข้อมูลใบคำขอสอบใบอนุญาต ซึ่งมีการระบุหมายเลขใบอนุญาตหัดขับและระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแทนใบอนุญาตหัดขับได้ (บทบัญญัติตามมาตรา77.(2)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- ผู้ถือใบอนุญาตหัดขับควรสังเกตสิ่งต่าง ๆ ขณะที่กำลังหัดขับรถบนท้องถนน (มาตรา55「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
·ขณะที่กำลังหัดขับรถบนท้องถนน ผู้ถือใบอนุญาตหัดขับควรมีบุคคลอื่นที่มีใบอนุญาตขับขี่ (ขึ้นอยู่กับยานพาหนะที่ใช้ในการหัดขับ) (ต้องไม่ใช่ผู้ที่ใบอนุญาตขับขี่ถูกพักใช้) แล้วอย่างน้อย 2 ปี นั่งไปด้วยในฐานะผู้ฝึกสอน
·ผู้ถือใบอนุญาตหัดขับไม่ควรขับขี่ยานพาหนะเพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจตามที่ระบุไว้ในรัฐบัญญัติว่าด้วยการบริการขนส่งผู้โดยสาร หรือรัฐบัญญัติว่าด้วยธุรกิจการขนส่งด้วยรถบรรทุกเพื่อจุดประสงค์อื่นใดนอกเหนือจากการฝึกหัดขับ
·ผู้ถือใบอนุญาตหัดขับควรติดป้าย “หัดขับ” ไว้บนยานพาหนะที่ใช้ในการหัดขับเพื่อที่ผู้อื่นจะได้ทราบ (ตารางแนบท้าย 21 ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน)
6. การสอบขับขี่บนท้องถนน
- หากท่านมีใบอนุญาตหัดขับแล้ว ท่านสามารถยื่นขอสอบขับขี่บนท้องถนนได้ (มาตรา 49.(2)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
·หากท่านสอบขับขี่บนท้องถนนไม่ผ่าน ท่านสามารถขอสอบใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากผ่านไปแล้วอย่างน้อยสามวัน (มาตรา 49.(4)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- การสอบขับขี่บนท้องถนนจะดำเนินการ ณ สถานที่ที่จัดสอบขับขี่บนท้องถนน ตามเวลาและวันที่ระบุ เมื่อท่านยื่นใบคำขอสอบ
- ผู้คุมสอบที่นั่งไปด้วยกันกับผู้ยื่นขอใบอนุญาตในรถที่ใช้สอบ จะเป็นผู้ให้คะแนนการขับขี่โดยตรง (มาตรา68.(2)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
·ในกรณีที่เกิดปัญหากับอุปกรณ์ให้คะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้คุมสอบที่นั่งไปด้วยกันกับผู้ยื่นขอใบอนุญาตในรถ ที่ใช้สอบ จะบันทึกคะแนนด้วยมือ (บทบัญญัติตามมาตรา 68.(2)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วย การจราจรทางถนน」)
หมวดหมู่
|
เนื้อหา
|
ขอบเขตการสอบ
|
ท่านสามารถใช้งานอุปกรณ์ขับขี่บนท้องถนนได้หรือไม่ ท่านสามารถขับขี่ได้ถูกต้องตามกฎจราจรหรือไม่
|
- ท่านจะได้รับแจ้งเป็นการเฉพาะส่วนบุคคลว่าสอบผ่านหรือไม่ทันทีหลังจากที่สอบเสร็จ ณ สถานที่ที่ท่านได้ทำการสอบ (มาตรา 74.(2)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
ในกรณีของการสมัครเรียนขับรถกับโรงเรียนสอบขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ
โรงเรียนสอบขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะคืออะไร
- ผู้ที่ประสงค์จะจัดตั้งและประกอบกิจการโรงเรียนสอนขับรถยนต์ จะต้องมีโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่ขึ้นทะเบียน ต่อเจ้าพนักงานของสำนักงานตำรวจท้องที่ โดยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดต่าง ๆ อาทิ สิ่งอำนวยความสะดวก และผู้ฝึกสอนตามที่กำหนดไว้ในตารางแนบท้าย 5 รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน (มาตรา 99「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- โรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ จะหมายถึงโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่สำนักงานตำรวจท้องที่กำหนดให้เป็นโรงเรียนสอนขับรถยนต์ซึ่งมีผู้ควมคุมดูแล (หมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการอบรมให้ความรู้เรื่องต่าง ๆ และทักษะ ตลอดจนดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งต่อไปนี้จะใช้เงื่อนไขเดียวกัน) มีผู้ฝึกสอนมืออาชีพซึ่งผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทดสอบทักษะการขับขี่ (มาตรา 104.(1)「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
※ข้อห้ามเกี่ยวกับการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่โดยผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
· ห้ามผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนโรงเรียนกับสำนักงานตำรวจในท้องที่ แต่รับเงินค่าเรียนด้านนอกโรงเรียน หรือยืมชื่อโรงเรียนอื่น เพื่อใช้สอนขับรถยนต์หรือยานพาหนะอื่นๆ หรือใช้สถานที่ที่สามารถใช้ในการฝึกหัดขับรถ และใช้สถานที่นั้นในการหัดขับรถยนต์หรือยานพาหนะอื่นๆ(「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」มาตรา 116)
·ผู้ที่ดำเนินการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขับขี่โดยได้รับค่าเรียนเป็นการตอบแทนโดยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องการขึ้นทะเบียน อาจต้องระวางโทษจำคุกโดยเป็นแรงงานนักโทษเป็นเวลาไม่เกินสองปี หรือระวางโทษปรับไม่เกินห้าล้านวอน (มาตรา 150.6「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตขับขี่ผ่านโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ
- ผู้ที่จบการอบรมหลักสูตรจากโรงเรียนที่เชี่ยวชาญการสอนขับรถยนต์ (ต่อไปจะเรียกว่า “โรงเรียนเชี่ยวชาญ”) จะได้รับการยกเว้นการเข้าอบรมเรื่องความปลอดภัยด้านการจราจร (「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน ตามมาตรา73.(1) ส่วนเพิ่มเติม)
·สำหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการอบรม ชั่วโมงอบรม และระเบียบวิธีการอบรมที่ดำเนินการที่โรงเรียนสอนขับรถยนต์ (เชี่ยวชาญเฉาะ) โปรดดูรายละเอียดตามตารางแนบท้าย 32, ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน, (มาตรา 103.(2)「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」; มาตรา 65.(2)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」; มาตรา 106.(1)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- ผู้ที่เข้ารับการอบรมหัวข้อต่าง ๆ ในห้องเรียน และผ่านอบรมทักษะที่โรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ อาจขอทดสอบทักษะในเขตพื้นที่อบรมของโรงเรียนด้วยยานพาหนะที่ใช้ในการอบรมทักษะได้ (มาตรา 69.(1)「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
เนื้อหาต่าง ๆ จะต้องสอดคล้องกับค่าเรียนที่ชำระให้กับทางโรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ
- โรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ จะต้องติดประกาศเกี่ยวกับค่าเรียนในที่ที่ผู้เรียนสามารถรับทราบได้ง่าย (มาตรา 126.(2)「ระเบียบการบังคับใช้ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- โรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ จะต้องไม่เรียกรับเงินใด ๆ ที่นอกเหนือจากค่าเรียน ฯลฯ ที่ได้มีการแจ้งให้ทราบ (มาตรา 110.(3)「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
- ผู้เรียนไม่สามารถเข้าเรียน หรือผู้เรียนไม่สามารถเข้ารับการอบรมเรื่องการขับขี่ได้อย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจาก การขึ้นทะเบียนของโรงเรียนสอนขับรถยนต์ ฯลฯ ได้รับการเพิกถอน การย้ายที่ตั้งใหม่ของโรงเรียนสอนขับรถยนต์ ฯลฯ การดำเนินงานของโรงเรียนสอนขับรถยนต์ ฯลฯ ถูกระงับการดำเนินงานชั่วคราว หรือการรับรองเกี่ยวกับ โรงเรียนสอนขับรถยนต์ ฯลฯ ได้รับการเพิกถอน ผู้ใดก็ตามที่เป็นผู้จัดตั้งและดำเนินกิจการโรงเรียนสอนขับรถยนต์ ฯลฯ จะต้องรับผิดชอบคืนเงินค่าเรียนที่ผู้เรียนได้ชำระไป และจะต้องรักษาผลประโยชน์ผู้เรียน ด้วยการช่วยเหลือ ผู้เรียนให้เข้าเรียนในโรงเรียนสอนขับรถยนต์อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ (มาตรา 111.(1) 「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจร ทางถนน」)
- ค่าเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถยนต์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะ จะต้องคืนให้กับผู้เรียนซึ่งขึ้นอยู่กับการร้องขอของผู้เรียนนั้นจะเป็นไปตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ (มาตรา 111.(2)「รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」; มาตรา71.(2) 「รัฐกฤษฎีกาเพื่อการบังคับใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจราจรทางถนน」)
1. ก่อนเริ่มเรียนตามกำหนดระยะเวลา: คืนค่าเรียนที่ชำระไปเต็มจำนวน
2. หลังจากเริ่มเรียนตามกำหนดระยะเวลา
A. (ในกรณีที่โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการสอนได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยเหตุผลที่ทางโรงเรียนจะต้องปฎิบัติตามคำสั่ง เช่น การดำเนินงานถูกระงับ) จำนวนเงินที่คืนให้จะเท่ากับร้อยละของชั่วโมงเรียนที่ขาด/ยกเลิก จากจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด
B. (ในกรณีที่ผู้เรียนไม่สามาถเข้าเรียนได้อย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากเหตุผลที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น เจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ หรือถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่) (กรณีที่ผู้เรียนไม่ได้ขอรับใบอนุญาตขับขี่) จำนวนเงินที่คืนให้จะเท่ากับร้อยละของชั่วโมงเรียนที่ขาด/ยกเลิก จากจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด
C. (ในกรณีที่ผู้เรียนยกเลิกการเข้าเรียนตามหลักสูตร) จำนวนเงินที่คืนให้จะเท่ากับกึ่งหนึ่งของร้อยละของชั่วโมงเรียนที่ยกเลิก จากจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด