THAI

เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว
สถาบันคุ้มครองเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว
สถาบันคุ้มครอง
- เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว (ต่อไปนี้เรียกว่า “เหยื่อ”) สามารถรับการสนับสนุนดังต่อไปนี้จากสถาบันคุ้มครองที่สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวเนื่องจากหลบหนีความรุนแรงในครอบครัว (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 1).
1. จัดหาที่พักและอาหาร
2. ให้คำปรึกษาและรักษาความมั่นคงทางจิตใจและการปรับตัวทางสังคม
3. สนับสนุนการรักษาทางแพทย์ เช่น ส่งตัวไปยังสถาบันการแพทย์เพื่อรักษาโรคและดูแลสุขภาพ (รวมการตรวจสุขภาพภายใน 1 เดือนหลังเข้ารับการรักษา)
4. สนับสนุนกระบวนการสอบสวน·พิจารณาคดี และประสานงานบริการ
5. ความร่วมมือที่จำเป็นสำหรับหน่วยงานช่วยเหลือทางกฎหมาย ฯลฯ กับการร้องขอการสนับสนุน
6. การดำเนินการของการอบรมการพึ่งพาตนเอง กับจัดเตรียมข้อมูลการหางาน
7. ข้อมูลการฝากมอบหมายไปยังสถาบันคุ้มครองตามกฎหมายต่าง ๆ
8. สิ่งที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ
※ สมาชิกในครอบครัวที่มากับเหยื่อ อาจไม่ได้รับการสนับสนุนนอกเหนือจาก "การจัดหาห้องและค่าอาหาร" สถาบันคุ้มครองระยะยาวอาจไม่สามารถทำหน้าที่ตั้งแต่ข้อ 1. จนถึง ข้อ 5. ได้อย่างทั้งหมด (ยกเว้น หน้าที่จัดเตรียมที่อยู่อาศัย) (อ้างอิงจาก「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 1).
การเข้าสถาบันคุ้มครอง
- ผู้ที่มีคุณสมบัติในการเข้าสถาบันคุ้มครอง จะต้องเป็นเหยื่อ หรือสมาชิกในครอบครัวนั้น หรือบุคคลที่ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 7(3) วรรค 1).
· บุคคลที่ต้องการหรือตกลงที่จะเข้าสถาบันคุ้มครอง
· บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ความบกพร่องทางจิต หรือบุคคลอื่นที่มีความสามารถทางการสื่อสารไม่สมบูรณ์ ซึ่งไม่ใช่ผู้ก่อความรุนแรงในครอบครัว (ต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้กระทำผิด”) โดยบุคคลที่เป็นผู้ปกครองยินยอมให้เข้าสถาบันคุ้มครอง
· บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ความบกพร่องทางจิต หรือบุคคลอื่นที่มีความสามารถทางการสื่อสารไม่สมบูรณ์ ซึ่งได้รับผลจากผู้ให้คำปรึกษาว่ามีความจำเป็นในการเข้าสถาบันคุ้มครอง แต่เป็นบุคคลที่ไม่เหมาะสมที่ต้องรับความเห็นจากผู้ปกครอง
※ กรณีเหยื่อมากับเด็กชายอายุ 10 ปีขึ้นไปเข้าสถาบันคุ้มครองทั่วไปไม่ยาก สามารถพาเหยื่อ (ลำดับความสำคัญ 1), เหยื่อที่มาร่วมกับบุตร (ลำดับความสำคัญ 2), หรือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว (ลำดับความสำคัญ 3) เข้าสถาบันคุ้มครองได้(กระทรวงความเท่าเทียมทางเพศสตรีและครอบครัว, 「แนวทางส่งเสริมผลประโชยน์สิทธิเด็ก·สตรีปี2023」(2023.1.) p. 313]
※ การเข้าสถาบันคุ้มครอง สามารถติดต่อเพื่อเข้าสถาบันคุ้มครองได้ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ของผู้หญิง (☎ 1366) หรือศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวในแต่ละพื้นที่ เบอร์ติดต่อของศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว สามารถค้นหาและตรวจสอบข้อมูลของสถาบันเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวผ่านเว็บไซต์ (http://www.mogef.go.kr/)
ระยะเวลาการคุ้มครองของสถาบันคุ้มครอง
- กรณีไม่เข้าสถาบันคุ้มครอง บุคคลนั้นสามารถอาศัยอยู่ได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ สูงสุด 3 วัน (สามารถขยายได้ถึง 7 วันหากจำเป็น) (กระทรวงความเท่าเทียมทางเพศสตรีและครอบครัว, 「แนวทางส่งเสริมผลประโชยน์สิทธิเด็ก·สตรีปี 2022」 p. 403).
- ระยะเวลาที่สามารถอยู่ในสถาบันคุ้มครอง ขึ้นอยู่กับประเภทของสถาบันคุ้มครองดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 7(2) และ 「พระราชบัญญัติการใช้กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 7).

ประเภท

ระยะการคุ้มครอง

หมายเหตุ

สถาบันคุ้มครองระยะสั้น

ภายใน 6 เดือน

(ไม่เกิน 1 ปี)

สามารถขยายระยะเวลาได้ 2 ครั้ง ทีละ 3 เดือน ในกรณีเหยื่อต้องการความมั่นคงทางจิตใจ หรือมีเหตุผล เช่น เข้ารับการรักษา

สถาบันคุ้มครองระยะยาว

ภายใน 2 ปี

สามารถดำเนินมาตรการขับไล่ออกได้ กรณียังหางานไม่ได้ภายใน 6 เดือนนับจากเข้าสถาบันคุ้มครอง หรือยกเว้นแต่กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

สถาบันคุ้มครองชาวต่างชาติ

ภายใน 2 ปี

* คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้า: เหยื่อชาวต่างชาติ

สถาบันคุ้มครองคนพิการ

ภายใน 2 ปี

* คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้า: เหยื่อผู้พิการ