THAI

เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว
คำสั่งคุ้มครองของเหยื่อ
คำสั่งคุ้มครองของเหยื่อ
- กรณีมีความจำเป็นต้องคุ้มครองเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว (ต่อไปนี้เรียกว่า “เหยื่อ”) ศาลสามารถออกคำสั่งคุ้มครองเหยื่อต่อผู้ก่อความรุนแรงในครอบครัว (ต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้กระทำผิด”) ตามการร้องขอของเหยื่อ, ตัวแทนทางกฎหมายนั้น หรืออัยการ ด้วยคำสั่งข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(2) วรรค 1).
1. การกักกัน เช่น ออกจากสถานที่ที่อยู่อาศัย หรือห้องที่เหยื่อหรือสมาชิกในครอบครัวครอบครอง
2. ห้ามมิให้เข้าถึงตัวภายใน 100 เมตรจากที่อยู่, ที่ทำงาน ฯลฯ ของเหยื่อ หรือสมาชิกในครอบครัว
3. ห้ามมิให้เข้าถึงผ่านการใช้โทรคมนาคมเทคโนโลยีต่าง ๆ ติดต่อกับเหยื่อ หรือสมาชิกในครอบครัว
4. จำกัดสิทธิในการเป็นผู้ปกครองเหยื่อของผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง
5. จำกัดสิทธิที่จะเข้าไปสื่อสารกับเหยื่อของผู้กระทำผิด
- คำสั่งการคุ้มครองเหยื่อสามารถตัดสินใจให้ดำเนินการซ้ำได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(2) วรรค 2).
ระยะเวลาของคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ
- คำสั่งคุ้มครองเหยื่อสามารถทำได้นานที่สุดถึง 1 ปี อย่างไรก็ตาม กรณีเห็นชอบว่ามีความจำเป็นจะต้องขยายระยะเวลาคำสั่งคุ้มครองเพื่อคุ้มครองเหยื่อ คำสั่งคุ้มครองสามารถขยายระยะเวลาเพิ่มได้ทีละ 2 เดือนและได้นานที่สุดถึง 3 ปี ขึ้นอยู่กับอำนาจสิทธิของศาล หรือการร้องขอของเหยื่อ ตัวแทนทางกฎหมายนั้น หรืออัยการ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(3)).
การสอบสวน·ตรวจสอบของคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ
- กรณีการสอบสวน·ตรวจสอบของคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ ศาลสามารถใช้ความรู้ทางด้านการแพทย์·จิตวิทยา·สังคม·สวัสดิการสังคมและความรู้เฉพาะด้านต่าง ๆ เปิดเผยข้อเท็จจริงของด้านอุปนิสัย·ประสบการณ์·สถานะทางครอบครัว และแรงจูงใจ·สาเหตุ และสถานการณ์จริง ฯลฯ ของอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัวของผู้กระทำผิด·เหยื่อ, สมาชิกในครอบครัวอื่น ๆ โดยศาลจะต้องพยายามใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อบรรลุเป้าหมายการคุ้มครองสิทธิของเหยื่อและสมาชิกในครอบครัว (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(7) และมาตรา 19).
- สามารถสอบถามความคิดเห็นกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับจิตใจ·จิตวิทยาของผู้กระทำผิด เหยื่อ หรือสมาชิกในครอบครัว และความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัวโดยจะสามารถนำผลความคิดเห็นเหล่านั้น มาใช้ในการพิจารณาการสอบสวน·ตรวจสอบคดีคำสั่งคุ้มครองเหยื่อได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(7) และมาตรา 22).
- กรณีเห็นว่ามีความจำเป็นสำหรับการปกป้องความเป็นส่วนตัว หรือเพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของครอบครัวมีความเสี่ยงเป็นอันตรายต่อศีลธรรม การพิจารณาตัวคดีของศาลจะไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(7) และมาตรา 32 วรรค 1).
- กรณีคู่สมรสที่เป็นผู้อพยพและพูดภาษาเกาหลีไม่แข็งแรง แต่ต้องชี้แจงคดีต่อศาลครอบครัว สามารถรับบริการล่ามหรือแปลภาษาได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(7), มาตรา 34 วรรค 1, 「ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา」 มาตรา 180 และมาตรา 182).
การร้องขอยกเลิกและเปลี่ยนแปลงคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ
- ศาลสามารถใช้อำนาจสิทธิ หรือตามคำร้องขอของเหยื่อ ตัวแทนกฎหมายนั้น หรืออัยการ ในการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงประเภทคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(2) วรรค 3 และวรรค 4).
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ
- ผู้กระทำผิดที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ บุคคลนั้นจะถูกจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20 ล้านวอน หรือกักขัง (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 63 วรรค 1 ข้อ 2).
มาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคล
- กรณีเห็นชอบว่ามีความจำเป็นในการคุ้มครองเหยื่อ ศาลสามารถใช้อำนาจสิทธิ หรือตามคำร้องขอของเหยื่อ หรือตัวแทนกฏหมายนั้น ในการเรียกขอให้ดำเนินมาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคลข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ในกรณีนี้ อัยการจะสามารถร้องขอมาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคลต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจที่ควบคุมดูแลเขตที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ในปัจจุบันของเหยื่อ หากไม่มีเหุตผลพิเศษใด ๆ ผู้กำกับการสถานีตำรวจดังกล่าวจะต้องทำตามคำร้องขอนั้น (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 55(2) วรรค 5 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้พิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 3).
1. มาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับเหยื่อ ที่ไปศาลเพื่อเข้าร่วมขั้นตอนการดำเนินคดี เช่น คดีคุ้มครองครอบครัว, คดีคำสั่งคุ้มครองเหยื่อ และคดีคุ้มครองครอบครัวอื่น ๆ ที่มีผู้ก่อความรุนแรงในครอบครัวเป็นฝ่ายตรงข้าม
2. มาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคล เกี่ยวกับเหยื่อที่ใช้สิทธิที่จะเข้าไปสื่อสารกับบุตร
3. ส่งตัวเหยื่อไปยังสถาบันคุ้มครอง หรือสถาบันรักษา ฯลฯ
4. เข้าร่วมด้วยกัน ∙ กลับจากศาลในฐานะเป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์ หรือพยาน หรือใช้สิทธิที่จะเข้าไปสื่อสารร่วมกัน
5. การเฝ้าระวังบริเวณที่อยู่อาศัยของเหยื่อเป็นระยะ และการติดตั้งกล้องวงจรปิด
6. มาตรการอื่น ๆ ที่ยืนยันว่ามีความจำเป็นสำหรับความปลอดภัยส่วนตัวของเหยื่อ