THAI

เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว
การร้องขอมาตรการชั่วคราวของอัยการ
การร้องขอมาตรการชั่วคราวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว
- กรณีพิจารณาแล้วว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัวซ้ำอีกครั้ง อัยการสามารถร้องขอต่อศาลให้ออกมาตรการชั่วคราวดังต่อไปนี้ ตามสิทธิอำนาจหรือใช้คำร้องของตำรวจ(「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 8 วรรค 1).
· การกักกัน เช่น ออกจากสถานที่ที่อยู่อาศัย หรือห้องที่ความรุนแรงในครอบครัว(ต่อไปนี้เรียกว่า “เหยื่อ”) หรือสมาชิกในครอบครัวครอบครอง
· ห้ามมิให้เข้าถึงตัวภายใน 100 เมตรจากที่อยู่, ที่ทำงาน ฯลฯ ของเหยื่อ หรือสมาชิกในครอบครัว
· ห้ามมิให้เข้าถึงผ่านการใช้โทรคมนาคมเทคโนโลยีต่าง ๆ ติดต่อกับเหยื่อ หรือสมาชิกในครอบครัว
- กรณีเห็นชอบว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัวขึ้นซ้ำโดยผู้ก่อความรุนแรงในครอบครัว(ต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้กระทำผิด”) ได้ฝ่าฝืนมาตรการชั่วคราวที่ศาลได้ตัดสิน อัยการสามารถร้องขอต่อศาลให้ควบคุมผู้กระทำผิด หรือให้กักขันในสถานกักกันได้ ตามสิทธิอำนาจหรือใช้คำร้องของตำรวจ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 8 วรรค 2).
การร้องขอมาตรการชั่วคราวของเหยื่อ
- เหยื่อ หรือตัวแทนทางกฎหมายนั้น สามารถร้องขอหรือชี้แจงความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวข้างต้นต่ออับการหรือตำรวจได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 8 วรรค 3).
- กรณีตำรวจที่ได้รับการร้องขอมาตรการชั่วคราว แต่ไม่ทำการยื่นขอมาตรการชั่วคราวต่ออัยการ จะต้องแจ้งรายงานสาเหตุที่ไม่ทำการรายงานนั้น (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」 มาตรา 8 วรรค 4).
การตัดสินมาตรการชั่วคราวอย่างรวดเร็ว
- ศาลที่ได้รับการร้องขอ จะต้องตัดสินว่าจะดำเนินมาตรการชั่วคราวหรือไม่อย่างรวดเร็ว ในกรณีเห็นชอบแล้วว่ามีความจำเป็นต่อการพิจารณาเหตุผลของมาตรการชั่วคราว ผู้กระทำผิด·เหยื่อ·สมาชิกในครอบครัว, พยานรายอื่น ๆ จะถูกเรียกตัวเพื่อทำการสอบสวน·ตรวจสอบในเรื่องที่จำเป็น หรือออกหมายจับ (「พระราชบัญญัติการตัดสินการคุ้มครองบ้าน」 มาตรา 10 วรรค 2).