THAI

เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว
การปรึกษาด้านความรุนแรงในครอบครัว
การปรึกษาความรุนแรงในครอบครัว
- เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว (ต่อไปนี้เรียกว่า “เหยื่อ”) กับครอบครัว สามารถรับคำปรึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาดังต่อไปนี้ที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวผ่านศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว (ต่อไปนี้เรียกว่า “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านความรุนแรงในครอบครัว”) ที่ติดตั้งไว้ตาม「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 (อ้างอิงจาก「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 6).
· ข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายจากความรุนแรงในครอบครัว
· ข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองฉุกเฉินของเหยื่อ และสถานที่หลบภัย
· ข้อมูลด้านกฎหมายเกี่ยวกับการหย่าร้างและความรุนแรงในครอบครัว
· ข้อมูลเกี่ยวกับการอบรมต่าง ๆ และการรักษาเพื่อป้องกันความรุนแรงในครอบครัว
· ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับความรุนแรงภายในครอบครัว
※ ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านความรุนแรงในครอบครัว ได้รับมอบหมายจากกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศสตรีและครอบครัวให้ดูแลสายด่วนฉุกเฉินสำหรับสตรี (☎ ทั่วประเทศ 1366) โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นผู้ดูแลศูนย์ให้คำปรึกษาด้านความรุนแรงในครอบครัวอยู่

สถาบัน

โทรศัพท์

เว็บไซต์

สายด่วนฉุกเฉินสำหรับสตรี

ทั่วประเทศ 1366

https://www.women1366.kr/_main/main.html

ศูนย์ให้ความช่วยเหลือเด็ก·สตรี·ผู้พิการโดยตำรวจ ความปลอดภัย Dream

ทั่วประเทศ 117

http://www.safe182.go.kr

โทรศัพท์ชายเกาหลี

02-2653-1366

http://www.manhotline.or.kr

ศูนย์ส่งเสริมครอบครัวที่ดี

1577-9337

http://www.familynet.or.kr

ศูนย์ให้คำปรึกษากฎหมายครอบครัวแห่งเกาหลี

1644-7077

http://www.lawhome.or.kr

※ กรณีคู่สมรสที่เป็นผู้อพยพและพูดภาษาเกาหลีไม่แข็งแรง สามารถรับคำปรึกษาผ่านศูนย์ดานูลี(☎ 1577-1366) เป็นภาษาของประเทศตนเองได้ (ภาษาเวียดนาม, ภาษาจีน, ภาษาตากาล็อก, ภาษาเขมร, ภาษากัมพูชา, ภาษาอุซเบก, ภาษามองโกเลีย, ภาษารัสเซีย, ภาษาไทย, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาอังกฤษ, ภาษาเนปาล, ภาษาลาว) (อ้างอิงจาก「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 4(6)).
การรักษาความลับของเนื้อหาที่ปรึกษา
- บุคคลที่ทำงานที่ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านความรุนแรงในครอบครัว มีหน้าที่ห้ามเปิดเผยความลับเกี่ยวกับการทำงานของตนได้ โดยจะต้องเก็บเนื้อหาคำปรึกษาไว้เป็นความลับตามกฎหมาย (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 16).
※ กรณีบุคคลที่ทำงานที่ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านความรุนแรงในครอบครัว เปิดเผยความลับใด ๆ ในการทำงานนั้น บุคคลนั้นจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว และการคุ้มครองเหยื่อ ฯลฯ」 มาตรา 20 วรรค 2 ข้อ 3).