THAI

เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ
สถาบันส่งเสริมเพื่อผู้เสียหายจากการค้าประเวณี
ประเภทและระยะเวลาการเข้าสถาบันส่งเสริม
- เหยื่อการค้าประเวณี และบุคคลที่กระทำการขายประเวณี (ต่อไปนี้เรียกว่า “เหยื่อการค้าประเวณี ฯลฯ)”) จะได้รับการสนับสนุนในระยะเวลาที่กำหนดดังต่อไปนี้ โดยผ่านทางสถาบันส่งเสริมเพื่อเหยื่อการค้าประเวณีดังต่อไปนี้ (ต่อไปนี้เรียกว่า “สถาบันส่งเสริม”) (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 9 วรรค 1).

การจำแนก

คุณสมบัติของผู้รับการคุ้มครอง

ระยะการคุ้มครอง

สถาบันส่งเสริมทั่วไป

เหยื่อการค้าประเวณี ฯลฯ

ระยะเวลา 1 ปี

สถาบันส่งเสริมผู้เยาว์

เหยื่อการค้าประเวณีที่อายุน้อยกว่า 19 ปี ฯลฯ

จนกว่าจะอายุ 19 ปี

สถาบันส่งเสริมชาวต่างชาตื

เหยื่อการค้าประเวณีที่เป็นชาวต่างชาติ

ระยะเวลา 3 เดือน (ในกรณีตาม「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 มาตรา 11 คิดตามระยะเวลาดังกล่าว)

สถานบันเอกชนแบบร่วมที่มีที่อยู่อาศัยในชุมชนสนับสนุนการพึ่งพาตนเอง

เหยื่อการค้าประเวณี ฯลฯ

ระยะเวลา 2 ปี

การเข้าสู่สถาบันส่งเสริม
- บุคคลที่ต้องการเข้าสู่สถาบันส่งเสริม หรือบุคคลที่ต้องการใช้โปรแกรมที่จัดเตรียมสถาบันส่งเสริม จะต้องยืนเอกสารดังต่อไปนี้ต่อหัวหน้าสถาบันส่งเสริม (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 12 วรรค 4 และ 「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้การป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 9 วรรค 1).

การจำแนก

เอกสารที่ต้องส่ง

กรณีเป็นความต้องการของตนเอง

ใบยินยอมเข้าอาศัย (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้การป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 เอกสารแนบเพิ่มแบบฟอร์มข้อ 5)

กรณีได้รับยื่นขอจากหัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาผู้เสียหายจากการค้าประเวณีให้เข้าอยู่อาศัยหรือใช้งาน

ใบยื่นขอเข้า(ใช้)สถาบันส่งเสริม (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้การป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 เอกสารแนบเพิ่มแบบฟอร์มข้อ 6) และบัตรบันทึกการเข้ารับคำปรึกษา

กรณีได้รับยื่นขอจากอัยการ หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการให้ส่งมอบคืนต่อสถาบันส่งเสริม

ใบยื่นขอการส่งมอบต่อสถาบันส่งเสริมที่กรอกโดยอัยการหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ

การออกสถาบันส่งเสริม
- หัวหน้าสถาบันส่งเสริมสามารถออกมาตรการที่จำเป็น เช่น ให้ออกหรือหยุดการใช้สถาบันส่งเสริม ฯลฯ ต่อผู้เข้าอยู่อาศัยหรือผู้ใช้งานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเข้าอยู่อาศัย จนทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 12 วรรค 3).
- หัวหน้าสถาบันส่งเสริมสามารถออกมาตรการที่จำเป็น เช่น ให้ออกหรือหยุดการใช้สถาบันส่งเสริม ฯลฯ ในกรณีผู้เข้าอาศัยหรือผู้ใช้งานตามดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 12 วรรค 4 และ 「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้การป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 9 วรรค 4).
· กรณีสิ้นสุดระยะเวลาการส่งเสริม
· กรณีต้องการออกหรือสิ้นสุดการใช้งาน
· กรณีการกระทำดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 มาตรา 4)
1. การค้าประเวณี
2. การกระทำแนะนำการค้าประเวณี ฯลฯ
3. การค้ามนุษย์ด้วยจุดประสงค์การค้าประเวณี
4. การกระทำที่จ้าง·รวบรวมบุคคลอื่น หรือแนะนำ·แนะแนวอาชีพในการขายตัวทั้งที่รู้ว่าเป็นการค้าประเวณี หรือการกระทำลามกอนาจารเพื่อจุดประสงค์บังคับให้ขายประเวณี
5. 1. 2. การกระทำข้อ 1. 2. และ 4.และการกระทำโฆษณาเกี่ยวกับร้านที่ดำเนินพฤติกรรม
· กรณีที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการออกตามกฎหมายภายในของสถาบันส่งเสริมเพื่อผู้เสียหายจากการค้าประเวณี
· กรณีเข้าอาศัยด้วยการพูดเท็จ หรือใช้วิธีผิดกฎหมาย