THAI

เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ
การคุ้มครองฐานข้อมูลส่วนตัว และชีวิตส่วนตัวของเหยื่อการค้าประเวณี
ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและความลับชีวิตส่วนตัวของเหยื่อการค้าประเวณี
- ห้ามมิให้ข้าราชการหรือบุคคลที่รับผิดชอบสืบสวนหรือพิจารณาคดีอาชญากรรมการค้าประเวณี (ต่อไปนี้เรียกว่า “การค้าประเวณี ฯลฯ”) เปิดเผยหรือแพร่งพรายข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่, ชื่อ, อายุ, อาชีพ, โรงเรียน, รูปลักษณ์ของเหยื่อการค้าประเวณี ข้อมูลส่วนตัว และรูปภาพ ฯลฯ ที่สามารถรู้ได้ว่าเป็นเหยื่อการค้าประเวณี หรือความลับเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเหยื่อการค้าประเวณี (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 24 วรรค 1).
- ห้ามมิให้หัวหน้าของศูนย์ให้คำปรึกษาผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศ, สถานคุ้มครองผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศ, ศูนย์ช่วยเหลือผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศ, สถาบันส่งเสริมเพื่อผู้เสียหายจากการค้าประเวณี หรือศูนย์ให้คำปรึกษาผู้เสียหายจากการค้าประเวณี หรือผู้ช่วย หรือบุคคลที่เคยทำงานนั้นแพร่งพรายความลับที่ทราบจากการทำงานโดยเด็ดขาด (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงทางเพศและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 30 และ「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันการค้าประเวณีและการคุ้มครองเหยื่อ」 มาตรา 30).
มาตรการความปลอดภัยส่วนบุคคล และการป้องกันส่วนบุคคล
- ในกรณีเหยื่อการค้าประเวณีเข้าร่วมคำให้การที่หน่วยสืบสวนสอบสวนกลางหรือศาล อัยการสามารถออกมาตรการเพื่อคุ้มครอง ตามอำนาจสิทธิ หรือการยื่นขอของเหยื่อการค้าประเวณี ในกรณีที่พิจารณาแล้วว่ามีความเสี่ยงเกิดการแก้แค้นต่อผู้กระทำผิดการค้าประเวณี หรือครอบครัวนั้น, เพื่อนร่วมงาน ฯลฯ (สำนักงานอัยการ, 「แนวทางเกี่ยวกับการคุ้มครองและสนับสนุนเหยื่อของอาชญากรรม」, 「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 22 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญากรรมรุนแรงแบบพิเศษ」 มาตรา 7).