THAI

เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ
มาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของเหยื่อในขั้นตอนสอบสวน
ระบบสอบสวนเฉพาะทางสำหรับเหยื่อการค้าประเวณี
- อัยการสูงสุดจะต้องสืบสวนเหยื่อการค้าประเวณีเว้นแต่จะมีสถานการณ์พิเศษ โดยให้หัวหน้าอัยการของสำนักงานอัยการเขตแต่ละแห่งกำหนดแต่งตั้งเจ้าพนักงานอัยการสำหรับคดีเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมการค้าประเวณี(ต่อไปนี้เรียกว่า “การค้าประเวณี ฯลฯ”) (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 26 วรรค 1).
- ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องสืบสวนเหยื่อการค้าประเวณีเว้นแต่จะมีสถานการณ์พิเศษ โดยให้สารวัตรใหญ่แต่ละแห่งกำหนดแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการสำหรับคดีเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมการค้าประเวณี ฯลฯ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 26 วรรค 2).
การถ่ายทำ·รักษาคำให้การของเหยื่อ ฯลฯ
- ในกรณีเหยื่อการค้าประเวณีมีความพิการทางร่างกายและจิตใจที่ไม่สามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ หรือตัดสินใจเองได้ จำเป็นจะต้องทำการถ่ายทำเนื้อหาของคำให้การของเหยื่อการค้าประเวณี โดยกระบวนการสืบสวนจะต้องถูกบันทึกและเก็บรักษาไว้ด้วยอุปกรณ์บันทึกวิดีโอ เช่น เครื่องบันทึกวิดีโอ ฯลฯ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 30 วรรค 1).
การเข้าร่วมของผู้ช่วยสำหรับคำให้การ
- อัยการหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการอัยการสามารถออกคำสั่งตามอำนาจสิทธิ หรือการยิ่นขอของเหยื่อการค้าประเวณี, ตัวแทนทางกฎหมายนั้น หรือทนายความ ให้การเข้าร่วมของผู้ช่วยสำหรับคำให้การเข้าร่วมในกระบวนการสืบสวนเพื่อไกล่เกลี่ยหรือช่วยสื่อสารเพื่อให้การสอบสวนราบรื่น ในกรณีที่เหยื่อการค้าประเวณีเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี หรือมีปัญหาในการสื่อสารหรือการแสดงออกเนื่องมาจากความพิการทางร่างกายหรือจิตใจ (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 36 วรรค 1).
- อย่างไรก็ตาม กรณีเหยื่อการค้าประเวณี หรือตัวแทนทางกฎหมายไม่ต้องการตามเนื้อหาข้างต้น ไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการเช่นนั้น (บทบัญญัติของ「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 36 วรรค 1).
การคัดเลือกทนายความสาธารณะ
- เหยื่อการค้าประเวณี และตัวแทนทางกฎหมายสามารถเลือกทนายความ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินคดีอาญาและเพื่อรับการช่วยเหลือทางกฎหมาย (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 27 วรรค 1).
- กรณีเหยื่อการค้าประเวณีไม่มีทนาย อัยการสามารถคัดเลือกทนายความสาธารณะให้เหยื่อการค้าประเวณี (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 27 วรรค 6 และ 「กฎการคัดเลือกทนายความสาธารณะของอัยการ」 มาตรา 8 วรรค 1).
กรณีพิเศษสำหรับชาวต่างชาติเป็นผู้หญิง
- ในกรณีชาวต่างชาติที่เป็นผู้หญิงแจ้งเกี่ยวกับอาชญากรรมที่กำหนดไว้ตาม「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 หรือสืบสวนชาวต่างชาติผู้หญิงในฐานะเหยื่อการค้าประเวณี ห้ามมิให้ออกคำสั่งขับไล่ชาวต่างชาติผู้หญิงออกจากสถานที่อาศัยอยู่ (「กฎหมายควบคุมการเข้าเมือง」 มาตรา 46) หรือดำเนินการคุ้มครอง(「กฎหมายควบคุมการเข้าเมือง」 มาตรา 51) (ส่วนหน้า「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 มาตรา 11 วรรค 1).
· เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการตัดสินไม่ดำเนินคดีต่อ (ในกรณีไม่มีการร้องขอให้สืบสวนคดีซ้ำภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องตาม「ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา」 มาตรา 245(5) ข้อ 2 (รวมถึง กรณีที่มีการร้องขอให้สืบสวนซ้ำ แต่ไม่มีการร้องขอให้ส่งต่อคดีภายใน 30 วันนับตั้งแต่ววันที่ได้รับการแจ้งผลการสืบสวนซ้ำ) และเฉพาะกรณีที่ไม่มีการร้องขออุทรณ์ของผู้ฟ้องร้อง ฯลฯ จนถึงวันที่หมดเขตของระยะเวลานั้น)
· เมื่ออัยการมีคำสั่งยกเลิกการฟ้องร้องคดี หรือสั่งฟ้องสำหรับคดีที่เกี่ยวข้อง
- ในกรณีนี้หน่วยสืบสวนสอบสวนกลางต้องดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการเข้าออกประเทศเกาหลี เช่น การแจ้งข้อมูลส่วนตัวและที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติผู้หญิง ฯลฯ ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่น·สำนักงานชาวต่างประเทศ (ส่วนหลัง「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 มาตรา 11 วรรค 1).
- สามารถใช้สถาบันส่งเสริม ฯลฯ สำหรับชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้อง ในระยะเวลาขยายระยะเวลาการพิจารณาคดีออกคำสั่งขับไล่ หรือยกเลิกการคุ้มครองชั่วคราว (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 มาตรา 11 วรรค 3).