THAI

เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ
การชดใช้ทางแพ่งและทางอาญา
คำสั่งชดใช้ความเสียหาย
- “คำสั่งชดใช้ความเสียหาย” หมายถึง ระบบที่ช่วยให้เหยื่อในคดีอาญาได้รับคำสั่งเพื่อเรียกค่าเสียหายด้วยวิธีง่าย ๆ ในระหว่างกระบวนการพิจารณาคดีอาญา
กรณีพิเศษสำหรับชาวต่างชาติเป็นผู้หญิง
- การยื่นขอการชดใช้
· หน่วยสืบสวนสอบสวนกลางสามารถประกาษยื่นขอการชดใช้ตาม「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดีได้ เมื่อสอบสวนเหยื่อค้าประเวณีที่เป็นชาวต่างชาติผู้หญิง (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 มาตรา 11 วรรค 4).
· เหยื่อการค้าประเวณีที่เป็นชาวต่างชาติผู้หญิง สามารถฟ้องเรียกค่าชดใช้ต่อศาลที่ดำเนินคดีครั้งที่ 1 หรือครั้งที่ 2 จนกว่าจะสิ้นสุดการในการพิจารณาคดี (ส่วนหน้า「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 มาตรา 26 วรรค 1).
√ ในกรณีชาวต่างชาติที่เป็นผู้หญิงยื่นขอค่าชดเชย ห้ามมิให้ออกคำสั่งขับไล่ชาวต่างชาติผู้หญิงออกจากสถานที่อาศัยอยู่ตาม「กฎหมายควบคุมการเข้าเมือง」 มาตรา 46 หรือดำเนินการคุ้มครองตาม 「กฎหมายควบคุมการเข้าเมือง」 มาตรา 51 จนถึงตอนที่ตัดสินคำสั่งชดใช้ความเสียหาย ในกรณีนี้หน่วยสืบสวนสอบสวนกลางต้องดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการเข้าออกประเทศเกาหลี เช่น การแจ้งข้อมูลส่วนตัวและที่อยู่อาศัยของชาวต่างชาติผู้หญิง ฯลฯ ต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการลงโทษการกระทำที่แนะนำการค้าประเวณี」 มาตรา 11 วรรค 5).
- ผลของคำสั่งชดใช้ความเสียหาย
· กรณีตัดสินออกคำสั่งชดใช้ความเสียหายตาม「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 เหยื่อการค้าประเวณีชาวต่างชาติที่เป็นผู้หญิงจะไม่สามารถเรียกร้องค่าชดใช้ทดแทนตามขั้นตอนอื่น ๆ ภายในขอบเขตของจำนวนเงินที่เสนอได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 มาตรา 34 วรรค 2).
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
· ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคำสั่งชดใช้ความเสียหาย การคลังของรัฐบาลจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ยกเว้นเฉพาะในกรณีต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 มาตรา 35).
การชดใช้ความเสียหาย
- การร้องขอชดใช้ความเสียหาย
· เหยื่อการค้าประเวณี สามารถเรียกร้องขอการชดใช้ความเสียหาย (ค่ารักษา และเงินปลอบขวัญ ฯลฯ) ต่อผู้อาชญากรรมการค้าประเวณี (ต่อไปนี้เรียกว่า “การค้าประเวณี ฯลฯ”) ผ่านคดีแพ่ง (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 750 และมาตรา 751).
· กรณีเหยื่อการค้าประเวณีเสียชีวิต เครือญาติโดยสายเลือด, ทายาทโดยตรง, และคู่สมรสของเหยื่อนั้น สามารถรับการชดใช้ความเสียหายแทนจากผู้กระทำผิดการค้าประเวณี (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 752).
· สิทธิเรียกร้องค่าชดใช้ที่เกิดจากการค้าประเวณีจะหมดไปเนื่องจากอายุความ เมื่อไม่ได้ใช้สิทธินับตั้งแต่วันที่เหยื่อการค้าประเวณี หรือตัวแทนทางกฎหมายนั้นรู้ว่าบุคคลใดคือผู้กระทำผิดการค้าประเวณี หรือระยะเวลาผ่านไปแล้ว 10 ปีนับตั้งแต่วันที่เกิดการค้าประเวณี (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 766 วรรค 1 และวรรค 2).
· กรณีผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะถูกความรุนแรงทางเพศ การทำอนาจารทางเพศ, ล่วงละเมิดทางเพศ, การรุกรานทางเพศอื่น ๆ เนื่องจากอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าชดใช้จะหมดไป จึงไม่สามารถดำเนินต่อไปจนกว่าบุคคลนั้นจะบรรลุนิติภาวะ (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 766 วรรค 3).
- ความรับผิดชอบในกรณีของกลุ่มบุคคลผู้กระทำผิดด้านการค้าประเวณี
· เมื่อกลุ่มคนหลายคนที่ก่อเหตุความรุนแรงทางเพศร่วมกันต่อเหยื่อความรุนแรงทางเพศจนเกิดความเสียหาย กลุ่มคนเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดชอบการชดใช้ความเสียหาย (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 760 วรรค 1).
· เมื่อกลุ่มคนหลายคนที่ก่อเหตุการค้าประเวณีร่วมกันต่อเหยื่อการค้าประเวณีจนเกิดความเสียหาย กลุ่มคนเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดชอบการชดใช้ความเสียหาย (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 760 วรรค 1).
· ผู้ที่ยุยง หรือผู้ยุยงส่งเสริมจะนับรวมเป็นผู้ร่วมก่อเหตุ (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 760 วรรค 3).