THAI

เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ
มาตรการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของเหยื่อในขั้นตอนสอบสวน
ระบบสืบสวนเฉพาะทางสำหรับเหยื่อความรุนแรงทางเพศ
- อัยการสูงสุดจะต้องสืบสวนเหยื่อความรุนแรงทางเพศเว้นแต่จะมีสถานการณ์พิเศษ โดยให้หัวหน้าอัยการของสำนักงานอัยการเขตแต่ละแห่งกำหนดแต่งตั้งเจ้าพนักงานอัยการที่รับผิดชอบคดีอาชญกรความรุนแรงทางเพศ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 26 วรรค 1).
- ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องสืบสวนเหยื่อความรุนแรงทางเพศเว้นแต่จะมีสถานการณ์พิเศษ โดยให้สารวัตรใหญ่แต่ละแห่งกำหนดแต่งตั้งเจ้าพนักงานอัยการที่รับผิดชอบคดีอาชญกรความรุนแรงทางเพศ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 26 วรรค 2).
การถ่ายทำ·รักษาคำให้การของเหยื่อ ฯลฯ
- ในกรณีเหยื่อความรุนแรงทางเพศมีความพิการทางร่างกายและจิตใจที่ไม่สามารถแยกแยะสิ่งต่าง ๆ หรือตัดสินใจเองได้ จำเป็นจะต้องทำการถ่ายทำเนื้อหาของคำให้การของเหยื่อความรุนแรงทางเพศ โดยกระบวนการสืบสวนจะต้องถูกบันทึกและเก็บรักษาไว้ด้วยอุปกรณ์บันทึกวิดีโอ เช่น เครื่องบันทึกวิดีโอ ฯลฯ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 30 วรรค 1).
การเข้าร่วมของผู้ช่วยสำหรับคำให้การ
- อัยการหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการอัยการสามารถออกคำสั่งตามอำนาจสิทธิ หรือการยิ่นขอของเหยื่อความรุนแรงทางเพศ, ตัวแทนทางกฎหมายนั้น หรือทนายความ ให้ผู้ช่วยสำหรับคำให้การเข้าร่วมในกระบวนการสืบสวนเพื่อไกล่เกลี่ยหรือช่วยสื่อสารเพื่อให้การสอบสวนราบรื่น ในกรณีที่เหยื่อความรุนแรงทางเพศเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี หรือมีปัญหาในการสื่อสารหรือการแสดงออกเนื่องมาจากความพิการทางร่างกายหรือจิตใจ [เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 36 วรรค 1].
- อย่างไรก็ตาม กรณีเหยื่อความรุนแรงทางเพศ หรือตัวแทนทางกฎหมายไม่ต้องการตามเนื้อหาข้างต้น ไม่จำเป็นจะต้องดำเนินการเช่นนั้น (บทบัญญัติของ「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 36 วรรค 1).
การคัดเลือกทนายความสาธารณะ
- เหยื่อความรุนแรงทางเพศ และตัวแทนทางกฎหมายสามารถเลือกทนายความ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินคดีอาญาและเพื่อรับการช่วยเหลือทางกฎหมาย (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 27 วรรค 1).
- กรณีเหยื่อความรุนแรงทางเพศไม่มีทนาย อัยการสามารถคัดเลือกทนายความสาธารณะให้เหยื่อความรุนแรงทางเพศตามข้อดังต่อไปนี้ (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 27 วรรค 6 และ 「กฎการคัดเลือกทนายความสาธารณะของอัยการ」 มาตรา 8 วรรค 1, วรรค 2).
· โทษของการข่มขืนและชิงทรัพย์แบบพิเศษ ฯลฯ และความผิดฐานพยายาม (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 3 และมาตรา 15)
· โทษของการข่มขืนแบบพิเศษ ฯลฯ และความผิดฐานพยายาม (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 4 และมาตรา 15)
· โทษของการข่มขืนโดยเครือญาติ ฯลฯ และความผิดฐานพยายาม (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 5 และมาตรา 15)
· โทษของการข่มขืน·บังคับให้ทำอนาจารต่อผู้พิการ ฯลฯ และความผิดฐานพยายาม (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 6 และมาตรา 15)
· โทษของการข่มขืน·บังคับให้ทำอนาจารต่อผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ฯลฯ และความผิดฐานพยายาม (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 7 และมาตรา 15)
· โทษของการทำร้ายร่างกาย·ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เนื่องจากการข่มขืน ฯลฯ และความผิดฐานพยายาม (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 8 และมาตรา 15)
· โทษของการทำร้ายร่างกาย·ทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เนื่องจากการข่มขืน ฯลฯ และความผิดฐานพยายาม(「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการลงโทษอาชญากรรมทางเพศ」 มาตรา 9 และมาตรา 15)