THAI

เหยื่ออาชญากรรมทางเพศ
การชดใช้ทางแพ่งและทางอาญา
คำสั่งชดใช้ความเสียหาย
- “คำสั่งชดใช้ความเสียหาย” หมายถึง ระบบที่ช่วยให้เหยื่อในคดีอาญาได้รับคำสั่งเพื่อเรียกค่าเสียหายด้วยวิธีง่าย ๆ ในระหว่างกระบวนการพิจารณาคดีอาญา
- การยื่นขอการชดใช้
· เหยื่อความรุนแรงทางเพศ สามารถฟ้องเรียกค่าชดใช้ต่อศาลที่ดำเนินคดีครั้งที่ 1 หรือครั้งที่ 2 จนกว่าจะสิ้นสุดการในการพิจารณาคดี (ส่วนหน้า「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 มาตรา 26 วรรค 1).
- ผลของคำสั่งชดใช้ความเสียหาย
· กรณีตัดสินออกคำสั่งชดใช้ความเสียหายตาม「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 เหยื่อความรุนแรงทางเพศจะไม่สามารถเรียกร้องค่าชดใช้ทดแทนตามขั้นตอนอื่น ๆ ภายในขอบเขตของจำนวนเงินที่เสนอได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 มาตรา 34 วรรค 2).
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี
· ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคำสั่งชดใช้ความเสียหาย การคลังของรัฐบาลจะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ยกเว้นเฉพาะในกรณีต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย (「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับการเร่งฟ้องคดี」 มาตรา 35).
การชดใช้ความเสียหาย
- การร้องขอชดใช้ความเสียหาย
· เหยื่อความรุนแรงทางเพศ สามารถเรียกร้องขอการชดใช้ความเสียหาย (ค่ารักษา และเงินปลอบขวัญ ฯลฯ) ต่อผู้กระทำผิดความรุนแรงทางเพศผ่านคดีแพ่ง (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 750 และมาตรา 751).
· กรณีเหยื่อความรุนแรงทางเพศเสียชีวิต เครือญาติโดยสายเลือด, ทายาทโดยตรง, และคู่สมรสของเหยื่อนั้น สามารถรับการชดใช้ความเสียหายแทนจากผู้กระทำผิดความรุนแรงทางเพศ (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 752).
· สิทธิเรียกร้องค่าชดใช้ที่เกิดจากความรุนแรงทางเพศจะหมดไปเนื่องจากอายุความ เมื่อไม่ได้ใช้สิทธินับตั้งแต่วันที่เหยื่อความรุนแรงทางเพศ หรือตัวแทนทางกฎหมายนั้นรู้ว่าบุคคลใดคือผู้กระทำผิดความรุนแรงทางเพศ หรือระยะเวลาผ่านไปแล้ว 10 ปีนับตั้งแต่วันที่เกิดความรุนแรงทางเพศ (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 766 วรรค 1 และวรรค 2).
· กรณีผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะถูกความรุนแรงทางเพศ เนื่องจากอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าชดใช้จะหมดไป จึงไม่สามารถดำเนินต่อไปจนกว่าบุคคลนั้นจะบรรลุนิติภาวะ (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 766 วรรค 3).
- ความรับผิดชอบของกลุ่มคนผู้กระทำผิดความรุนแรงทางเพศ
· เมื่อกลุ่มคนหลายคนที่ก่อเหตุความรุนแรงทางเพศร่วมกันต่อเหยื่อความรุนแรงทางเพศจนเกิดความเสียหาย กลุ่มคนเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดชอบการชดใช้ความเสียหาย (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 760 วรรค 1).
· แม้จะไม่รู้ว่าเป็นการกระทำของใครคนหนึ่งหรือเป็นกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดความเสียหาย บุคลลเหล่านั้นจะต้องรับผิดร่วมกันและชดใช้ค่าเสียหาย (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 760 วรรค 2).
· ผู้ที่ยุยง หรือผู้ยุยงส่งเสริมจะนับรวมเป็นผู้ร่วมก่อเหตุ (「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 760 วรรค 3).