THAI

ประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้ประกันตนตามพื้นที่)
การคำนวณเบี้ยประกันสุขภาพแห่งชาติ
การคำนวณเบี้ยประกันสุขภาพแห่งชาติรายเดือน
- เบี้ยประกันรายเดือนของผู้ประกันตนตามพื้นที่จะคำนวณตามแต่ละครัวเรือน (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 69 วรรค 5).
จำนวนค่าเบี้ยประกันรายเดือนของแต่ละครัวเรือนที่ผู้ประกันตนตามพื้นที่อยู่ = คะแนนจัดเก็บค่าเบี้ยประกัน X จำนวนเงินของแต่ละคะแนนจัดเก็บค่าเบี้ยประกัน
· คะแนนจัดเก็บค่าเบี้ยประกัน: คำนวณจากรายได้และทรัพย์สินของผู้ประกันตนตามพื้นที่ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ผู้ประกันตนตามพื้นที่กำหนดโดยคำสั่งประธานาธิบดีได้รับเงินกู้จากบริษัททางการเงิน ฯลฯ ตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางการเงินและการรักษาความลับ」 มาตรา 2 ข้อ 1 เพื่อซื้อหรือเช่าบ้านที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่กำหนดโดยคำสั่งประธานาธิบดีสำหรับที่อยู่อาศัยจริงและแจ้งให้องค์กรสาธารณะทราบถึงความจริงนั้น (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 72 วรรค 1 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 42 วรรค 1).
· จำนวนเงินของแต่ละคะแนนจัดเก็บค่าเบี้ยประกัน: จำนวนเงินของแต่ละคะแนนจัดเก็บค่าเบี้ยประกันของผู้ประกันตนตามพื้นที่จะคิดเป็น 208.4 วอน (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 73 วรรค 3 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 44 วรรค 2).
※ ประเภทและขอบเขตของรายได้และ ทรัพย์สิน
รายได้ที่ต้องนำมาพิจารณาในการคำนวณคะแนนจัดเก็บค่าเบี้ยประกัน จะหมายถึงรายได้ (ยกเว้น รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี) ตาม「พระราชบัญญัติภาษีเงินได้」ดังต่อไปนี้ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 42 วรรค 2 และมาตรา 41 วรรค 1).
· รายได้ดอกเบี้ย
· รายได้การจัดสรร
· รายได้จากธุรกิจ
· รายได้แรงงาน (อย่างไรก็ตาม ไม่ใช้กับการหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตาม「พระราชบัญญัติภาษีเงินได้」)
· รายได้เงินบำนาญ (อย่างไรก็ตาม กรณีของบำเหน็จบำนาญสาธารณะ จะไม่ใช้「พระราชบัญญัติภาษีเงินได้」 มาตรา 20(3) วรรค 2 แต่จะคิดจากรายได้เงินบำนาญทั้งหมด ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการเรียกเก็บภาษีที่เกี่ยวข้อง)
· รายได้อื่น ๆ
เมื่อคำนวณคะแนนจัดเก็บค่าเบี้ยประกัน จะพิจารณาจากทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 42 วรรค 3).
· ที่ดิน อาคาร บ้าน เรือ และเครื่องบินที่ต้องเสียภาษีทรัพย์สินตาม「พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องถิ่น」(อย่างไรก็ตาม ไม่รวมทรัพย์สินของครอบครัว, ทรัพย์สินส่วนกลางของหมู่บ้าน, อาคารและที่ดินที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นทั่วไป)
· ค่ามัดจำและค่าเช่ารายเดือนของการเช่าที่พัก ในกรณีของผู้ประกันตนตามพื้นที่ที่ไม่ได้ครอบครองบ้าน
· รถโดยสารตาม「พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องถิ่น」 และรถโดยสารอื่น ๆ ตาม「พระราชบัญญัติการบังคับใช้ภาษีบำรุงท้องถิ่น」 มาตรา 123 ข้อ 2 อย่างไรก็ตาม ยกเว้นรถโดยสารดังต่อไปนี้
√ กรณีอายุการใช้งาน 9 ปีขึ้นไป
√ หากมูลค่าของยานพาหนะที่คำนวณโดยใช้อัตราส่วนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการประกาศซึ่งพิจารณาจากคงเหลือตามปีที่ล่วงไปของรถโดยสารมีมูลค่าน้อยกว่า 40 ล้านวอนตาม「พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องถิ่น」 มาตรา 10 และ「พระราชบัญญัติการบังคับใช้ภาษีบำรุงท้องถิ่น」 มาตรา 4 วรรค 1 ข้อ 3 ที่กำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการจากหลักเกณฑ์
√ รถโดยสารที่ผู้พิการครอบครองได้ลงทะเบียนตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิการผู้พิการ」
√ รถยนต์ที่ไม่ได้เรียกเก็บภาษีตาม「พระราชบัญญัติการจำกัดภาษีท้องถิ่นพิเศษ」
√ รถยนต์ที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ตาม「พระราชบัญญัติการบังคับใช้ภาษีบำรุงท้องถิ่น」
- วงเงินสูงสุดและต่ำสุดของเบี้ยประกันภัยรายเดือนมีดังต่อไปนี้ [「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 69 วรรค 6, 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 32 และ 「ประกาศวงเงินสูงสุดและต่ำสุดของค่าเบี้ยประกันสุขภาพรายเดือน」 มาตรา 2·มาตรา 3].
· สูงสุด: 3,911,280 วอน
· ต่ำสุด: 19,780 วอน
การแยกผู้ประกันตนออกจากครัวเรือน
- องค์กรสาธารณะประกันสุขภาพแห่งชาติ (ต่อไปนี้เรียกว่า “องค์กรสาธารณะ”) สามารถแยกผู้ประกันตนนั้นออกจากครัวเรือน เพื่อรวบรวมครัวเรือนแยก ในกรณีผู้ประกันตนตามพื้นที่ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 43).
· บุคคลที่ยื่นขอแยกครัวเรือนเพื่อแยกกันใช้ชีวิตจากครัวเรือน
· บุคคลที่ต้องใช้ค่าร่วมจ่ายบางส่วนของตนเองตาม「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 เอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 3 ข้อ ลา
· บุคคลที่ถูกเรียกตัวไปทำหน้าที่เป็นกองทหารสำรองเต็มเวลาหรือเจ้าหน้าที่บริการสาธารณะตาม「พระราชบัญญัติรับราชการทหาร」
· บุคคลที่ถูกเรียกมาทำหน้าที่บริการสาธารณะแทนตาม「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าร่วมและปฏิบัติราชการ ฯลฯ ของตัวแทน」
ระยะเวลาการเก็บค่าเบี้ยประกัน
- ค่าเบี้ยประกันจะถูกเรียกเก็บจากเดือนถัดจากเดือนของวันก่อนหน้าที่ได้รับสิทธิของผู้ประกันตนตามพื้นที่ ในกรณีรับสิทธิของผู้ประกันตนในวันที่ 1 ของทุกเดือน หรือกรณีได้รับสิทธิเป็นของผู้ประกันตนผ่านการยื่นขอใช้ประกันสุขภาพ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 5 วรรค 1 ข้อ 2 ข้อ กา) จากบรรดาผู้มีคุณสมบัติได้รับความคุ้มครองทางการแพทย์ เช่น ผู้มีคุณูปการ ฯลฯ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 69 วรรค 2).
ค่าเบี้ยประกันของผู้ประกันตนตามพื้นที่ที่เป็นชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศและชาวต่างชาติ
- ผู้ประกันตนตามพื้นที่ที่เป็นชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศและชาวต่างชาติ [ยกเว้น สิทธิในการพำนักอาศัยของของผู้ประกันตนตามพื้นที่ที่มีวีซ่าผู้พำนักถาวร(F-5) หรือวีซ่าการสมรสของผู้ย้ายถิ่นฐาน(F-6) ที่เป็นผู้ประกันตนตามพื้นที่ มีดังต่อไปนี้] ค่าเบี้ยประกันคำนวณตามแต่ละครัวเรือนตามมาตรฐานเดียวกันกับผู้ประกันตนตามพื้นที่เป็นชาวเกาหลี (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 109 วรรค 9, 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 76(4), 「มาตรฐานการสมัครประกันสุขภาพสำหรับชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศที่พำนักอยู่เป็นเวลานาน และชาวต่างชาติ」 มาตรา 6 วรรค 1 และเอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 1).
· อย่างไรก็ตาม กรณีค่าเบี้ยประกันคำนวณได้น้อยกว่าค่าเบี้ยประกันเฉลี่ย ค่าเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยนั้นจะถูกใช้เป็นค่าเบี้ยประกันภัย (บทบัญญัติของ「มาตรฐานการสมัครประกันสุขภาพสำหรับชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศที่พำนักอยู่เป็นเวลานาน และชาวต่างชาติ」 มาตรา 6 วรรค 1 และเอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 1).
※ “ค่าเบี้ยประกันเฉลี่ย” หมายถึง การรวมเบี้ยประกันเจ้าบ้าน [หมายถึง ครัวเรือนที่เจ้าบ้านเป็นคนเกาหลีที่มีสิทธิในการพำนักอาศัยโดยมีวีซ่าผู้พำนักถาวร(F-5) หรือวีซ่าการสมรสของผู้ย้ายถิ่นฐาน(F-6)]ของผู้ประกันตนตามพื้นที่จากเดือนพฤศจิกายนของทุกปี และเบี้ยประกันของผู้ประกันตนที่เป็นพนักงาน(รวมถึง เบี้ยประกันคำนวณจากรายได้ต่อเดือน, ในกรณี เบี้ยประกันคำนวณจากเงินเดือน) ยกเว้นจำนวนที่นายจ้างและรัฐรับผิดชอบตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 76 วรรค 1) และพิจารณาจำนวนเงินจากการหารจำนวนเงินครัวเรือนของผู้ประกันตนตามพื้นที่ บวกกับจำนวนผู้ประกันตนที่เป็นพนักงานจากเนื้อหาข้างต้น โดยองค์กรสาธารณะจะเป็นฝ่ายกำหนดยอดเงินรวมทั้งหมด (「มาตรฐานการสมัครประกันสุขภาพสำหรับชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศที่พำนักอยู่เป็นเวลานาน และชาวต่างชาติ」 เอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 2).
※ ค่าเบี้ยประกันของผู้ประกันตนตามพื้นที่ที่เป็นชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศ และชาวต่างชาติ จะถูกคำนวณรายบุคคลของแต่ละครัวเรือน อย่างไรก็ตาม กรณีเป็นการยื่นขอด้วยตนเอง บุคคลนั้นจะถูกคิดเป็นเจ้าบ้านโดยองค์กรสาธาณะ สามารถสร้างครัวเรือนด้วยสมาชิกในครัวเรือนที่ประกอบด้วยชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศ หรือคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติ (ยกเว้น คู่สมรสที่มีความสัมนพันธ์ตามความเป็นจริง) หรือเด็กที่อายุต่ำกว่า 19 ปี (รวมถึงบุตรของคู่สมรส) (「มาตรฐานการสมัครประกันสุขภาพสำหรับชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศที่พำนักอยู่เป็นเวลานาน และชาวต่างชาติ」 เอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 4).
· ค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับครัวเรือนดังต่อไปนี้ จะตัดสินใจเลือกจำนวนที่มากกว่าจากบรรดาค่าเบี้ยประกันภัยที่คำนวณตามมาตรฐานเดียวกัน หรือผู้ประกันตนตามพื้นที่และวงเงินต่ำสุดของค่าเบี้ยประกันภัยรายเดือนของผู้ประกันตนตามพื้นที่ (「มาตรฐานการสมัครประกันสุขภาพสำหรับชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศที่พำนักอยู่เป็นเวลานาน และชาวต่างชาติ」 เอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 3).
√ กรณีที่บุคคลเป็นเจ้าบ้านของครอบครัวผู้ลี้ภัยที่ได้รับการยอมรับและมีสถานะการพำนักด้วยวีซ่าผู้เยี่ยมเยือนหรือผู้ร่วมอาศัยในครอบครัว(F-1)
√ กรณีเจ้าบ้านเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ลี้ภัยและมีสถานะการพำนักด้วยวีซ่าผู้พำนัก(F-2)
√ กรณีเจ้าบ้านเป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ