THAI

ประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้ประกันตนตามพื้นที่)
การจำกัดการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ
การจำกัดการจ่ายเบี้ยประกันเนื่องจากเจตนาร้าย หรือความประมาทเลินเล่อ
- องค์กรสาธารณะประกันสุขภาพแห่งชาติ (ต่อไปนี้เรียกว่า “องค์กรสาธารณะ”) จะไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันให้แก่บุคคลที่ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53 วรรค 1).
· กรณีความเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่อเป็นสาเหตุการกระทำความผิดอาชญากรรม หรือกรณีเจตนาร้ายจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ
· กรณีความเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่อทำให้ไม่ปฏิบัติตามองค์กรสาธารณะ หรือสถาบันการแพทย์
· กรณีความเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่อในการส่งเอกสารกับสิ่งของอื่น ๆ ตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 55 โดยการปฏิเสธ สักถาม หรือหลักเลี่ยงการตรวจวินิจฉัย
· กรณีได้รับค่าเบี้ยประกันหรือค่าชดเชยตามกฎหมายอื่น ๆ เนื่องจากโรค·ได้รับบาดเจ็บ·ภัยพิบัติที่เกิดจากหน้าที่หรืองานสาธารณะ
- กรณีบุคคลที่ได้รับค่าเบี้ยประกัน ได้รับเงินเทียบเท่ากับค่าเบี้ยประกันจากรัฐหรือรัฐบาลท้องถิ่นตามกฎหมายอื่น หรือได้รับเงินจำนวนเท่ากับค่าเบี้ยประกัน องค์กรสาธารณะไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันที่เกินกว่าวงเงินจำกัดนั้น (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53 วรรค 2).
จำกัดเบี้ยประกันตามการค้างชำระค่าเบี้ยประกัน
1. กรณีค้างชำระค่าเบี้ยประกันครัวเรือนเกิน 1 เดือนขึ้นไป องค์กรสาธารณะอาจจะไม่ดำเนินการจ่ายค่าเบี้ยประกันสำหรับผู้ประกันตนตามพื้นที่ให้ จนกว่าจะชำระค่าเบี้ยประกันที่ค้างชำระไว้จนครบเต็มจำนวน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่จำนวนรวมค้างชำระค่าเบี้ยประกัน (จำนวนรวมค้างชำระค่าเบี้ยประกันจะไม่รวมอยู่ในจำนวนยอดที่ชำระไปแล้ว โดยจะไม่พิจารณาระยะเวลาที่ค้างชำระของค่าเบี้ยประกันภัย) น้อยกว่า 6 ครั้งหรือรายได้·ทรัพย์สิน ฯลฯ ของผู้ประกันตนตามพื้นที่นั้นน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยคำสั่งประธานาธิบดี องค์กรสาธารณะจะไม่จำกัดค่าเบี้ยประกัน (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53 วรรค 3 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 26).
2. กรณีได้รับการอนุญาตจากองค์กรสาธารณะให้แบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันที่ค้างชำระได้ตามกฎข้างต้น และได้ชำระค่าเบี้ยประกันภัยที่อนุญาตแล้วมากกว่า 1 ครั้ง จะสามารถดำเนินการค่าเบี้ยประกันได้ อย่างไรก็ตาม กรณีบุคคลที่ได้รับการอนุญาตให้แบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันที่ค้างชำระ ไม่ทำการชำระค่าเบี้ยประกันเกิน 5 ครั้งขึ้นไปโดยไม่มีสาเหตุที่เหมาะสม (หมายถึง จำนวนแบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันดังกล่าว ในกรณีได้รับอนุญาติให้แบ่งจ่ายไม่เกิน 5 ครั้งตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53 วรรค 1) จะไม่ต้องดำเนินการค่าเบี้ยประกัน (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53 วรรค 5).
3. กรณีค่าเบี้ยประกันที่ได้รับในช่วงเวลาที่ไม่ใช่สำหรับการออกค่าเบี้ยประกัน (ต่อไปนี้เรียกว่า “ระยะเวลาจำกัดการออกค่าเบี้ยประกัน”) โดยได้รับค่าเบี้ยประกันตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ จะได้รับการยืนยันว่าเป็นค่าเบี้ยประกัน (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 53 วรรค 6).
· กรณีชำระค่าเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระเต็มครบจำนวน ภายในกำหนดชำระเงินของเดือนที่พ้นกำหนดเป็นระยะเวลา 2 เดือนนับตั้งแต่วันที่องค์กรสาธารณะแจ้งผู้ประกันตนว่าได้รับค่าเบี้ยประกันภัยในช่วงระยะเวลาจำกัดการออกค่าเบี้ยประกัน
· ได้รับสิทธิประโยชน์ประกันในช่วงระยะเวลาจำกัดการจ่าย องค์กรสาธารณะจะแจ้งแก่ผู้ประกันตนนับตั้งแต่ 2 เดือนหลังจากวันประกาศผ่านไปแล้ว กรณีบุคคลนั้นได้ชำระเบี้ยประกันที่ค้างไว้โดยการอนุมัติแบ่งจ่ายมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป (อย่างไรก็ตาม ยกเว้นกรณีบุคคลที่ได้รับอนุมัติให้แบ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันที่ค้างชำระแล้ว แต่ไม่จ่ายค่าเบี้ยประกันที่อนุมัติให้แล้วมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปโดยไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล)
※ กรณีชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศ และผู้ประกันตนตามพื้นที่ที่เป็นชาวต่างชาติ [ยกเว้น สิทธิในการพำนักอาศัยของผู้ประกันตนตามพื้นที่ที่มีวีซ่าผู้พำนักถาวร(F-5) หรือวีซ่าการสมรสของผู้ย้ายถิ่นฐาน(F-6)] ที่ค้างชำระค่าเบี้ยประกัน องค์กรสาธารณะจะไม่ดำเนินการจ่ายค่าเบี้ยประกันสำหรับผู้ประกันตนตามพื้นที่ให้ตั้งแต่วันที่ค้างชำระ (หมายถึง วันที่ 1 ของเดือนถัดไปที่ครบกำหนดการช่วงชำระเงิน จะต้องชำระก่อนภายในวที่ 25 ของเดือนก่อนหน้า) จนกว่าจะชำระค่าเบี้ยประกันที่ค้างชำระไว้จนครบเต็มจำนวน ในกรณีนี้ จะไม่ใช้กับข้อ 1., 2. และ 3. ข้างต้น (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 109 วรรค 10 และ 「มาตรฐานการสมัครประกันสุขภาพสำหรับชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศที่พำนักอยู่เป็นเวลานาน และชาวต่างชาติ」 มาตรา 9).