THAI

ประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้ประกันตนตามพื้นที่)
ค่าร่วมจ่ายบางส่วนของตนเอง
ตัวอย่างอัตราภาระการจ่ายค่าร่วมจ่ายบางส่วนของตนเอง
- กรณีได้รับการรักษาแบบเข้าพักที่โรงพยาบาล
· ค่าดูแลรักษาทางการแพทย์รวมทั้งหมด (ยกเว้น จำนวนเงินสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม และการรักษาทันตกรรมสำหรับผู้พิการที่กำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ) เพิ่มให้แก่การดูแลทันตกรรมสำหรับคนพิการ) 20 ใน 100 ส่วน [รวมถึง จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นสำหรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่มีผลต่อคุณภาพและบริการของมื้ออาหารผู้ป่วยใน (ต่อไปนี้เรียกว่า "จำนวนเงินเพิ่มเติมของมื้ออาหาร")] ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลค่าอาหาร 50 ใน 100 ส่วนที่เพิ่มขึ้นเจ้าตัวต้องแบกภาระเอง [「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 44 วรรค 1, 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 19 วรรค 1 และเอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 1 ข้อ กา 1)].
· อย่างไรก็ตาม กรณีใช้ห้องผู้ป่วย 2 เตียง·ห้องผู้ป่วย 3 เตียง·ห้องผู้ป่วย 4 เตียงของผู้ป่วยในประเภททั่วไป และห้องผู้ป่วย 2 เตียง·ห้องผู้ป่วย 3 เตียง·ห้องผู้ป่วย 4 เตียงของผู้ป่วยในประเภทจิตเวชที่โรงพยาบาลระดับสูงได้แจ้งไว้ตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 43 โดยจำกัดค่าเข้ารักษาไว้ที่ 50 ใน 100 ส่วน ·40 ใน 100 ส่วน·30 ใน 100 ส่วน กรณีใช้ห้องผู้ป่วย 2 เตียง·ห้องผู้ป่วย 3 เตียงของผู้ป่วยในประเภททั่วไป และห้องผู้ป่วย 2 เตียง·ห้องผู้ป่วย 3 เตียงของผู้ป่วยในประเภทจิตเวชที่โรงพยาบาลทั่วไป·โรงพยาบาล·โรงพยาบาลแพทย์แผนจีน·โรงพยาบาลพักฟื้น (เฉพาะโรงพยาบาลพักฟื้นที่เป็นสถาบันการแพทย์ที่มีเงื่อนไขตรงตาม 「พระราชบัญญัติการแพทย์」 มาตรา 3(2) เป็นศูนย์เวชกรรมฟื้นฟูตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิการผู้พิการ」 มาตรา 58 วรรค 1 ข้อ 4) โรงพยาบาลจิตเวชได้แจ้งไว้ โดยจำกัดค่าเข้ารักษาไว้ที่ 40 ใน 100 ส่วน·30 ใน 100 ส่วน สำหรับการรักษาที่โรงพยาบาลแยกตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการกำหนดนั้นจำกัดไว้ที่ 10 ใน 100 ส่วน [「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 44 วรรค 1, 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 19 วรรค 1 และเอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 1 ข้อ กา 1)].
- กรณีที่เหมาะสมในการรับการดูแลผู้ป่วยภายนอกหรือสถานพยาบาล
· ผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลตาม「พระราชบัญญัติทางการแพทย์」 เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลหรือการดูแลผู้ป่วยนอกมากกว่าการรักษาผู้ป่วยใน ถ้าเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ถูกกำหนดและแจ้งให้ทราบโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลค่ารักษาพยาบาล 40 ใน 100 ส่วนของทั้งหมด ค่ามื้ออาหาร 50 ใน 100 ส่วนที่เพิ่มบุคคลนั้นจะต้องรับภาระเอง [「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 44 วรรค 1, 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 19 วรรค 1 และเอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 1 ข้อ กา 2)].
- กรณีมีการจัดเตรียมยาตามใบสั่งแพทย์
· กรณีรับยาจากแพทย์ผู้รับผิดชอบการรักษาหรือใบสั่งยาที่ออกโดยทันตแพทย์ ตนเองจะต้องรับผิดชอบ 30 ใน 100 ส่วนจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดของค่าดูแลรักษาทางการแพทย์ [「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 44 วรรค 1, 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 19 วรรค 1 และเอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 1 ข้อ ดา 1)].
√ กรณีผู้ประกันตนตามพื้นที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป และรับยาจากแพทย์ผู้รับผิดชอบการรักษา จำนวนเงินที่ตนเองจะต้องรับผิดชอบ มีดังต่อไปนี้ [「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 19 วรรค 1, เอกสารแนบตารางที่ 2 ข้อ 1 ข้อ ดา 1), 「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 13 และเอกสารแนบตารางที่ 4 ข้อ 1].
① กรณีค่าดูแลรักษาทางการแพทย์รวมไม่เกิน 10,000 วอน : 1,000 วอน
② เมื่อค่าดูแลรักษาทางการแพทย์รวมเกิน 10,000 วอนแต่ไม่เกิน 12,000 วอน : ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของค่าดูแลรักษาทางการแพทย์ x 20/100
Q. เวลาที่รู้สึกไม่สบายไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน, แพทย์บอกให้ไปตรวจโรคให้ละเอียดอีกครั้งที่โรงพยาบาลชั้นสูงทั่วไป คำว่า โรงพยาบาลชั้นสูงทั่วไป หมายถึง โรงพยาบาลแบบใด?
A. โรงพยาบาลชั้นสูงทั่วไป หมายถึง โรงพยาบาลทั่วไปที่มีข้อกำหนดบางอย่างในโรงพยาบาลว่าเป็นโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญในการรักษาพยาบาลโรคที่ร้ายแรงที่ระดับความยากสูง
โรงพยาบาลชั้นสูงทั่วไปนั้น เป็นโรงพยาบาลที่ประกอบไปด้วยมากกว่า 20 หลักสูตรการดูแลทางการแพทย์ที่กำนหดโดย「กฎระเบียบว่าด้วยการกำนดและประเมินผลของโรงพยาบาลทั่วไป」 มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในแต่ละแขนงและจัดให้มีบุคคลากร·สิ่งอำนวจความสะดวก·อุปกรณ์ ฯลฯ ซึ่งจะต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน「พระราชบัญญัติทางการแพทย์」ตามที่กำหนดใน (「พระราชบัญญัติทางการแพทย์ 」 มาตรา 3(4) วรรค 1).
วิธีการชำระเงิน
- ผู้รับค่าดูแลรักษาทางการแพทย์จะต้องชำระค่าร่วมชำระบางส่วนของตนเองต่อสถาบันการแพทย์ตามการยื่นขอของสถาบันการแพทย์ (ส่วนหน้า「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 19 วรรค 2).
※ ระบบการจ่ายรวมของโรคที่เกี่ยวข้องคืออะไร?
ระบบการจ่ายรวมของโรคที่เกี่ยวข้อง (DRG : Diagnosis Related Group Payment System) หมายถึง วิธีการชำระเงินค่ารักษาพยาบาลโดยกำหนดไว้เพียงราคาเดียวสำหรับการรักษาทั้งหมด โดยจะรวมผู้ป่วยในที่ขั้นตอนการรักษาคล้ายคลึงไว้ด้วยกัน ระบบจะไม่คำนึงถึงประเภทหรือจำนวนการดูแลรักษาทางการแพทย์ ขึ้นอยู่กับการรักษาของโรคชนิดใดที่ได้เข้ารับการรักษา ซึ่งบุคคลนั้นสามารถชำระเฉพาะค่ารักษาพยาบาลเพียงจำนวนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเท่านั้น
ระบบการจ่ายรวมของโรคที่เกี่ยวข้องจะใช้ได้กับการผ่าตัดแก้วตา(การผ่าตัดต้อกระจก), การผ่าตัดต่อมทอมซินและอาร์เดโนด์, การผ่าตัดทวารหนัก และบริเวณรอบทวารหนัก(การผ่าตัดริดสีดวงทวาร), การผ่าตัดไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ(ยกเว้นทารกแรกเกิด), การผ่าตัดไส้ติ่ง(การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ), การผ่าตัดมดลูกและผนังปากมดลูก(ยกเว้นเนื้องอกที่ร้ายแรง), การดูแลผู้ป่วยภายในที่ทำการผ่าตัดคลอด
การชำระเงินเกินจำนวนขององค์กรสาธารณะประกันสุขภาพ
- การจ่ายเงินทั้งปีของตนเองโดยหักบางส่วนจากจำนวนเงินทั้งหมดที่เป็นค่าร่วมจ่ายบางส่วนของตนเองที่ต้องแบกภาระตาม「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 เอกสารแนบตารางที่ 3 ในกรณีที่จ่ายเกินจำนวนเงินที่ตนเองจะต้องรับผิดชอบ องค์กรสาธารณะประกันสุขภาพแห่งชาติจะคุ้มครองเงินส่วนที่เกินให้ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 44 วรรค 2 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 19 วรรค 4).