THAI

ประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้ประกันตนตามพื้นที่)
ค่าดูแลรักษาทางการแพทย์
คุณสมบัติของค่าดูแลรักษาทางการแพทย์
- ผู้ประกันตนตามพื้นที่สามารถรับค่าดูแลรักษาทางการแพทย์ เช่น ล้มป่วย บาดเจ็บ คลอดบุตร ฯลฯ ได้ดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 41 วรรค 1).
· การตรวจรักษา·การตรวจ
· การรับยา·ค่าวัสดุในการรักษา
· การรักษา·การผ่าตัด และการรักษาอื่น ๆ
· การป้องกัน·การฟื้นฟูสมรรถภาพ
· เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
· การพยาบาล
· การเคลื่อนย้าย
※ ขอบเขตของเครือข่ายสถาบันการแพทย์
- ค่าดูแลรักษาทางการแพทย์ (ไม่รวมการพยาบาลและการเคลื่อนย้าย) จะดำเนินการโดยสถาบันการแพทย์ดังต่อไปนี้ (ส่วนหน้า「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 42 วรรค 1).
· สถาบันทางการแพทย์ที่จัดตั้งขึ้นตาม「พระราชบัญญัติทางการแพทย์」
· ร้านขายยาที่จดทะเบียนตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยเภสัชกรรม」
· ศูนย์ยาหายาก·จำเป็นแห่งประเทศเกาหลีที่ก่อตั้งขึ้นตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยเภสัชกรรม」
· ศูนย์อนามัย·ศูนย์สุขภาพ·อนามัยย่อยตาม「พระราชบัญญัติสุขภาพชุมชน」
· คลินิกสุขภาพที่ก่อตั้งตาม「มาตรการพิเศษสำหรับสุขอนามัยทางการแพทย์ เช่น ในเขตหมู่บ้านเกษตรกรและชาวประมง ฯลฯ」
- อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ สามารถยกเว้นสถาบันทางการแพทย์ ร้านขายยาย หรือสถาบันการแพทย์แห่งใดแห่งหนึ่งดังต่อไปนี้ได้ เมื่อมีความเห็นว่าสถานที่นั้นไม่เหมาะสมในฐานะเป็นสถาบันทางการแพทย์ที่คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะหรือนโยบายระดับชาติ (ส่วนหลัง「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 42 วรรค 1 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 18 วรรค 1).
· สถานบันทางการแพทย์ในเครือที่จัดตั้งขึ้นตาม「พระราชบัญญัติทางการแพทย์」
· สถาบันทางการแพทย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หลักของการรักษาพยาบาลบุคคลที่อาศัยอยู่ในสถานบริการสวัสดิการสังคมตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิการสังคม」
· สถาบันทางการแพทย์ที่ระงับกิจการตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ เนื่องจากการกระทำไม่รับการร่วมจ่ายค่าร่วมจ่ายบางส่วนของตนเอง หรือรับเงินด้วยวิธีโน้นน้าวให้ผู้ประกันตนหรือผู้อยู่ในอุปการะ หรือการกระทำการรักษาที่มากเกิน หรือเรียกร้องค่ารักษาที่สูงเกินสมควร
√ สถาบันทางการแพทย์ที่ได้รับการระงับการดำเนินธุรกิจหรือการกำจัดข้อพิพาทตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 ภายใน 5 ปี มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
√ สถาบันทางการแพทย์ที่ก่อตั้งและดำเนินงานโดยบุคคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการตัดสิทธิ์ระงับใบอนุญาตตาม「พระราชบัญญัติทางการแพทย์」 ภายใน 5 ปีมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
· สถาบันทางการแพทย์หรือร้านขายยาที่ก่อตั้งโดยผู้ก่อตั้งสถาบันการแพทย์ หากได้รับการถูกระงับการดำเนินการหรืออยู่ในช่วงการถูกดำเนินการระงับการจัดการตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」