THAI

ประกันสุขภาพแห่งชาติ (ผู้ประกันตนตามพื้นที่)
สิทธิผู้ประกันตนตามพื้นที่ของประกันสุขภาพแห่งชาติ
ขอบเขตของผู้ประกันตนตามพื้นที่
- ผู้ประกันตนที่เป็นพนักงานกับผู้ประกันตนที่ไม่รวมผู้อยู่ในอุปการะ จะกลายเป็นผู้ประกันตนตามพื้นที่ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 6 วรรค 3).
※ รายละเอียดเกี่ยวกับ “ผู้ประกันตนที่เป็นพนักงาน” และ “ผู้อยู่ในอุปการะ” สามารถอ้างอิงจากเนื้อหาในเว็บไซต์ 『ประกันสุขภาพแห่งชาติของผู้ประกันตนที่เป็นพนักงาน』
สิทธิผู้ประกันตนตามพื้นที่ของชาวต่างชาติที่พำนักในเกาหลี
- กรณีชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศหรือชาวต่างชาติ (ต่อไปนี้เรียกว่า “ชาวต่างชาติที่พำนักในเกาหลี”)ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนที่เป็นพนักงาน และมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้ จะถือว่าเป็นผู้ประกันตนตามพื้นที่ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 109 วรรค 2· วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 61(2) วรรค 1· วรรค 2).
· อาศัยอยู่ในเกาหลีนานกว่า 6 เดือน หรือสามารถคาดเดาได้ว่าอาศัยอยู่ในเกาหลี 6 เดือนขึ้นไป โดยตรงกับข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
√ กรณีได้รับสิทธิในการพำนักอาศัยด้วยวีซ่าการสมรสของผู้ย้ายถิ่นฐาน(F-6)
√ กรณีได้รับสิทธิในการพำนักอาศัยของวีซ่าเรียนต่างประเทศจากการศึกษา(D-2) หรือ[เฉพาะชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศ หรือสิทธิในการพำนักอาศัยของวีซ่าเรียนต่างประเทศ(D-2) หรือชาวต่างชาติที่มีวีซ่าชาวเกาหลีใต้ในต่างประเทศ(F-4) และไปเรียนต่างประเทศ] เรียนต่อต่างประเทศเพื่อการวิจัย
√ กรณีเรียนต่อต่างประเทศเพื่อการศึกษาในโรงเรียน [เฉพาะชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศ หรือสิทธิในการพำนักอาศัยด้วยวีซ่าผู้ฝึกงานทั่วไป(D-4) หรือวีซ่าชาวเกาหลีใต้ในต่างประเทศ(F-4) สำหรับชาวต่างชาติที่เรียนต่อต่างประเทศ]
· ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
√ ชาวเกาหลีที่อยู่ต่างประเทศที่ลงทะเบียนตาม「พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร」 มาตรา 6 วรรค 1 ข้อ 3
√ ชาวเกาหลีที่มีสัญชาติต่างประเทศที่เข้าประเทศโดยสิทธิในการพำนักอาศัย และแจ้งการพักอาศัยภายในประเทศเกาหลี
√ บุคคลที่มีสิทธิในการพำนักอาศัยตาม「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติ」 เอกสารแนบตารางที่ 9 ในฐานะบุคคลที่ลงทะเบียนชาวต่างชาติตาม「กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง」 มาตรา 31

สิทธิในการพำนักอาศัยตาม「พระราชบัญญัติเกี่ยวกับกฎการใช้ประกันสุขภาพแห่งชาติ」 เอกสารแนบตารางที่ 9 (ชื่อประเภทวีซ่า)

1. วีซ่าศิลปะวัฒนธรรม)(D-1), วีซ่าเรียนต่อต่างประเทศ(D-2), วีซ่าผู้ฝึกงานภาคอุตสาหกรรม(D-3), วีซ่าผู้ฝึกงานทั่วไป(D-4), วีซ่านักวารสารศาสตร์(D-5), วีซ่านักศาสนา(D-6), วีซ่าการโอนย้ายภายในบริษัท(D-7), วีซ่าการลงทุนในกลุ่มบริษัท(D-8), วีซ่าการค้าการจัดการ(D-9), วีซ่าสมัครงาน(D-10)

2. วีซ่าอาจารย์(E-1), วีซ่าอาจารย์สอนภาษาต่างประเทศ(E-2), วีซ่าวิจัย(E-3), วีซ่าอบรบทางด้านเทคนิค(E-4), วีซ่าแรงงานมืออาชีพ(E-5), วีซ่าศิลปะการแสดง(E-6), วีซ่าผู้มีความสามารถพิเศษของต่างประเทศ(E-7), วีซ่าการจ้างงานที่ไม่ใช่มืออาชีพ(E-9), วีซ่ากะลาสีเรือ(E-10)

3. วีซ่าผู้เยี่ยมเยือนหรือผู้ร่วมอาศัยในครอบครัว(F-1), วีซ่าผู้พำนัก(F-2), วีซ่าผู้ร่วมทาง(F-3), วีซ่าชาวเกาหลีใต้ในต่างประเทศ(F-4), วีซ่าผู้พำนักถาวร(F-5), วีซ่าการสมรสของผู้ย้ายถิ่นฐาน(F-6)

4. วีซ่าอื่น ๆ(G-1) (เฉพาะบุคคลที่ได้รับการอนุญาตให้พำนักแบบมนุษยธรรมตาม「พระราชบัญญัติผู้ลี้ภัย」และบุคคลที่กำหนดโดยองค์กรสาธารณะ)

5. วีซ่าการทำงานในช่วงวันหยุดยาว(H-1), วีซ่าเยี่ยมเยือนทางธุรกิจ(H-2)

※ ระยะเวลา 6 เดือนตามระยะเวลาพำนักในเกาหลีจะคำนวณตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ในกรณีนี้ หากมีระยะเวลาพำนักอยู่ต่างประเทศรวมกันไม่เกิน 30 วันภายในช่วงเวลา 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่นับเป็นช่วงเวลานั้นจะคิดเป็นระยะเวลาพำนักในเกาหลี
1. จะเริ่มนับระยะเวลานับจากวันที่เข้าสู่เกาหลีเป็นครั้งแรก (กรณีกลับเกาหลีหลังจากออกจากเกาหลี 1 ครั้งและอยู่ต่างประเทศเกิน 30 วัน จะนับวันที่กลับเข้ามาใหม่อีกครั้งเป็นวันที่เข้าประเทศเกาหลีครั้งแรก)
2. กรณีเดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่เข้าประเทศเกาหลีครั้งแรก และพำนักอยู่ในต่างประเทศเป็นระยะเวลารวมกันเกิน 30 วัน (เฉพาะกรณีที่ระยะเวลาอยู่ต่างประเทศในแต่ละการเดินทางน้อยกว่า 30 วัน) และกลับเข้าประเทศเกาหลีใหม่อีกครั้ง จะทำการคำนวณทุกวันที่ 1 ของทุกเดือนตั้งแต่เดือนถัดไปของเดือนที่เข้ามาในประเทศเกาหลีครั้งแรก ถึงแม้จะตรงกับข้อ 1. ข้างต้นก็ตาม (กรณีเข้าประเทศเกาหลีครั้งแรกในวันที่ 1 ของทุกเดือน จะนับเป็นเดือนนั้นแทน) (เฉพาะ ในกรณีระยะเวลาไม่เกิน 30 วันสำหรับระยะเวลาการพำนักอยู่ต่างประเทศทั้งหมด 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 ของทุกเดือน).
- อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในเกาหลีที่ตรงตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งดังต่อไปนี้ ไม่สามารถเป็นผู้ประกันตนของประกันสุขภาพแห่งชาติได้ (「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 109 วรรค 5 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ」 มาตรา 76).
· กรณีชาวต่างชาติ หรือชาวเกาหลีที่มีสัญชาติต่างประเทศไม่ได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการพำนัก เนื่องจากละเมิดกฎหมายเข้าพำนักในประเทศเกาหลี
· กรณีได้รับคำสั่งเนรเทศตาม「กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง」 มาตรา 59 วรรค 3 เนื่องจากละเมิดกฎหมายเข้าพำนักในประเทศเกาหลี
· กรณีนายจ้างหรือผู้ประกันตนยื่นขอการยกเว้น เนื่องจากสามารถรับความคุ้มครองทางการแพทย์ที่เทียบเท่ากับค่าดูแลรักษาทางการแพทย์ตาม「พระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ」มาตรา 41 เช่น กฎหมายต่างประเทศ ประกันต่างประเทศ หรือสัญญาของนายจ้าง ฯลฯ
※ รายละเอียดเกี่ยวกับ “การยกเว้นการสมัครประกันสุขภาพแห่งชาติของชาวต่างประเทศที่พำนักอยู่ในประเทศเกาหลี ฯลฯ” สามารถตรวจสอบได้ที่ 『ประกันสุขภาพแห่งชาติของผู้ประกันตนตามพื้นที่』 <การสมัครประกันสุขภาพ - การสมัครผู้ประกันตนตามพื้นที่ และการรักษาสิทธิ - การเปลี่ยนแปลงสิทธิ และการเสียสิทธิ>