จำกัดการหางานของผู้มีประวัติการทารุณกรรมเด็ก
ผู้ที่มีคุณสมบัติต้องจำกัดการหางาน
- บุคคลที่ถูกจำกัดการรับเข้าทำงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เป็นบุคคลที่ได้รับการตรวจสอบว่าถูกพิพากษาให้ได้รับโทษ หรือเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก (ต่อไปนี้เรียกว่า "บุคคลที่มีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก") (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(3) วรรค 1).
ระยะเวลาจำกัดการหางาน
- บุคคลที่มีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก เมื่อเสร็จสิ้นโทษนั้น หรือเข้ารับการรักษาทั้งหมด หรือบางส่วนสิ้นสุด (รวมถึงกรณีที่ถือว่าเสร็จสิ้นแล้ว) หลังจากที่ไม่ต้องถูกดำเนินคดีใด ๆ แล้ว บุคคลนั้นจะไม่สามารถดำเนินงานหรือทำงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กได้เป็นเวลา 10 ปี (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(3) วรรค 1).
องค์กรที่จำกัดการหางาน
- บุคคลที่มีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็กไม่สามารถดำเนินงานหรือทำงานที่สถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ได้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(3) วรรค 1).
· สำนักงานสิทธิ, หน่วยงานดำเนินการบริการแบบครบวงกรสำหรับเด็กที่อยู่ในชนชั้นอ่อนแอ, หน่วยงานคุ้มครองเด็ก, ศูนย์การดูแลร่วมกัน, ศูนย์ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูและสถาบันสวัสดิภาพเด็ก
· รัฐบาลท้องถิ่น (เฉพาะเจ้าหน้าที่ภาครัฐเฉพาะ, ผู้เชี่ยวชาญด้านพลเรือน, ข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็ก)
· ศูนย์บริการฉุกเฉิน, ศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว และสถาบันคุ้มครองผู้เสียหายจากความรุนแรงในครอบครัว
· ศูนย์ส่งเสริมครอบครัวที่ดี
· ศูนย์ส่งเสริมครอบครัวหลายวัฒนธรรม
· สถาบันส่งเสริมเพื่อผู้เสียหายจากการค้าประเวณี และศูนย์ให้คำปรึกษาผู้เสียหายจากการค้าประเวณี
· ศูนย์ให้คำปรึกษาผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศ สถานคุ้มครองผู้เสียหายจากจากความรุนแรงทางเพศ และศูนย์ช่วยเหลือผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศ
· สถานรับเลี้ยงเด็ก
· โรงเรียนอนุบาล
· สถาบันการแพทย์ (เฉพาะบุคลากรทางการแพทย์)
· สถาบันสวัสดิการสำหรับผู้พิการ
· สถาบันสวัสดิการสุขภาพทางจิต, สถานส่งเสริมสุขภาพจิต, สถานบริการสุขภาพจิต และสถานฟื้นฟูจิตใจ
· สำนักงานตรวจอาคารอาศัย (เฉพาะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย)
· สถานอำนวยความสะดวกเยาวชน และองค์กรกลุ่มเยาวชน
· สถานกิจกรรมเยาวชน
· ศูนย์สงเคราะห์ที่ปรึกษาเยาวชน, ศูนย์สนับสนุนเยาวชนที่ย้ายถิ่นฐาน, สถานสงเคราะห์เยาวชน, ศูนย์ช่วยเหลือเอกชนสำหรับเยาวชน และศูนย์บำบัดฟื้นฟูเยาวชน
· ศูนย์คุ้มครอง·ฟื้นฟูเยาวชน
· สถานที่อำนวยความสะดวกด้านกีฬาที่กำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม·กีฬาและการท่องเที่ยว ให้เป็นสถานที่เล่นกีฬาที่ไม่มีข้อจำกัดการใช้ด้านกีฬาสำหรับเด็ก
· โรงเรียน และสถาบันที่ให้การอบรมแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ฯลฯ
· โรงเรียนกรวดสิชา และสถานที่ฝึกอบรมที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เป็นสถานศึกษาเอกชนที่ไม่มีข้อจำกัดกับเด็ก
· สถานสงเคราะห์ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
· บริษัทที่ดำเนินการเป็นหน่วยงานคุ้มครองเด็ก หรือที่พักพิงของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
· สถานกักกันเด็กและเยาวชน และสำนักงานจำแนกเยาวชน
· สถาบันที่จัดเตรียมบริการสำหรับบริการดูแลเด็ก
· สถาบันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมตาม「พระราชบัญญัติพิเศษการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม」 มาตรา 20
· องค์กรที่ว่าจ้างหรือจัดหาผู้ให้บริการช่วยเหลือหลังคลอดตามมาตรา15-18 แห่งกฎหมายสุขภาพแม่และเด็ก (จำกัดเฉพาะผู้ที่ให้บริการช่วยเหลือหลังคลอดโดยตรง)
การตรวจสอบเพื่อจำกัดการหางานของผู้มีประวัติการทารุณกรรมเด็ก
การสอบสวนประวัติบุคคลที่มีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ ของผู้ดำเนินงานในองค์กรที่จำกัดการหางาน
- หัวหน้าของรัฐบาลท้องถิ่น, ผู้จัดการด้านการศึกษาที่ควบคุมเกี่ยวกับการสร้างหรือก่อตั้งองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กจะต้องร้องขอให้หัวหน้าสถาบันที่เกี่ยวข้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็กของบุคคลที่ต้องการจัดการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็ก (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(3) วรรค 4).
- นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต หรือผู้จัดการด้านการศึกษา จะต้องตรวจสอบ·ยืนยันว่าบุคคลดังกล่าวเคยมีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก หรือฝ่าฝืนการจำกัดการหางาน ฯลฯ มาก่อนหรือไม่ โดยจะต้องดำเนินการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งด้วยตนเองหรือผ่านองค์กรที่เกี่ยวข้อง (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(4) วรรค 1, มาตรา 68 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 56 วรรค 2·วรรค 3·วรรค 4).
หน้าที่ของหัวหน้าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
- หัวหน้าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กจะต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก สำหรับบุคคลที่ทำงานหรือต้องการจะทำงานและในกรณีนี้ หัวหน้าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กจะต้องร้องขอไปยังหัวหน้าองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อรับอนุญาตตรวจสอบระวัติอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(3)วรรค 5).
การปลดผู้มีประวัติการทารุณกรรมเด็กออกจากตำแหน่ง
การร้องขอปลดออกจากตำแหน่ง ฯลฯ สำหรับลูกจ้างในองค์กรจำกัดการหางาน
- หัวหน้าขององค์การการปกครองส่วนกลางที่ต้องตรวจสอบและยืนยันการทำงานของบุคคลที่มีประวัติอาชญากรรมเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก สามารถร้องขอต่อหัวหน้าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กให้ปลดออกจากตำแหน่ง เมื่อบุคคลที่จัดหาแรงงานได้ฝ่าฝืนการจำกัดการหางานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็ก (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(5) วรรค 1).
- หัวหน้าแต่ละองค์ต้องตรวจสอบและยืนยันต่อหัวหน้าองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็ก โดยสามารถร้องขอให้ปิดองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่กำลังฝ่าฝืนการจำกัดการหางาน ฯลฯ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(5) วรรค 2).
- ในกรณีที่สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฏิเสธที่จะปิดตัวลงโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือไม่ดำเนินการตามข้อกำหนดภายใน 1 เดือน หัวหน้าแต่ละองค์ต้องตรวจสอบและยืนยันต้องปิดตัวลง หรือต้องยกเลิกการลงทะเบียน·การอนุญาต หรือสามารถเรียกร้องเรื่องดังกล่าว ต่อหัวหน้าขององค์การการปกครองส่วนกลางที่เกี่ยวข้องได้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(5) วรรค 3).