THAI

การทารุณกรรมเด็ก
ความพยายามในการป้องกันการทารุณกรรมเด็ก
ความตั้งใจของประเทศและรัฐบาลท้องถิ่น
- ประเทศและรัฐบาลท้องถิ่นได้ดำเนินมาตรการดังต่อไปนี้เพื่อป้องกันและปกป้องการทารุณกรรมเด็ก (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 22 วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 23 วรรค 1).
· จัดตั้งและดำเนินการนโยบายต่าง ๆ เพื่อป้องกันและปกป้องการทารุณกรรมเด็ก
· วิจัย·ส่งเสริมการอบรม และทำแบบสำรวจการทารุณกรรมเด็กเพื่อป้องกันและปกป้องการทารุณกรรมเด็ก
· จัดตั้งและดำเนินระบบการแจ้งรายงานการล่วงเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก
· ปกป้องกับรักษาเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ และส่งเสริมเกี่ยวกับครอบครัวของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
· จัดตั้งการร่วมมือขององค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและปกป้องการทารุณกรรมเด็ก
· พัฒนาและการจัดการ·ดำเนินงานโปรแกรมอบรมสำหรับผู้มีหน้าที่แจ้งรายงานด้านการทารุณกรรมเด็ก
· ฝึกอบรม·ควบคุมกำกับสถาบันสวัสดิภาพเด็กและองค์กรที่เกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมเด็ก
- สำนักงานสิทธิเด็ก(ต่อไปนี้จะเรียกว่า "สำนักงานสิทธิ") มีหน้าที่ดำเนินงานเพื่อกระตุ้นโครงการป้องกันการทารุณกรรมเด็กตามหน้าที่ดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 22 วรรค 6 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」มาตรา 23 วรรค 3).
· ส่งเสริมเกี่ยวกับหน่วยงานคุ้มครองเด็ก
· วิจัยและจัดทำเอกสารเกี่ยวกับโครงการป้องกันการทารุณกรรมเด็ก
· จัดตั้งการเชื่อมโยงระบบเพื่อให้โครงการป้องกันการทารุณกรรมเด็กมีประสิทธิภาพ
· พัฒนาและประเมินโปรแกรมสำหรับโครงการป้องกันการทารุณกรรมเด็ก
· ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยงานคุ้มครองเด็ก·ที่พักของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ และข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็ก อบรมและสนับสนุนเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมเด็ก
· การจัดตั้งและดำเนินระบบประมวลผลข้อมูลของหน่วยงานคุ้มครองเด็ก
· หน้าที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพพนักงานของสถาบันสวัสดิภาพเด็ก และองค์กรที่เกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมเด็กและการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
· การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมเด็กแและการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
· การผลิตและจัดทำสถิติและจัดเตรียมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมเด็กแและการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
※หัวหน้าขององค์การการปกครองส่วนกลาง และนายกเทศมนตรีเมืองพิเศษ·นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่·ผู้ว่าราชการจังหวัด·ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (ต่อไปนี้เรียกว่า 'นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด') หรือ นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต, หัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็กหรือ หัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็ก จะสามารถใช้ข้อมูลหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทารุณกรรมเด็กของระบบข้อมูลของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 22(7)).
ติดตั้งการโทรฉุกเฉิน
-นายกเทศมนตรีเขตปกครองพิเศษ·นายกเทศมนตรีมหานคร·ผู้ว่าราชการจังหวัด·ผู้ว่าราชการจังหวัดพิเศษที่ปกครองตนเอง (ต่อไปจะเรียกว่า “นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด”) หรือ นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (ต่อไปจะเรียกว่า “นายกเทศมนตรีเขตปกครองตนเอง”)จะต้องติดตั้งและใช้งานโทรศัพท์ฉุกเฉินที่หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 22 วรรค2 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 24 วรรค1).
- การโทรฉุกเฉินตามข้างต้นต้องดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลขเดียวกันทั่วประเทศ (「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 24 วรรค 2).
การกำหนดวันป้องกันการทารุณกรรมเด็ก
- ประเทศและรัฐบาลท้องถิ่นกำหนดให้วันที่ 19 พฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันป้องกันการทารุณกรรมเด็กเพื่อส่งเสริมการเติบโตที่ดีของเด็กและเพื่อยกระดับผลประโยชน์ของชาติในการป้องกันและปกป้องการทารุณกรรมเด็ก (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 23 วรรค 1).
- จัดให้วันป้องกันการทารุณกรรมเด็กมีระยะเวลานาน 1 สัปดาห์นับจากวันป้องกันการทารุณกรรมเด็ก โดยประเทศและรัฐบาลท้องถิ่นจะต้องพยายามในการดำเนินงานและจัดกิจกรรมส่งเสริมเป็นสัปดาห์แห่งป้องกันการทารุณกรรมเด็กที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้น (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 23 วรรค 1·วรรค 2).
การอบรมเกี่ยวกับผู้มีหน้าที่แจ้งรายงานการทารุณกรรมเด็ก
- หัวหน้าขององค์การการปกครองส่วนกลาง จะต้องสร้างเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมเด็กและเนื้อหาการอบรมเกี่ยวกับน้าที่แจ้งรายงานมากกว่า 1 ชั่วโมงในหลักสูตรขั้นตอนสอบใบรับรองการป้องกันการทารุณกรรมเด็กสำหรับผู้มีหน้าที่แจ้งรายงานการทารุณกรรมเด็กและต้องส่งผลกาอมรบต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 26 วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 26 วรรค 2).
※ เนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่การแจ้งรายงานสามารถตรวจสอบผ่านคอนเทนต์นี้ <การทารุณกรรมเด็ก – ขั้นตอนเมื่อพบการทารุณกรรมเด็ก และวิธีก้ปัญหา – แจ้งรายงาน และแจ้งความ>
คำแนะนำสำหรับการให้คำปรึกษา·อบรมเกี่ยวกับผู้ทารุณกรรมเด็ก
- นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต, หัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็ก หรือ หัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็ก สามารถแนะนำแก่ผู้ทารุณกรรมเด็กโดยให้คำปรึกษา·อบรม และส่งเสริมให้เข้ารับการรักษาทางจิตใจ ฯลฯ ตามความจำเป็น (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(2)).
- ในกรณีนี้ หากผู้ทารุณกรรมเด็กไม่มีเหตุผลอันเหมาะสม จะต้องเข้ารับคำปรึกษา·อบรม และเข้าร่วมการรักษาทางด้านจิตใจ ฯลฯ อย่างตั้งใจ (ตอนท้ายของ「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29(2)).
ความตั้งใจของบิดามารดา ฯลฯ
※ อะไรคือทัศนคติทางสั่งสอนในการเลี้ยงบุตรที่ถูกต้อง?
- ทุกครั้งที่พบปัญหาคือข้อขัดแย้ง จะไม่มีการใช้ความรุนแรงในการสั่งสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีความสัมพันธ์ในทางที่ดีกับเด็กอยู่แล้ว
- บิดามารดามีนิสัยพูดจาหยาบกระด้างกับเด็ก เมื่อต้องการอะไรจากเด็กอย่าลืมพูดจาแบบสุภาพ
- เมื่อใช้คำพูดที่สุภาพแต่ยังไม่สามารถเปลี่ยนการกระทของเด็กได้ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่สงบนิ่งและหนักแน่นแบบดังต่อไปนี้เป็นวิธีที่ได้ผล
· “นี่ OO, รอบตัวเธอสกปรกเลอะเทอะมาก แล้วยังจะไม่ทำความสะอาดอีก รอบตัวสกปรกตามไปด้วยเลยเป็นนปัญหาไปทำให้รอบข้างไม่สบายตัวไปด้วย คนอื่นต้องมาทำความสะอาดให้แทนอีก ทั้งเสียเวลาแสียแรงอีก เวลาเธอทำอะไรเสร็จควรจะจัดการทำความสะอาดด้วยสิ”
· กรุณาพูดปัญหาของพฤติกรรมและสถานการณ์ให้ชัดเจน ขณะที่พูดให้คิดว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวของเด็ก แต่เป็นเพียงพฤติกรรมที่เด็กกำลังทำอยู่ พยายามอย่าพูดโจมตีเด็กตัวตนของเด็ก
· กรุณาอย่าขึ้นเสียงดัง แต่บอกกับเด็กจนสามารถรับรู้ได้ถึงความจริงจังของปัญหาจากพฤติกรรมของตน แทนที่จะแสดงออกว่า “โกรธ” ให้ใช้การแสดงออก “ฉันเสียใจ” หรือ “เป็นกังวล”, “ฉันเหนื่อย” ฯลฯ แทนเพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกว่าโดนคุกคาม
· กรุณาอธิบายเหตุผลแทน กล่าวคือ ใช้วิธีอธิบาย “เป็นเพราะว่า~~” ว่าพฤติกรรมของเด็กรบกวนชั้นเรียนหรืองานของคุณอย่างไร
· จำเป็นต้องอธิบายอย่างละเอียดว่าต้องการอะไรจากเด็ก
※ อะไรคือทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการลงโทษ?
1) กำหนดพฤติกรรมและแนวทางที่ต้องการให้ชัดเจน จากนั้น ลองพิจารณาว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง และจะทำให้เด็กเสียความเป็นตัวของตัวเองลงหรือไม่
2) ให้เด็กมีส่วนร่วมกับการสร้างกฎระเบียบ
3) ฝึกวินัยอย่างสม่ำเสมอ อย่างเป็นธรรม และใจเย็น
4) เปิดโอกาสที่ทำได้จริงแก่เด็กทุกเพื่อให้มีส่วนร่วมและบรรลุผลสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นในชั้นเรียน โปรแกรมกิจกรรมของเด็ก
5) ติดตามเด็กอย่างต่อเนื่อง ช่วยเด็กเมื่อพบว่าเด็กที่รู้สึกถึงความยากลำบากของหน้าที่ และแนะนำสิ่งใหม่ให้กับเด็กที่ทำได้ดี