การยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง ฯลฯ
การยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครองคืออะไร?
- “สิทธิในการเป็นผู้ปกครอง”หมายถึง สิทธิและหน้าที่ของผู้เป็นบิดามารดาในการสนับสนุนบุตรในด้านเศรษฐกิจ·สังคม·จิตใจ เพื่อช่วยสร้างคุณสมบัติขั้นพื้นฐานให้กับบุตรของตนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้มีชีวิตที่มีความสุขและเติบโต·พัฒนาได้อย่างกลมกลืน (อ้างอิงจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 3 ข้อ 2).
- “การยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง”หมายถึง การร้องขอของนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต หรืออัยการ เพื่อให้ประกาศยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง ในกรณีผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองการใช้อำนาจเป็นผู้ปกครองโดยมิชอบ หรือพฤติกรรมที่ไม่ดีอื่น ๆ ที่เป็นเหตุสำคัญจนไม่สามารถใช้สิทธิในการเป็นผู้ปกครองได้ (อ้างอิงจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 18 วรรค 1).
การร้องขอยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง
- ในกรณีหัวหน้าสถาบันสวัสดิภาพเด็ก และผู้อำนวยการโรงเรียนมีเหตุขอให้ต้องร้องขอยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง บุคคลนั้นจะต้องทำเรื่องร้องขอไปยังนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต หรืออัยการ เพื่อให้จำกัดการใช้สิทธิหรือยกเลิกสิทธิ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 18 วรรค 2).
- นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต หรือ อัยการ สามารถร้องขอต่อศาลให้จำกัดการใช้สิทธิหรือยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง เมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการยกเลิกเพื่อสวัสดิภาพเด็ก ในกรณีพบว่าผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองของเด็กใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ หรือพฤติกรรมที่ไม่ดีอื่น ๆ อย่างทารุณกรรมเด็กที่เป็นเหตุสำคัญจนไม่สามารถใช้สิทธิในการเป็นผู้ปกครองได้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 18 วรรค 1).
- กรณีได้รับการร้องขอให้จำกัดการใช้สิทธิหรือยกเลิกสิทธิ นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ หรือ อัยการจะต้องเคารพความคิดเห็นของหัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็ก หรือ หน่วยงานคุ้มครองเด็ก หมอที่ให้คำปรึกษาและรักษา และเด็กที่เกี่ยวข้อง (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 18 วรรค 3).
การคัดเลือกผู้อุปถัมภ์ หรือร้องขอการเปลี่ยนแปลง
- บุคคลที่ร้องขอให้คัดเลือกผู้อุปถัมภ์ ฯลฯ
· นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ, หัวหน้าสถาบันสวัสดิภาพเด็ก และผู้อำนวยการโรงเรียน จะต้องร้องขอต่อศาลในการคัดเลือกผู้อุปถัมภ์ ในกรณีพบเด็กที่ไม่มีผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง หรือผู้อุปถัมภ์ และเป็นกรณีที่เห็นชอบว่ามีความจำเป็นสำหรับการรับสวัสดิการ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 19 วรรค 1).
· นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ, หัวหน้าสถาบันสวัสดิภาพเด็ก, ผู้อำนวยการโรงเรียน หรืออัยการ จะต้องร้องขอต่อศาลให้ทำการเปลี่ยนผู้อุปถัมภ์ ในกรณีผู้อุปถัมภ์ที่กระทำโดยมิชอบ หรือพฤติกรรมที่ไม่ดีอื่น ๆ เช่น ทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 19 วรรค 2).
- ผู้อุปถัมภ์ชั่วคราว
· กรณีร้องขอการคัดเลือกผู้อุปถัมภ์ตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」มาตรา 19 วรรค 1 และวรรค 2 ก่อนที่จะทำการเลือกผู้อุปถัมภ์สำหรับเด็กที่ยังไม่มีผู้อุปถัมภ์ ศาลสามารถออกคำสั่งให้ นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต, หัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็ก และ หัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็กทำหน้าที่เป็นผู้อุปถัมภ์ของเด็กเพื่อดูแลเป็นการชั่วคราวได้ (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 20 วรรค 2).
- กรณีคัดเลือกของผู้อุปถัมภ์ หรือร้องขอเปลี่ยนแปลง ฯลฯ จำเป็นจะต้องเคารพความคิดเห็นของเด็กด้วยเช้นกัน (ตอนท้ายของ「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 19 วรรค 3 และมาตรา 20 วรรค 2).
※ หากผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองทำทารุณกรรมเด็กอย่างชัดเจน จำเป็นจะต้องส่งตัวเด็กกลับบ้านหรือไม่?
(คำถาม) ฉันทำงานอยู่ที่ห้องฉุกเฉินและได้พบเด็กทารกอายุยังไม่ครบขวบมีอาการอ้วก หายใจไม่ออก ฯลฯ พอสังเกตดูพบว่ามีรอยถลอกตามร่างกาย จึงไปแจ้งความกับตำรวจมา แต่แม่ของเด็กบอกว่าเป็นการอบรมลูกของตนเอง และขอตัวเด็กกลับคืนไป ทั้ง ๆ ที่เห็นชัดเจนว่านี่เป็นการทารุณกรรมเด็ก ฉันจำเป็นจะต้องส่งตัวเด็กกลับไปให้คนที่ทารุณกรรมเด็กหรือไม่?
(คำตอบ) ไม่จำเป็นต้องส่งตัวกลับ ก่อนอื่นหลังจากแจ้งเรื่องมาที่หน่วยงานคุ้มครองเด็ก หรือหน่วยสืบสวนสอบสวนกลาง เด็กจะได้รับการรักษาและคุ้มครองที่โรงพยาบาล หากมีความจำเป็น อาจมีการดำเนินมาตรการฉุกเฉินเพื่อแยกเด็กออกจากผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองโดยจะคุ้มครองเด็กอย่างปลอดภัย
การทำร้ายร่างกายเด็ก คือการกระทำความผิดทางอาญาที่ชัดเจนว่าเป็นการทารุณกรรมเด็ก โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 50 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 71 วรรค 1 ข้อ 2).
เมื่อแจ้งตำรวจเรียบร้อยแล้ว จะมีการดำเนินขั้นตอนสอบสวนคดีการทารุณกรรมเด็ก นอกจากนี้ นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต หรืออัยการจะทำการร้องขอต่อศาลให้จำกัดการใช้สิทธิหรือยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง ในกรณีการทารุณกรรมเด็กโดยผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองถูกเปิดเผย หรือผู้ที่มีสิทธิในการเป็นผู้ปกครองใช้อำนาจเป็นผู้ปกครองโดยมิชอบ หรือเมื่อเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการยกเลิกเพื่อสวัสดิภาพเด็ก (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 18 วรรค 1) ดังนั้น การพิจารณาคดีทารุณกรรมเด็ก จะถูกพิจารณาไปพร้อมกับการยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง และหากถูกตัดสินให้ยกเลิกสิทธิในการเป็นผู้ปกครอง เด็กจะได้รับการคุ้มครองผ่านมาตรการคุ้มครองโดยเข้าไปยังสถาบันสวัสดิภาพเด็กที่เหมาะสม