การจัดการของคำสั่งให้เข้าอบรม หรือคำสั่งให้สำเร็จการอบรม
เข้ารับคำสั่งให้เข้าอบรมหรือคำสั่งให้สำเร็จการอบรมในกรณีถูกตัดสินว่ามีความผิด
- กรณีศาลตัดสินและประกาศคำพิพากษาลงโทษเกี่ยวกับผู้ทารุณกรรมเด็ก (ยกเว้น คำพิพากษารอการลงอาญา) ศาลสามารถบังคับให้เข้ารับคำสั่งให้เข้าอบรมเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ พร้อมกับรับคำสั่งให้สำเร็จการอบรมโปรแกรมการรักษา (ต่อไปนี้เรียกว่า "คำสั่งให้สำเร็จการอบรม") ภายใน 200 ชั่วโมง (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 1).
※ “คำสั่งให้เข้าอบรม”หมายถึง ระบบที่ป้องกันการกระทำผิดซ้ำโดยการปรับปรุงพฤติกรรม โดยกำหนดให้ผู้กระทำผิดได้รับการอบรมและการรักษาในระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้เกี่ยวกับสาเหตุทางจิตใจหรือทางจิตใจ หรือสิ่งเป็นกังวลว่าจะก่อให้เกิดอาชญากรรมซ้ำเนื่องจากจดจำปัญกาและพฤติกรรมแบบเดิม ๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ยาเสพติด เมาแล้วขับ ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ ฯลฯ (
สำนักนโยบายป้องกันอาชญากรรม กระทรวงยุติธรรม, คำสั่งให้เข้าอบรม).
※ “คำสั่งให้สำเร็จการอบรม”หมายถึง เป็นระบบที่สั่งให้ผู้ทารุณกรรมเด็กที่เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานล่วงละเมิดเด็กให้เข้ารับการบำบัดรักษาการทารุณกรรมเด็กที่สำนักงานคุมความประพฤติหรือสถาบันเฉพาะทางที่กำหนดโดยสำนักงานคุมความประพฤติในช่วงระยะเวลาหนึ่งมี่จำกัดไว้ (อ้างอิงเนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 1).
กรณีกำหนดคำสั่งให้เข้าอบรมพร้อมกับคำสั่งให้สำเร็จการอบรมอย่างอื่น
- กรณีรอลงอาญา
· กรณีรอลงอาญาเกี่ยวกับผู้ทารุณกรรมเด็ก คำสั่งให้เข้าอบรมพร้อมกันจะกำหนดจากภายในช่วงระยะเวลานั้นที่รอลงอาญา (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 2).
- กรณีถูกโทษปรับหรือโทษหนักกว่านั้น
· กรณีถูกพิพากษาโทษปรับหรือโทษจำคุกสำหรับผู้ทารุณกรรมเด็ก จะออกคำสั่งให้สำเร็จการอบรมพร้อมกัน (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 2).
ระยะเวลาของการดำเนินคำสั่งให้เข้าอบรม หรือคำสั่งให้สำเร็จการอบรม
- คำสั่งให้เข้าอบรมหรือคำสั่งให้สำเร็จการอบรมจะดำเนินการบังคับตามกฎหมายต่างกันไป โดยกรณีโทษรอลงอาญา จะกำหนดจากกำหนดภายในช่วงระยะเวลานั้น กรณีโทษถูกปรับ จะกำหนดระยะเวลาภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ยืนยันคำพิพากษา กรณีโทษจำคุก จะกำหนดภายในระยะเวลาที่จำคุก (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 4).
เนื้อหาการอบรมคำสั่งให้เข้าอบรมหรือคำสั่งให้สำเร็จการอบรม
- เนื้อหาของคำสั่งให้เข้าอบรมหรือคำสั่งให้สำเร็จการอบรมมีดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 6).
· ตรวจวิเคราะห์·ปรึกษาการกระทำด้านการทารุณกรรมเด็ก
· อบรมเพื่อมอบความรู้ทักษะพื้นฐานของการเป็นผู้ปกครอง
· ข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อป้องกันการกระทำซ้ำของผู้ทารุณกรรมเด็ก
คุมความประพฤติ หรือตัดสินให้บำเพ็ญประโยชน์
การกำหนดของการคุมความประพฤติ พร้อมกับตัดสินให้บำเพ็ญประโยชน์ นอกเหนือจากคำสั่งให้เข้าอบรม
- กรณีรอลงอาญาเกี่ยวกับผู้ทารุณกรรมเด็ก นอกเหนือจากคำสั่งได้ให้เข้าเข้าอบรม ศาลสามารถเลือกกำหนดการคุมความประพฤติ พร้อมกับบำเพ็ญประโยชน์ได้ภายในระยะเวลาที่รอลงอาญา (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 8 วรรค 3).
※ “คำสั่งบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม”หมายถึง ระบบที่ให้โอกาสในการชดเชยความเสียหายที่มาจากควาผิดของอาชญากรรมผ่านการบำเพ็ญประโยชน์เกี่ยวกับสังคม โดยออกคำสั่งให้บุคคลที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด หรือมีความจำเป็นต้องการรับการคุ้มครอง ฯลฯ ทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในช่วงระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีค่าตอบแทน (
สำนักนโยบายป้องกันอาชญากรรม กระทรวงยุติธรรม, คำสั่งบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม).