THAI

การทารุณกรรมเด็ก
การดูแลในภายหลังเกี่ยวกับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
การออกสถานคุ้มครองเด็ก ฯลฯ และการขยายระยะเวลาคุ้มครอง
- เมื่ออายุของเด็กที่ได้รับการคุ้มครองมีอายุบรรลุ 18 ปีหรือเป็นที่ยอมรับว่าบรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองแล้ว นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตที่เกี่ยวข้องจะต้องยุติมาตรการคุ้มครอง หรือจะต้องนำเด็กออกมาจากสถาบัน (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 16 วรรค 1).
- การขยายระยะเวลาคุ้มครอง
· กรณีเด็กที่ได้รับการคุ้มครองอายุครบ 18 ปีและมีจุดประสงค์ที่จะขยายระยะเวลาการคุ้มครอง นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องขยายระยะเวลาคุ้มครองเด็กคนั้นจนอายุครบ 25 ปี (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 16(3) วรรค 1).
· กรณีบุคคลที่ได้รับการขยายระยะเวลาการคุ้มครองตามข้างต้นเรียกร้องให้ยุติมาตรการคุ้มครอง นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องยุติมาตรการคุ้มครองนั้น อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการคุ้มครองเนื่องจากบุคคลนั้นไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ตามกรณีดังต่อไปนี้ คณะกรรมการพิจารณาจะไม่สามารถยุติการคุ้มครองได้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 16(3) วรรค 2 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 22 วรรค 1).
√ กรณีนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตยืนยันว่ามีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการคุ้มครองด้วยสาเหตุความพิการ·เป็นโรค ฯลฯ
√ กรณีความสามารถทางปัญญาตรงตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการกำหนดไว้
· หากบุคคลที่ต้องขยายระยะเวลาการคุ้มครองมีคุณสมบัติตรงตามดังข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต จะสามารถยื่นขยายเวลาการคุ้มครองนั้นเพิ่มได้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 16(3) วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 22 วรรค 2).
√ กรณีกำลังศึกษาในสถาบันโรงเรียนที่ต่ำกว่ามหาวิทยาลัย (ยกเว้น บัณฑิตวิทยาลัย)
√ กรณีได้รับการอบรมศึกษาเกี่ยวกับอาชีพที่สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือสถานฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพอาชีวศึกษา
√ กรณีนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตยืนยันว่ามีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการคุ้มครองด้วยสาเหตุความพิการ·เป็นโรค ฯลฯ
√ กรณีบุคคลที่ต้องขยายระยะเวลาในการคุ้มครองเป็นบุคคลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการกำหนดแล้วว่าเป็นบุคคลที่ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้
√ กรณีบุคคลที่ขยายเวลาการคุ้มครองเนื่องจากเตรียมหางาน ฯลฯ จึงยื่นขอขยายเวลาการคุ้มครองเพิ่ม โดยขายระยะเวลาการคุ้มครองเพิ่มขึ้นให้อีกไม่เกิน 1 ปี
ตรวจสอบสถานะการเกิดเหตุขึ้นอีกครั้ง
- ภายหลังการทารุณกรรมเด็กจบสิ้นลงไปแล้ว หัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็ก(ต่อไปนี้เรียกว่า "สำนักงานสิทธิเด็ก") หรือหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็กจะต้องตรวจสอบว่ามีการเกิดเหตุความรุนแรงขึ้นซ้ำอีกหรือไม่ผ่านการไปเยี่ยมที่บ้าน, ให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ ฯลฯ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 28 วรรค 1).
ส่งเสริมเด็กที่ตกเป็นเหยื่อและครอบครัว
- หัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็ก หรือหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็ก จะต้องให้คำปรึกษา, อบรม และส่งเสริมการรักษาด้านการแพทย์·ด้านจิตใจให้เด็กที่ตกเป็นเหยื่อ และผู้ปกครอง รวมไปถึงครอบครัวของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อเพื่อความปลอดภัยของเด็ก, ป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ, รักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแรงภายในบ้าน ฯลฯ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 29 วรรค 1).
- นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องให้คำแนะนำ·ดูแลที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่สวัสดิภาพที่ดีของเด็กที่เกี่ยวข้อง โดยเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้าราชการที่รับผิดชอบ และผู้เชี่ยวชาญด้านพลเรือน ฯลฯ เข้าไปเยี่ยมครอบครัวของเด็กที่ต้องการการคุ้มครองซึ่งกลับมายังบ้านของตนเนื่องจากการสิ้นสุดลงของมาตรการคุ้มครอง (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 16(2)).
- การส่งเสริมทางกฎหมาย เช่น การแต่งตั้งผู้ช่วย
· ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล บุคคลอย่าง ทนาย, ตัวแทนทางกฎหมาย, ญาติตามสายเลือด, พี่น้อง, ข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」มาตรา 22 วรรค 4, ที่ปรึกษาของสำนักงานสิทธิเด็กหรือหน่วยงานคุ้มครองเด็ก สามารถเป็นผู้ช่วยในการคดีเทารุณการทารุณกรรมเด็กได้ (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 21 วรรค 1)
· อย่างไรก็ตาม กรณีไม่ใช่ทนาย จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 21 วรรค 1).
· กรณีศาลไต่สวนให้เด็กที่ตกเป็นเหยื่อเป็นพยาน สามารถอนุญาตให้เข้าร่วมการรไต่สวนพร้อมกับอัยการ เด็กที่ตกเป็นเหยื่อ กับผู้ปกครองนั้น หรือสำนักงานสิทธิเด็ก ในกรณีมีคำร้องขอจากหน่วยงานคุ้มครองเด็ก สามารถอนุญาตให้เข้าร่วมการรไต่สวนพร้อมกับบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่น่าเชื่อกับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 21 วรรค 2).
· กรณีหน่วยสืบสวนสอบสวนกลางสอบสวนเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ผู้ช่วยจะถูกเลือกให้สามารถเข้าร่วมได้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 21 วรรค 3).
※ กฎพื้นฐานของบริการการคุ้มครองเด็ก
1. คำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็กเป็นอันดับแรก
- การดำเนินขั้นตอนการคุ้มครองเด็กทั้งหมด เช่น การให้คำปรึกษาสำหรับเด็ก, การตัดสินใจด้านมาตรการคุ้มครอง ฯลฯ จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็กเป็นอันดับแรกเสมอ
- สำหรับการคุ้มครองเด็ก ‘ความรีบเร่ง’ และ ‘ความตรงต่อเวลา’ มีความสำคัญที่สุด ในกรณีเด็กมีความจำเป็นต้องรับการคุ้มครงฉุกเฉิน จะใช้กฎการคุ้มครองแบบ ‘คุ้มครองก่อนจัดการทีหลัง’ (กฎการคุ้มครองทันที หากไม่มีเหตุผลที่หลบเลี่ยงไม่ได้)
2. พยายามเพื่อปกป้องครอบครัวที่ให้กำเนิด
- กรณีของเด็ก โดยส่วนใหญ่การเติบโตของเด็กที่ดีที่สุดมักเกิดขึ้นภายในครอบครัวตนเอง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพยายามปกป้องรักษาครอบครัวที่ให้กำเนิด
- รัฐบาลท้องถิ่น ฯลฯ จะต้องพยายามค้นหาขุดอ่อนของเด็ก (สมาชิกในครอบครัว) เช่น ด้านปัญหาที่ถูกมองข้ามเพื่อให้ครอบครัวที่ให้กำเนิดคุ้มครองเด็กได้ โดยจะต้องป้องกันการแตกแยกในครอบครัวที่ค้นหาผ่านการให้คำปรึกษา, สวัสดิการเงินเดือน และบริการเชื่อมโยง・สนับสนุน ฯลฯ ด้านปัญหาที่ถูกมองข้าม
· กรณีผู้ปกครองมีความประสงค์ที่จะส่งให้เด็กเข้าสถาบันสวัสดิภาพเด็กหรือรับเลี้ยง ควรจะตรวจสอบว่าครอบครัวที่ให้กำเนิดมีความสามารถที่จะคุ้มครองเด็กหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ เช่น การเข้าสถาบัน หรือทำเรื่องเข้าสถาบันรับเลี้ยง ฯลฯ กรณีมีความเป็นไปได้ จะต้องดำเนินการที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ครอบครัวที่ให้กำเนิดได้คุ้มครองเด็กด้วยตนเอง (บริการเชื่อมโยง・สนับสนุน ฯลฯ)
- เมื่อแยกเด็กออกจากคุ้มครองของครอบครัว ควรดำเนินการเพียงระยะเวลาชั่วคราวหรือระยะเวลาที่น้อยที่สุด และควรทบทวนการตัดสินใจแยกเด็กออกจากครอบครัวเป็นระยะ
3. กฎการคุ้มครองครอบครัวเป็นอย่างแรก
- กรณีเด็กถูกแยกตัวออกมาคุ้มครองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะต้องตัดสินใจเลือกรูปแบบการเลี้ยงดูแบบอื่น โดยพิจารณาถึงลักษณะและสถานการณ์ของเด็กรายบุคคล และคำนึงการจำกัดถึงสิทธิและเสรีภาพของเด็กให้น้อยที่สุด
- กล่าวคือ จะต้องพิจารณาการรับเลี้ยงและอุปถัมภ์เลี้ยงดูเป็นอันดับแรก เพื่อช่วยให้เด็กเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เหมือนครอบครัวจริง โดยการกำหนดประเภทแยกเพื่อคุ้มครอง และในกรณีจำเป็นต้องการคุ้มครองแบบสถาบัน จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับครอบครัวที่อยู่ร่วมกันเป็นอันดับแรก
4. การส่งเสริมให้มีส่วนร่วมของเด็กและผู้ปกครอง
- กรณีมาตรการคุ้มครองสำหรับเด็ก จะต้องเคารพความคิดของเด็กที่ต้องการการคุ้มครอง และจะต้องส่งเสริมให้เด็กและผู้ปกครองเข้าร่วมขั้นตอนทั้งหมด เช่น รับคำปรึกษา, วางแผนการคุ้มครองเด็ก และการคุ้มครอง ฯลฯ
· อย่างไรก็ตาม ในกรณีผู้ปกครองของเด็กเป็นผู้ทารุณกรรมเด็กตามพระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ ไม่จำเป็นจะต้องฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 5
- หลังจากมาตรการคุ้มครองสำหรับเด็ก จะต้องระวังมิให้เด็กขาดการติดต่อกับผู้ปกครอง
5. แนวทางป้องกัน (เตรียมบริการแบบครบวงจร)
- กรณีเด็ก(สมาชิกในครอบครัว)ที่อ่อนแอ ส่วนใหญ่หมายถึงกรณีที่มีความต้องการซับซ้อน เช่น ยากจน โรคภัยไข้เจ็บ หย่าร้าง ฯลฯ
- กรณีเรียกร้องมาตรการคุ้มครองสำหรับเด็ก(สมาชิกครอบครัว)ที่อ่อนแอ จะไม่ได้จัดเตรียมให้แค่เงิน แต่จะเตรียมเงินในจำนวนที่จำเป็น และบริการแบบครบถ้วนโดยจะประเมินความเสี่ยงต่อเด็กและสมาชิกในครอบครัวอย่างครอบคลุมผ่านการจัดการ ฯลฯ
- ข้อมูลมหัตจะถูกนำมาใช้ เช่น ข้อมูลกลุ่มชนชั้นอ่อนแอที่มีจุดบอดด้านสวัสดิการ (ไฟฟ้าถูกตัด, น้ำถูกตัด, แก๊สถูกตัด, ค้างชำระเบี้ยประกันสังคม ฯลฯ) ข้อมูลการทารุณกรรมเด็ก การศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กที่ไม่ได้เข้าเรียน และการขาดเรียนระยะยาว ฯลฯ เพื่อค้นหา・ป้องกันเด็กที่มีความเสี่ยงล่วงหน้า ต้องสร้างระบบค้นหา・ป้องกันอย่างสม่ำเสมอ (e-ระบบส่งเสริมสวัสดิการเด็ก)
6. พิจารณาความสะดวกของผู้ใช้ให้มากที่สุด
- กรณีพบว่าเด็กที่ต้องการการคุ้มครอง(สมาชิกในครอบครัว) ผ่านการแจ้งของผู้ปกครองหรือพบจากปัญหาที่ถูกมองข้าม ฯลฯ ผู้รับผิดชอบจะต้องไปเยี่ยมครอบครัวนั้นโดยตรง หรือให้คำปรึกษา ฯลฯ และจะต้องหาวิธีลดความลำบากสำหรับผู้ปกครองในการเข้าเยี่ยมตำบล・เขตปกครองท้องถิ่น・แขวง(หรือ เมือง・อำเภอ・เขต)
- กรณีมีความจำเป็นจะต้องรับคำปรึกษา ฯลฯ หลายครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อเป็นการคุ้มครองเด็ก จำเป็นจะต้องอธิบายขั้นตอนให้ผู้ปกครอง ฯลฯ ทราบล่วงหน้า โดยจะต้องจัดเวลา・สถานที่ตามความต้องการของผู้ปกครอง
- กรณีมาตรการคุ้มครองเด็ก เพื่อเป็นการลดความเสียหายต่อชีวิตเด็ก จะต้องคอยส่งเสริมการติดต่อกับครอบครัวและความเป็นไปได้ในการกลับมารวมตัวกัน โดยจะต้องคุ้มครองเด็กภายในสภาพแวดล้มที่ใกล้เคียงกับครอบครัวที่เด็กเคยอยู่อาศัยมาก่อนให้มากที่สุด
<กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ, หัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็ก, คู่มือการใช้งานบริการคุ้มครองเด็ก 2022>