ตรวจยืนยันการทารุณกรรมเด็ก
ลงพื้นที่จริง
- เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการหรือข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กที่ได้รับการแจ้งเกี่ยวกับอาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก จะต้องลงพื้นที่ของอาชญากรรมทารุณกรรมเด็กเพื่อไปตรวจสอบโดยทันที (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 1).
· หัวหน้าของหน่วยสืบสวนสอบสวนกลางหรือ นายกเทศมนตรีเมืองพิเศษ·นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการจังหวัด·ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (ต่อไปนี้เรียกว่า "นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด") หรือ นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (หมายถึง นายกเทศมนตรีเขตปกครองตนเอง) สามารถร้องขอให้ไปด้วยกันได้ หากหัวหน้าของหน่วยสืบสวนสอบสวนกลางหรือหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็กที่ได้รับการร้องขอนั้นไม่มีเหตุผมที่เหมาะสม หัวหน้าของหน่วยสืบสวนสอบสวน กลาง หรือหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็ก บังคับสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ หรือข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กลงพื้นที่อาชญากรรมทารุณกรรมเด็กไปด้วยกัน หากไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม (ตอนท้ายของ「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 1).
※ “อาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก”หมายถึง โทษของการทารุณกรรมเด็กโดยผู้ปกครองที่ระบุไว้ใน「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」มาตรา 2 ข้อ 4 (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 2 ข้อ 4).
※ 「ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา」 จะเป็นตัวกำหนดอำนาจของเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการและตำรวจสามัญแตกต่างกันออกไปในขั้นตอนการสืบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ(พันตำรวจเอก, ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร, ร้อยตำรวจเอก, ร้อยตำรวจโท, ร้อยตำรวจตรี) สามารถตรวจสอบผู้ร้าย, ความจริงที่กระทำผิด และหลักฐานที่กระทำผิด เมื่อสงสัยว่าอาจเกิดเหตุอาชญากรรม, ตำรวจสามัญ(จ่าสิบตำรวจ, สิบตำรวจเอก, สิบตำรวจตรี) จะช่วยในขั้นตอนการสอบสวน (อ้างอิงจาก「ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา」 มาตรา 197 วรรค 1 และวรรค 2).
· หัวหน้าของหน่วยสืบสวนสอบสวนกลางหรือ นายกเทศมนตรีเมืองพิเศษ·นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการจังหวัด·ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (ต่อไปนี้เรียกว่า "นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด") หรือ นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (หมายถึง นายกเทศมนตรีเขตปกครองตนเอง) สามารถร้องขอให้ไปด้วยกันได้ หากหัวหน้าของหน่วยสืบสวนสอบสวนกลางหรือหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็กที่ได้รับการร้องขอนั้นไม่มีเหตุผมที่เหมาะสม หัวหน้าของหน่วยสืบสวนสอบสวน กลาง หรือหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็ก บังคับสั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ หรือข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กลงพื้นที่อาชญากรรมทารุณกรรมเด็กไปด้วยกัน หากไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม (ตอนท้ายของ「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 1).
การสอบสวน
- เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการหรือข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กที่ได้รับการแจ้งรายงานอาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก จะต้องเข้าไปลงพื้นที่ที่ถูกแจ้งว่ามีอาชญากรรมทารุณกรรมเด็กหรือสถานที่ที่มีความจำเป็นเพื่อปกป้องเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ โดยสามารถสอบสวนและสอบถามผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็กหรือผู้ทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 2).
· อย่างไรก็ตาม ข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กสามารถสอบสวนและสอบถามผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับของเด็กหรือผู้ทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ ได้เพียงแค่ในขอบเขตเพื่อการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อเท่านั้น (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 2).
· ดังนั้น เพื่อให้เด็กที่ตกเป็นเหยื่อ, ผู้แจ้งรายงานอาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก, พยาน ฯลฯ สามารถชี้แจงได้อย่างเป็นอิสระ เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการหรือข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กที่สอบสวนและสอบถาม จะต้องใช้มาตรการที่จำเป็น เช่น สอบสวนในสถานที่ที่แยกออกจากผู้ทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 5).
- เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ, ข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็ก หรือพนักงานของหน่วยงานคุ้มครองเด็กที่ต้องเข้าหรือสอบสวน บุคคลนั้นจะต้องพกหนังสือรับรองแสดงอำนาจหน้าที่ให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 4).
- ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามจะต้องห้ามทำการกระทำที่ขัดขวางการปฏิบัติงานนั้น ๆ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ, ข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็ก หรือพนักงานของหน่วยงานคุ้มครองเด็กที่เข้าไปยังสถานที่เกิดเหตุ เช่น ทำร้ายร่างกาย·ข่มขู่ขณะปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิเสธที่จะดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบ (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 11 วรรค 6).
· บุคคลที่ปฏิเสธเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ, ข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็ก หรือพนักงานของหน่วยงานคุ้มครองเด็กจะดำเนินการลงพื้นที่ตรวจสอบ บุคคลนั้นจะถูกปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 63 วรรค 1 ข้อ 3).
มาตรการฉุกเฉินและมาตรการคุ้มครอง
มาตรการฉุกเฉิน
- กรณีลงพื้นที่จริงหรือพบสถานที่อาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก หรือกรณีตรวจสอบพบความเสียหายด้านการทารุณกรรม และมีความเสี่ยงต่อการทารุณกรรมซ้ำที่สถานที่อื่นนอกจากสถานที่เกิดเหตุทารุณกรรม เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ หรือข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กจะต้องดำเนินมาตรการดังต่อไปนี้ (ต่อไปนี้เรียกว่า "มาตรการฉุกเฉิน") เพื่อเป็นการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ, เด็กที่เป็นพี่น้องของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ และเด็กที่อาศัยอยู่กับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ (ต่อไปนี้เรียกว่า "เด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ฯลฯ") (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 12 วรรค 1).
1. การยับยั้งการกระทำอาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก
2. กักกันผู้ทารุณกรรมเด็กออกจากเด็กที่เป็นเหยื่อ
3. นำส่งเด็กที่ตกเป็นเหยื่อไปยังสถานคุ้มครองเกี่ยวกับการทารุณกรรมเด็ก
※ ในกรณีนี้ เมื่อใช้มาตรการ ผลประโยชน์ของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ฯลฯ จะต้องได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรก และต้องเคารพความคิดของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ฯลฯ, ยกเว้นกรณีพิเศษ เช่น เมื่อมีความจำเป็นต้องคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ฯลฯ (ตอนท้ายของ「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 12 วรรค 1).
4. นำส่งเด็กที่ตกเป็นเหยื่อไปยังสถาบันทางการแพทย์เมื่อต้องการการรักษาฉุกเฉิน
- กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ หรือข้าราชการที่รับผิดชอบการทารุณกรรมเด็กที่คุ้มครองแบบแยกย้าย·นำส่งเด็กที่ตกเป็นเหยื่อตามข้อ 3. และ 4. ข้างต้น ต้องรายงานความจริงนั้นโดยทันทีต่อนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตที่ ควบคุมดูแลสถาบันคุ้มครอง·สถาบันทางการแพทย์ที่ได้รับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อไปดูแล (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 12 วรรค 2).
- มาตรการฉุกเฉินตั้งแต่ข้อ 2. จนถึงข้อ 4. ข้างต้น จะไม่สามารถดำเนินการเกิน 72 ชั่วโมงได้ ในกรณีตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์หรือวันเสาร์รวมอยู่ ในกรณีนี้หากเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ ฯลฯ สามารถขยายเวลาออกเป็นภายใน 48 ชั่วโมงได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 12 วรรค 3).
มาตรการคุ้มครอง
- กรณีเกิดเหตุที่ต้องคุ้มครองเด็ก หรือได้รับเมื่อได้รับการร้องขอจากผู้ปกครองในเขตที่นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอควบคุมดูแล จะต้องใช้มาตรการเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กตามมาตรป้องกันข้อใดข้อหนึ่งดงัต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 1).
· ออกคำสั่งต่อข้าราชการที่รับผิดชอบหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กให้มอบคำปรึกษาให้เด็กที่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง หรือผู้ปกครองนั้น
· ดำเนินมาตรการที่จำเป็นสำหรับเด็กเพื่อได้รับการคุ้มครองและเลี้ยงดูในบ้าน ให้แก่ผู้ปกครอง หรือผู้ที่ต้องการอุปถัมภ์เลี้ยงดู
· จัดหาผู้ประสงค์ที่จะรับอุปถัมภ์คุ้มครองเด็ก
· พาเด็กเข้ามายังสถาบันสวัสดิการเด็กที่ตรงกับมาตรการการคุ้มครอง
· พาเด็กที่ต้องรับรักษาเป็นพิเศษสำหรับโรคติดยาหรือติดสุรา,ความผิดปกติทางอารมณ์·พฤติกรรม·พัฒนาการ, เหยื่อความรุนแรงทางเพศ·การทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ เข้ารับการรักษาในสถาบันบำบัดมืออาชีพหรือเข้ามายังสถานพักฟื้น
· ดำเนินมาตรการที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับเลี้ยงเด็ก
- ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดู
· ประเภทของครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูมีดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 14 วรรค 1.)
1. ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูที่เชี่ยวชาญ : ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูที่มีความเชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพโดยสามารถคุ้มครอง·เลี้ยงดูเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษในฐานะเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ, เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ฯลฯ
2. ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูทั่วไป : ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูที่มีจุดประสงค์คุ้มครอง·เลี้ยงดูเด็กที่ต้องการการคุ้มครองแต่ไม่มีคุณสมบัติตรงตามข้อที่ 1
3. ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูชั่วคราว : ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูที่มีจุดประสงค์คุ้มครอง·เลี้ยงดูเด็กเป็นระยะเวลาชั่วคราว
· บุคคลที่ต้องการรับเลี้ยงหรือเป็นครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูจะต้องยื่นขอการคุ้มครอง·เลี้ยงดูเด็กที่ต้องการการคุ้มครองต่อนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตที่ควบคุมดูแลในพื้นที่เขตที่อยู่อาศัยของเด็กที่ต้องการการคุ้มครอง(「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 14 วรรค 2).
· นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตที่ได้รับคำร้อง จะต้องตัดสินใจเลือกครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูตามที่กฎกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการกำหนดไว้ และจะต้องรีบนำความจริงนั้นไปรายงาน (รวมถึง รายงานในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์) ให้แก่ผู้ยื่นขอกับหัวหน้าสถาบันสวัสดิภาพเด็ก (เฉพาะกรณีกำลังคุ้มครองเด็กที่ต้องการรับการคุ้มครองอยู่) และหัวหน้าศูนย์ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดู (「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 14 วรรค 3).
· นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ จะต้องได้รับการอนุญาตจากบุคคลที่ต้องการเป็นครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูของเด็ก เพื่อทำการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของพวกเขา (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 9).
· หัวหน้าสำนักงานสิทธิเด็ก หรือหัวหน้าศูนย์ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูมาตรา 48 สามารถขอความร่วมมือจากนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตสำหรับมาตรการยืนยันตัวตนของเด็กอุปถัมภ์, บุคคลที่ต้องการเป็นครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูของเด็ก หรือผู้ปกครองของเด็กที่รับอุปถัมภ์ ฯลฯ โดยนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตที่ได้รับการร้องขอจะต้องตอบกลับเว้นแต่จะไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 10 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 21 วรรค 1).
- พาเข้าสถาบันสวัสดิภาพเด็ก ฯลฯ
· กรณีนายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต ต้องการใช้มาตรการป้องกันตามวรรค 1 จะต้องคุ้มครองโดยวางแผนคุ้มครอง·จัดการเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับเด็กที่ต้องการการคุ้มครองตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ โดยสามารถให้ผู้ปกครองที่ได้รับสิทธิการคุ้มครองมีส่วนร่วมในการวางแผนนั้น (「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 4).
1. แผนมาตรการป้องกันตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 1
2. แผนส่งเสริมเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
3. รายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดใน「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 11(2)
· กรณีดำเนินมาตรการพาเข้าสถาบันสวัสดิภาพเด็ก ฯลฯ นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอจะต้องเคารพเจตจำนงของเด็กที่ต้องการการคุ้มครอง โดยในกรณีที่มีผู้ปกครอง จะต้องฟังความคิดเห็นของพวกเขาด้วยเช่นกัน (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 5).
- การคุ้มครองชั่วคราว
· กรณีดำเนินมาตรการคุ้มครอง นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอพบว่าจำเป็นต้องคุ้มครองเด็กโดยการนำเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเข้าไปยังสถานคุ้มครองเด็กชั่วคราว, สามารถให้กับครอบครัวอุปถัมภ์ที่เหมาะสมหรือบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมสำหรับการคุ้มครอง โดยในกรณีต่อไปนี้ ในช่วงระยะเวลาคุ้มครองควรมีการให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพ ตรวจทางจิตวิทยา และการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่บ้านสำหรับเด็กที่ได้รับการคุ้มครองจากนั้นนำผลตรวจนั้นมาพิจารณากับมาตรการการคุ้มครอง (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 6).
1. กรณีพบข้อสงสัยเกี่ยวกับการโดนทารุณกรรมอย่างรุนแรง การทารุณกรรมซ้ำในช่วงระหว่างลงพื้นที่สอบสวนในสถานที่จริง สำหรับเด็กที่ได้รับการรายงานถึงการทารุณกรรมเด็ก 2 ครั้งขึ้นไปภายใน 1 ปี
2. กรณีไม่ได้ร้องขอมาตรการฉุกเฉินสำหรับเด็กตาม 「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 12 หรือมาตรการชั่วคราวมาตรา 15 กฎหมายเดียวกัน และกรณีมาตรการฉุกเฉินชั่วคราวตามมาตรา 13 กฎหมายเดียวกันจะถือว่าสิ้นสุดลง จนกว่าจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 1
3. กรณีผู้ปกครองของเด็กทำให้เด็กปฏิเสธ·หลีกเลี่ยงการตอบคำถาม หรือทำให้เด็กพูดเท็จ หรือรวบกวนการตอบคำถามนั้นในระหว่างสอบสวนเมื่อลงพื้นที่
4. กรณีอื่น ๆ ที่นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตเห็นชอบว่ามีความจำเป็นในการคุ้มครองเด็กเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการออกมาตรการคุ้มครองตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 15 วรรค 1 ข้อ 3 ถึง ข้อ 6
มาตรการชั่วคราว และมาตรการฉุกเฉินชั่วคราวเกี่ยวกับผู้ทารุณกรรมเด็ก
มาตรการชั่วคราว
- มาตรการชั่วคราวเกี่ยวกับผู้ทารุณกรรมเด็ก
· กรณีผู้พิพากษาเห็นว่าจำเป็นจะต้องสอบสวน·ตรวจสอบจิตวิทยาของอาชญากรรมทารุณกรรมเด็กให้ผ่านไปอย่างราบรื่น หรือจำเป็นต้องคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ สามารถตัดสินใจและดำเนินมาตรการ (ต่อไปนี้เรียกว่า "มาตรการชั่วคราว") กับอาชญากรรมทารุณกรรมเด็กได้ตามมาตรการดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 19 วรรค 1).
1. การกักกัน เช่น ออกจากที่อยู่อาศัย ฯลฯ ของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ หรือสมาชิกในครอบครัว (หมายถึง สมาชิกครอบครัวตาม「พระราชบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษอาชญกรรมในครอบครัว ฯลฯ」 มาตรา 2 ข้อ 2)
2. ห้ามมิให้เข้าถึงตัวภายใน 100 เมตรจากเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ หรือที่อยู่ โรงเรียน หรือสถานคุ้มครองของสมาชิกในครอบครัว
3. ห้ามมิให้เข้าถึงผ่านการใช้โทรคมนาคมเทคโนโลยีต่าง ๆ ติดต่อกับเด็กที่จกเป็นเหยื่อ ฯลฯ หรือสมาชิกในครอบครัว
4. จำกัดหรือระงับการใช้สิทธิความเป็นผู้ปกครองหรือผู้อุปถัมภ์
5. มอบหมายฝากให้หน่วยงานคุ้มครองเด็กคอยให้ปรึกษาและอบรม
6. มอบหมายฝากให้กับสถาบันการแพทย์หรือสถานบริการเลี้ยงดูอื่น ๆ
7. ควบคุมตัวกักขังในสถานกักกันสถานีตำรวจ หรือเรือนจำ
· ข้อ 1. ~ 4. ข้างต้น ผู้ทารุณกรรมเด็กที่ไม่ถูกดำเนินการตามมาตรการชั่วคราว บุคคลนั้นจะถูกจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20 ล้านวอน หรือกักขัง(「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 59 วรรค 1 ข้อ 1).
- มาตรการฉุกเฉินชั่วคราวเกี่ยวกับผู้ทารุณกรรมเด็ก
· เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการ เมื่อพบว่าอาชญากรรมทารุณกรรมเด็กมีความเสี่ยงว่าจะก่อเหตุขึ้นอีกครั้ง แม้ว่าจะมีมาตรการฉุกเฉินสำหรับเด็กที่ตกเป็นเหยื่อรองรับ และยังไม่สามารถรับคำตัดสินของศาลเกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวถึงแม้ต้องการอย่างเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ตำรวจตุลาการสามารถดำเนินมาตรการตามข้อใดข้อหนึ่งตั้งแต่ข้อ 1. ถึง 3. ข้างต้น (ต่อไปนี้เรียกว่า “มาตรการฉุกเฉินชั่วคราว”) ตามสิทธิอำนาจหรือยื่นขอของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ, ตัวแทนทางกฎหมายนั้น (ยกเว้น ผู้ทารุณกรรมเด็ก), ทนาย (หมายถึง ทนายตาม「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 16, และยกเว้น「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 48 และมาตรา 49), นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด, นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต หรือหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็ก (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 13 วรรค 1).
· กรณีไม่ดำเนินการตามมาตรการฉุกเฉินชั่วคราวโดยไร้ซึ่งเหตุผลที่เหมาะสม บุคคลนั้นจะถูกปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 63 วรรค 1 ข้อ 4).