การแจ้งรายงานการทารุณกรรมเด็ก
การแจ้งรายงาน
- ในกรณีที่ใครก็ตามทราบหรือสงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็ก สามารถแจ้งเหตุต่อเมืองพิเศษ·เมืองใหญ่·นคร·จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ·จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ, เมือง·อำเภอ·เขตหรือหน่วยสืบสวนสอบสวนกลางได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 10 วรรค 1).
ผู้มีหน้าที่แจ้งรายงาน
- กรณีบุคคลที่ตกอยู่ภายใต้ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ทราบหรือสงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็กในขณะปฏิบัติหน้าที่ บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องแจ้งรายงานต่อเมืองพิเศษ·เมืองใหญ่·นคร·จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ·จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ, เมือง·อำเภอ·เขตหรือหน่วยสืบสวนสอบสวนกลาง (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 10 วรรค 2).
· หัวหน้ากับผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานสิทธิเด็กและศูนย์ครอบครัวอุปถัมภ์เลี้ยงดูตาม「พระราชบัญญัติสวัสดิภาพเด็ก」 มาตรา 10(2)
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของสถาบันสวัสดิภาพเด็ก(ยกเว้นหัวหน้าหน่วยงานคุ้มครองเด็กกับผู้ปฏิบัติงานนั้น)
· ข้าราชการที่ดูแลสวัสดิภาพเด็ก
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและสถานคุ้มครองผู้เสียหายจากความรุนแรงในครอบครัว
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ส่งเสริมครอบครัวที่ดี
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ส่งเสริมครอบครัวหลายวัฒนธรรม
· ข้าราชการที่ดูแลสวัสดิการสังคม และหัวหน้ากับผู้ปฏิบัติงานที่สถาบันสวัสดิการสังคม
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของสถาบันส่งเสริมเสียหายจากการค้าประเวณี ฯลฯ และศูนย์ให้คำปรึกษาเหยื่อการค้าประเวณี
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ให้คำปรึกษาด้านความรุนแรงทางเพศ, สถานคุ้มครองเหยื่อความรุนแรงทางเพศ กับหัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ส่งเสริมเหยื่อความรุนแรงทางเพศแบบบูรณาการ
· เจ้าหนาที่ของรถพยาบาล 119
· บุคลากรฉุกเฉินที่ทำงานในสถาบันการแพทย์แผนฉุกเฉิน
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ครอบคลุมส่งเสริมการดูแลเด็ก กับเจ้าหน้าที่ดูแลเด็ก เช่น ผู้อำนวยการสถานรับเลี้ยงเด็ก ฯลฯ
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียนอนุบาล
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานคุ้มครองเด็ก
· หัวหน้าสถาบันการแพทย์ กับบุคลากรทางการแพทย์และนักเทคนิคการแพทย์ที่ทำงานในสถาบันการแพทย์นั้น
· หัวหน้าของสถาบันสวัสดิการคนพิการ และบุคคลที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา·รักษา·ฝึกอบรมหรือพักฟื้นสำหรับเด็กพิการ ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานของสถาบันนั้น
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์สวัสดิการสุขภาาพจิต, องค์กรจิตเวช, สถานบริการสุขภาพจิต และสถาบันฟื้นฟูทางจิต
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของสิ่งสถาบันเยาวชนและองค์กรเยาวชน
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของศูนย์คุ้มครอง·ฟื้นฟูเยาวชน
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของโรงเรียน
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของสถานสงเคราะห์ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
· ผู้บริหาร·ผู้สอน·พนักงานของโรงเรียนกวดวิชา และผู้ฝึกอบรม·พนักงานของสถานที่ฝึกอบรม
· พี่เลี้ยงดูแลเด็ก
· บุคลากรที่ดำเนินการส่งเสริมบริการแบบบูรณาการเกี่ยวกับเด็กที่อยู่ในชนชั้นอ่อนแอ
· หัวหน้าและผู้ปฏิบัติงานของสถานสงเคราะห์รับเลี้ยงเด็ก
· บุคคลที่เป็นประธาน หรือพนักงานของ ศูนย์การส่งเสริมการดูแลเด็กแห่งเกาหลี 「กฎหมายเกี่ยวกับการรับเลี้ยงและดูแลเด็ก」มาตรา 8 ซึ่งดำเนินงานประเมินโรงเรียนอนุบาลตาม「กฎหมายเกี่ยวกับการรับเลี้ยงและดูแลเด็ก」มาตรา 30
- กรณีมีการแจ้งรายงาน และหากไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม เมือง·จังหวัด, เมือง·อำเภอ·เขตหรือหน่วยสืบสวนสอบสวนกลาง จะต้องสอบสวนและดำเนินการทันที (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 10 วรรค 4).
- บทลงโทษสำหรับการละเมิด
· กรณีผู้มีหน้าที่แจ้งไม่ได้รายงานการทารุณกรรมเด็กโดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม จะมีโทษปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 63 วรรค 1 ข้อ 2).
ข้อห้ามของมาตรการที่ไม่เป็นธรรมสำหรับผู้แจ้งรายงาน
- ห้ามมิให้ผู้ใดก็ตามดำเนินมาตรการที่ไม่เป็นธรรมด้วยเหตุผลการแจ้งรายงานการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ ต่อผู้แจ้งรายงานอาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 10(2)).
การฟ้องร้องผู้ทารุณกรรมเด็ก
ผู้ยื่นฟ้อง
- บุคคลที่ตรงตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ สามารถฟ้องผู้ทารุณกรรมเด็กได้ (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 10(4) วรรค 1).
· เด็กที่ตกเป็นเหยื่อจากการทารุณกรรมเด็ก
· ตัวแทนทางกฎหมายของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อจากการทารุณกรรมเด็ก
· ญาติพี่น้องของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อจากการทารุณกรรมเด็ก (กรณีที่ตัวแทนทางกฎหมายของเด็กที่ตกเป็นเหยื่อเป็นผู้ทารุณกรรมเด็ก หรือกรณีเป็นอาชญากรรมทารุณกรรมเด็กร่วมกับผู้ทารุณกรรมเด็ก )
- กรณีเด็กที่ตกเป็นเหยื่อไม่มีตัวแทนทางกฎหมายหรือญาติพี่น้องที่จะฟ้องร้องได้ หากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยื่นเรื่องให้แทน อัยการจะต้องกำหนดบุคคลที่สามารถยื่นฟ้องได้ภายใน 10 วัน (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 10(4) วรรค 3)
ข้อยกเว้นเกี่ยวกับข้อจำกัดของการฟ้องร้อง
- ถึงแม้ว่าไม่สามารถฟ้องร้องเครือญาติของตนเองหรือคู่สมรสตามที่มีระบุไว้ใน「ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา」 มาตรา 224, บุคคลนั้นสามารถฟ้องร้อง ในกรณีเครือญาติของตนเองหรือคู่สมรสเป็นผู้ทารุณกรรมเด็กในอาชญากรรมทารุณกรรมเด็ก (「พระราชบัญญัติพิเศษด้านการลงโทษอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก ฯลฯ」 มาตรา 10(4) วรรค 2).