THAI

เหยื่อและผู้ก่อเหตุที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการได้รับบาดเจ็บ
การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา (การยื่นอุทธรณ์ขั้นสุดท้าย)
หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาในการพิจารณาคดีครั้งที่สอง เขา/เธออาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้ (มาตรา 371 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ การยื่นอุทธรณ์โดยตรง
- หากเข้าข่ายในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ จำเลยอาจละเว้นการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาชั้นต้นและยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง (มาตรา 372 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากไม่มีการนำกฎหมายและข้อบังคับมาบังคับใช้กับข้อเท็จจริงที่อยู่ในการพิจารณาคดีของศาลเดิม หรือหากกฎหมายและข้อบังคับถูกนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง
· หากคำพิพากษานั้นถูกยกเลิก แก้ไข หรือได้รับการอภัยโทษภายหลังคำพิพากษาของศาลเดิม
- การยื่นอุทธรณ์โดยตรงจะไม่มีผลบังคับใช้ หากเคยมีการยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้ไปก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม การยื่นอุทธรณ์โดยตรงจะมีผลบังคับใช้อยู่ หากเคยมีคำตัดสินออกมาว่าให้เพิกถอนหรือยกคำร้องต่อการยื่นอุทธรณ์ก่อนหน้านี้ (มาตรา 373 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
เหตุผลในการยื่นอุทธรณ์
- หากเข้าข่ายในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา เรื่องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ (มาตรา 383 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากมีการฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ, กฎหมาย, คำสั่ง หรือระเบียบข้อบังคับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคำพิพากษา
· หากคำพิพากษานั้นถูกยกเลิก แก้ไข หรือได้รับการอภัยโทษภายหลังคำพิพากษา
· หากมีเหตุผลในการยื่นขอพิจารณาคดีใหม่
· หากความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงส่งผลต่อคำพิพากษาของคดีที่เกี่ยวข้องกับโทษประหารชีวิต, จำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกหรือจำคุกโดยไม่ต้องใช้แรงงานเกินกว่า 10 ปี หรือหากมีเหตุผลที่สมควรเชื่อได้ว่า การตัดสินบทลงโทษนั้นไม่ยุติธรรมอย่างร้ายแรง
การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
- ระยะเวลาและวิธีการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
· บุคคลที่ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาจะต้องยื่นอุทธรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลเดิม ภายในเจ็ดวันหลังจากที่ศาลอุทธรณ์ประกาศคำพิพากษา (มาตรา 374 และ 375 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ในกรณีที่การยื่นอุทธรณ์เป็นการละเมิดขั้นตอนทางกฎหมายอย่างเห็นได้ชัด หรือหากยื่นคำร้องหลังจากที่สิทธิในการอุทธรณ์หมดอายุไปแล้ว ในกรณีนี้ ศาลเดิมอาจตัดสินใจยกฟ้องการยื่นอุทธรณ์ และจำเลยอาจยื่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้ได้ทันที (มาตรา 376 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- คำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์และคำตอบรับเป็นลายลักษณ์อักษร
· ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือทนายความของผู้ยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นคำชี้แจงการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาภายใน 20 วันหลังได้รับแจ้งจากศาล เรื่องการรับบันทึกข้อมูลคดี (ส่วนหน้าของมาตรา 379 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ในกรณีที่จำเลยในเรือนจำหรือสถานกักขังยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้คุมเรือนจำหรือสถานกักกัน หรือผู้แทนของผู้คุมภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ส่วนหลังของมาตรา 379 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· ศาลฎีกาที่ได้รับคำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์จะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้แจงหรือสำเนาคำชี้แจงที่ได้รับการรับรองไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง จากนั้น คู่กรณีจะต้องส่งคำตอบรับเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังศาลฎีกาภายใน 10 วันหลังจากได้รับคำชี้แจงดังกล่าว (มาตรา 379 วรรค 3 และ 4 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ศาลฎีกาจะตัดสินใจยกคำร้องการยื่นอุทธรณ์ หากผู้ยื่นอุทธรณ์หรือทนายความของผู้ยื่นอุทธรณ์ไม่สามารถยื่นคำชี้แจงได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การตัดสินข้างต้นจะไม่นำมาใช้ในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควร เช่น มีการใช้อำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการเพื่อสอบสวนการยื่นอุทธรณ์ดังกล่าว หรือมีเหตุผลตามที่ระบุไว้ในคำยื่นอุทธรณ์ (มาตรา 380 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ในกรณีที่เหตุผลซึ่งระบุไว้ในคำยื่นอุทธรณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรและคำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์ ไม่ได้เข้าข่ายในเหตุผลที่อนุญาตให้อุทธรณ์ได้ ในกรณีนี้ ศาลฎีกาจะตัดสินยกคำร้องอุทธรณ์ (มาตรา 380 วรรค 2 และมาตรา 383 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
คำพิพากษาศาลฎีกา
- ศาลฎีกาจะตัดสินว่า เหตุผลที่ระบุในคำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากจำเลยยื่นอุทธรณ์ด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ ศาลฎีกาอาจตัดสินคำอุทธรณ์โดยใช้อำนาจรัฐที่มี ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ระบุเหตุผลดังกล่าวไว้ในคำชี้แจงของการยื่นอุทธรณ์ก็ตามที (มาตรา 384 และมาตรา 383 วรรค 1 ถึง 3 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากมีการฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ, กฎหมาย, คำสั่ง หรือระเบียบข้อบังคับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคำพิพากษา
· หากคำพิพากษานั้นถูกยกเลิก แก้ไข หรือได้รับการอภัยโทษภายหลังคำพิพากษา
· หากมีเหตุผลในการยื่นขอพิจารณาคดีใหม่
- หากมีเหตุผลในการยื่นอุทธรณ์ ศาลฎีกาจะตัดสินให้เพิกถอนคำพิพากษาของศาลเดิม (มาตรา 391 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- ในกรณีที่ศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาของศาลเดิม ในกรณีนี้ ศาลฎีกาอาจพิพากษาคดีด้วยตนเองได้ หากเห็นว่าสมควรที่จะพิพากษาคดีใหม่ตามบันทึกข้อมูลคดีและหลักฐานที่ตรวจสอบโดยศาลเดิมและศาลชั้นต้น (มาตรา 369 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- หากเหตุผลในการยกเลิกคำพิพากษาเดิมไม่เข้าข่ายกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ศาลฎีกาจะสั่งส่งคดีกลับคืนสู่ศาลเดิมหรือศาลอื่นที่เทียบเท่ากับศาลเดิม (มาตรา 397 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากศาลฎีกาส่งคำพิพากษาในคดีกลับคืนสู่ศาลเดิมหรือศาลชั้นต้น เนื่องจากศาลที่เกี่ยวข้องยกฟ้องตามกฎหมาย
· หากศาลฎีกาโอนคำพิพากษาของศาลเดิมหรือศาลชั้นต้นไปยังศาลที่มีอำนาจ เนื่องจากการอนุมัติคำพิพากษาของศาลที่มีอำนาจนั้นละเมิดกฎหมาย
· หากคดีถูกส่งกลับไปยังศาลเดิมหรือศาลชั้นต้น โดยยอมรับว่า การละเมิดของศาลที่มีอำนาจนั้นขัดต่อกฎหมาย
· หากศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาของศาลเดิมและไม่พิพากษาตัดสินเอง
ห้ามเปลี่ยนคำตัดสินให้เสียเปรียบ
- ในกรณีที่จำเลยหรือทนายความของจำเลยเป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์ ไม่ใช่พนักงานอัยการ ในกรณีนี้ ศาลจะไม่กำหนดบทลงโทษที่หนักกว่าที่เคยประกาศไว้ในการพิจารณาคดีครั้งแรก (มาตรา 396 วรรค 2 และมาตรา 368 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)