THAI

เหยื่อและผู้ก่อเหตุที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการได้รับบาดเจ็บ
การยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ที่มีอำนาจ
- ในกรณีที่จำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาในศาลชั้นต้น สำหรับคำพิพากษาที่ตัดสินโดยอิสระในชั้นของศาลแขวงนั้น จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ต่อไปยังองค์คณะของศาลแขวงได้ สำหรับคำพิพากษาโดยองค์คณะของศาลแขวงนั้น จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลสูงได้ (มาตรา 357 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
เหตุผลในการยื่นอุทธรณ์
- หากเข้าข่ายในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ จำเลยอาจยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลเดิมต่อศาลในชั้นที่สูงขึ้นได้ (มาตรา 361-5 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากมีการฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ, กฎหมาย, คำสั่ง หรือระเบียบข้อบังคับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคำพิพากษา
· หากคำพิพากษานั้นถูกยกเลิก แก้ไข หรือได้รับการอภัยโทษภายหลังคำพิพากษา
· หากการยอมรับเขตอำนาจศาลหรือการละเมิดเขตอำนาจศาลนั้นเป็นการละเมิดกฎหมาย
· หากองค์กรของศาลที่พิพากษาได้กระทำการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
· หากผู้พิพากษามีส่วนในการพิจารณาคดีอย่างผิดกฎหมาย
· หากผู้พิพากษาที่ไม่ได้เข้ารับฟังในคดี มีส่วนในการพิจารณาคดี
· หากฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการเปิดเผยคดีต่อสาธารณะ
· หากไม่มีเหตุผลในการตัดสินคดีดังกล่าวหรือหากเหตุผลขัดแย้งกัน
· หากมีเหตุผลในการยื่นขอพิจารณาคดีใหม่
· หากความเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงส่งผลต่อการตัดสิน
· หากมีเหตุผลให้พิจารณาได้ว่า คำตัดสินนั้นไม่ยุติธรรม
การยื่นอุทธรณ์
- ระยะเวลาและวิธีการยื่นอุทธรณ์
· บุคคลที่ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์จะต้องยื่นอุทธรณ์เป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลเดิม ภายในเจ็ดวันหลังจากประกาศคำพิพากษาในการพิจารณาคดีชั้นต้น (มาตรา 358 และ 359 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ในกรณีที่การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวละเมิดขั้นตอนทางกฎหมาย หรือยื่นอุทธรณ์หลังจากหมดสิทธิยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว ในกรณีนี้ ศาลเดิมจะตัดสินให้ยกฟ้องคำยื่นอุทธรณ์ดังกล่าว หากศาลเดิมไม่ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์จะตัดสินเรื่องนี้แทน จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้ได้ทันที (มาตรา 360 และ 362 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ คำจำกัดความของศัพท์ทางกฎหมาย
การยื่นอุทธรณ์ทันที: การยื่นอุทธรณ์ทันทีสามารถยื่นได้ภายในสามวัน เนื่องจากว่ายังอยู่ในช่วงรอดำเนินการตามคำตัดสิน ดังนั้น การดำเนินการตามคำตัดสินครั้งแรกจึงถูกระงับ ในระหว่างขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์หรือเมื่อมีการยื่นอุทธรณ์ไปแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ทันทีได้รับการรับรองทางกฎหมายว่าส่งผลให้ระงับการดำเนินการตามคำพิพากษา และเอื้อประโยชน์ต่อการคัดค้านคำพิพากษาของศาลเดิม นอกจากนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้การพิจารณาคดีถูกเลื่อนไปในระยะยาวอย่างไม่เป็นธรรมโดยจำกัดระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ให้มีระยะสั้นเท่านั้น
- คำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์และคำตอบรับเป็นลายลักษณ์อักษร
· ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือทนายความของผู้ยื่นอุทธรณ์จะต้องยื่นคำชี้แจงการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภายใน 20 วันหลังได้รับแจ้งการรับเรื่องบันทึกข้อมูลคดี (ส่วนหน้าของมาตรา 361-3 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ในกรณีที่จำเลยในเรือนจำหรือสถานกักขังยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้คุมเรือนจำหรือสถานกักกัน หรือผู้แทนของผู้คุมภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ในกรณีนี้ ให้ถือว่าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ส่วนหลังของมาตรา 361-3 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· ศาลอุทธรณ์ที่ได้รับคำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์จะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้แจงหรือสำเนาคำชี้แจงที่ได้รับการรับรองไปยังคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง จากนั้น คู่กรณีจะต้องส่งคำตอบรับเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังศาลอุทธรณ์ภายใน 10 วันหลังได้รับคำชี้แจงดังกล่าว (มาตรา 361-3 วรรค 2 และ 3 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ในกรณีที่ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือทนายความของผู้ยื่นอุทธรณ์ไม่สามารถยื่นคำชี้แจงอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ ในกรณีนี้ ศาลอุทธรณ์จะยกฟ้องการยื่นอุทธรณ์นั้น (เว้นแต่มีความจำเป็นในขั้นตอนการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือมีเหตุผลของการยื่นอุทธรณ์ที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นอุทธรณ์เป็นลายลักษณ์อักษร) ผู้ยื่นอุทธรณ์อาจยื่นอุทธรณ์คำตัดสินนี้ในทันที (มาตรา 361-4 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
- ศาลอุทธรณ์จะตัดสินโดยพิจารณาตามเหตุผลที่ระบุไว้ในคำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์ ถึงแม้ว่าเหตุผลที่ส่งผลต่อการพิพากษาตัดสินจะไม่รวมอยู่ในคำชี้แจงในการยื่นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ก็อาจตัดสินโดยใช้อำนาจอย่างเป็นทางการของตนได้ (มาตรา 364 วรรค 1 และ 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- ศาลอุทธรณ์จะตัดสินให้ยกฟ้องการยื่นอุทธรณ์ หากพิจารณาแล้วเห็นว่า การยื่นอุทธรณ์ไม่สมเหตุสมผล (มาตรา 364 วรรค 4 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า การยื่นอุทธรณ์นั้นสมเหตุสมผล ศาลจะสั่งยกเลิกคำพิพากษาของศาลเดิมและตัดสินคดีใหม่ (มาตรา 364 วรรค 6 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
ห้ามเปลี่ยนคำตัดสินให้เสียเปรียบ
- ในกรณีที่จำเลยหรือทนายความของจำเลยเป็นฝ่ายยื่นอุทธรณ์ ไม่ใช่พนักงานอัยการ ในกรณีนี้ ศาลจะไม่กำหนดบทลงโทษที่หนักกว่าที่เคยประกาศไว้ในการพิจารณาคดีครั้งแรก (มาตรา 368 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)