THAI

เหยื่อและผู้ก่อเหตุที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการได้รับบาดเจ็บ
การคุมขังจำเลย
คำฟ้องระหว่างการคุมขัง
- “คำฟ้องระหว่างการคุมขัง” หมายถึง การที่อัยการยื่นฟ้องในขณะที่ผู้ต้องสงสัยถูกคุมขังอยู่ ในกรณีนี้ จำเลยจะถูกดำเนินคดีในขณะที่ถูกจับกุมหรือถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ ฯลฯ
เหตุผลในการคุมขัง
- ศาลอาจคุมขังจำเลยหากมีเหตุผลอันสมควรที่จะสงสัยว่า จำเลยได้ก่ออาชญากรรมจริง หรือหากจำเลยเข้าข่ายในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (มาตรา 70 วรรค1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากจำเลยไม่มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
· หากจำเลยอาจทำลายหลักฐาน
· หากจำเลยพยายามหลบหนีหรืออาจพยายามหลบหนี
- เมื่อผ่านการคัดกรองด้วยเหตุผลในการคุมขังแล้ว ศาลจะพิจารณาถึงระดับความรุนแรงของอาชญากรรม, ความเสี่ยงที่จะกระทำผิดซ้ำสอง, ความเสี่ยงที่จะทำร้ายเหยื่อและพยานหลัก (มาตรา 70 วรรค 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- สำหรับคดีที่มีการปรับน้อยกว่า 500,000 วอนหรือมีบทลงโทษด้วยการกักขังหรือจ่ายค่าปรับ จำเลยจะไม่ถูกคุมขังเว้นแต่เขา/เธอไม่มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม (มาตรา 70 วรรค 3 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
วิธีคุมขังจำเลย
- การออกหมายจับและดำเนินการตามหมายจับ
· ศาลจะออกหมายจับเพื่อคุมขังจำเลย (มาตรา 73 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· เจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายคดีจะดำเนินการตามหมายจับตามที่พนักงานอัยการสั่ง อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษาที่ได้รับมอบหมาย หรือผู้พิพากษาที่ได้รับมอบอำนาจ อาจสั่งการให้ดำเนินการตามหมายจับได้ หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน (มาตรา 81 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ตามคำสั่งของพนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่เรือนจำจะดำเนินการตามหมายจับที่ออกเพื่อคุมขังจำเลยอยู่ในคุกหรือเรือนจำ (มาตรา 81 วรรค 3 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· ให้ผู้ดำเนินการตามหมายจับแสดงและมอบสำเนาให้จำเลยก่อนดำเนินการตามหมายจับ และรีบนำตัวจำเลยไปยังศาลหรือสถานที่อื่นที่กำหนดโดยเร็ว (มาตรา 85 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ ผู้ดำเนินการตามหมายจับอาจจับกุมจำเลยได้หากจำเป็น แม้ว่าจะไม่มีหมายจับก็ตาม ในกรณีนี้ ให้บุคคลดังกล่าวแจ้งให้จำเลยทราบข้อมูลสรุปการฟ้องร้องดำเนินคดีและการออกหมายจับก่อนดำเนินการ หลังดำเนินการดังกล่าวแล้ว บุคคลนั้นจะต้องแสดงสำเนาหมายจับโดยทันทีและมอบสำเนานั้นให้แก่จำเลย (มาตรา 85 วรรค 3 และ 4 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากจำเลยไม่ได้หลบหนี ให้ผู้ดำเนินการตามหมายจับแจ้งข้อมูลสรุปอาชญากรรม, เหตุผลในการคุมขัง และสิทธิในการแต่งตั้งทนายความก่อนคุมขังจำเลย (มาตรา 72 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- การแจ้งการคุมขัง ฯลฯ
· ผู้ดำเนินการตามหมายจับต้องจัดทำเอกสารที่มีการแจ้งชื่อคดี วันที่ และสถานที่คุมขัง, ข้อมูลสรุปที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม, เหตุผลในการกักขัง และวัตถุประสงค์ที่ให้จำเลยสามารถแต่งตั้งทนายความได้ ผู้ดำเนินการตามหมายจับจะต้องแจ้งข้อเท็จจริงนี้แก่ทนายความของจำเลยที่ถูกคุมขัง (ถ้ามี) หากยังไม่ได้แต่งตั้งทนายความ ให้ผู้ดำเนินการตามหมายจับ แจ้งผู้มีสิทธิแต่งตั้งทนายความตามมาตรา 30 วรรค 2 ของ「พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」 ซึ่งจำเลยเป็นผู้เลือกเอง (มาตรา 87 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· ผู้ดำเนินการตามหมายจับจะต้องแจ้งให้จำเลยทราบข้อมูลการฟ้องร้องดำเนินคดีในทันที (มาตรา 88 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ อย่างไรก็ตาม การแจ้งให้จำเลยทราบก่อนที่จะกักขัง ในประเด็นที่เกี่ยวกับข้อมูลสรุปการฟ้องร้องดำเนินคดีและสิทธิในการแต่งตั้งทนายความนั้น อยู่ภายใต้ขั้นตอนหลังการไต่สวนคดี ดังนั้น การละเมิดภาระผูกพันข้างต้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการบังคับใช้หมายจับ (Supreme Court Decision No. 2000134 Decided November 10, 2000).
- ระยะเวลาคุมขัง
· โดยหลักการแล้ว ระยะเวลาคุมขังจำเลยคือ สองเดือน อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุผลจำเป็นเฉพาะกิจให้ต้องยืดระยะเวลาการคุมขังออกไป ช่วงเวลาดังกล่าวอาจได้รับการขยายได้สูงสุดสองครั้งเป็นเวลาสองเดือน ตามลำดับ ในการพิจารณาคดีในชั้นศาลแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่จะมีการยื่นอุทธรณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากผู้ต้องสงสัยหรือทนายความของผู้ต้องสงสัยยื่นคำร้องขอตรวจสอบหลักฐานและเอกสารที่ต้องมีการพิจารณาคดีเพิ่มเติม ในกรณีนี้ อาจต่ออายุระยะเวลาคุมขังได้ไม่เกินสามครั้ง (มาตรา 92 วรรค 1 และ 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· ระยะเวลาการคุมขังจะไม่รวมถึงระยะเวลาที่ถูกระงับไปเนื่องจากการพิจารณาคดี หรือระยะเวลาที่ใช้ในการจับกุม, จำคุก หรือการคุมขังก่อนยื่นฟ้อง (มาตรา 92 วรรค 3 ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
การยกเลิกการคุมขัง ฯลฯ
- อาจไม่มีเหตุผลที่จะคุมขังอีกต่อไปหรือเหตุผลดังกล่าวอาจหมดอายุความ ในกรณีนี้ ศาลอาจตัดสินใจยกเลิกการคุมขังโดยใช้อำนาจอย่างเป็นทางการหรือโดยการเรียกร้องของอัยการ, จำเลย, ทนายความ หรือผู้มีสิทธิแต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย (มาตรา 93 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- หากมีเหตุผลอันสมควร ศาลอาจระงับการคุมขังโดยให้จำเลยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของญาติ, องค์กรคุ้มครองหรือบุคคลที่เหมาะสมอื่นๆ หรือโดยการจำกัดพื้นที่ที่อยู่อาศัยของเขา/เธอ ภายหลังการฟังความเห็นของอัยการ อย่างไรก็ตาม ศาลอาจงดถามความเห็นของพนักงานอัยการ หากสถานการณ์มีความเร่งด่วน (มาตรา 101 วรรค 1 และ 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)