THAI

เหยื่อและผู้ก่อเหตุที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการได้รับบาดเจ็บ
ประเภทและเนื้อหาของมาตรการที่ไม่ฟ้อง
"มาตรการที่ไม่ฟ้อง" หมายถึงอะไร ?
- พนักงานอัยการใช้ “มาตรการที่ไม่ฟ้อง” เมื่อเขา/เธอตัดสินใจไม่ยื่นฟ้องในนามของภาครัฐ ประเภทของมาตรการไม่ฟ้องหมายรวมถึง การระงับคำฟ้อง, การปราศจากข้อสงสัยในการกระทำผิด, การเป็นผู้บริสุทธิ์, ไม่มีสิทธิในการฟ้องร้อง หรือการยกฟ้อง (ศัพท์ทางกฎหมายและคดีต่างๆ ที่รวบรวมโดย Ministry of Government Legislation และสถาบันวิจัยกฎหมายแห่งเกาหลี, 2003)
การระงับคำฟ้อง
- หากปรากฎว่า ผู้ต้องสงสัยได้ก่ออาชญากรรมที่น่าสงสัย แต่เหตุการณ์ต่อไปนี้ส่งผลให้ไม่จำเป็นที่ต้องมีการฟ้องร้อง พนักงานอัยการอาจ "ระงับคำฟ้อง" (มาตรา 69 วรรค 3 อนุวรรค 1 ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดีและมาตรา 51 「ของพระราชบัญญัติอาญา」)
· อายุ บุคลิกภาพ ความประพฤติ สติปัญญา และสภาพแวดล้อมของอาชญากร
· ความสัมพันธ์กับเหยื่อ
· แรงจูงใจ วิธีการ และผลลัพธ์ของอาชญากรรม
· สถานการณ์หลังการก่อเหตุอาชญากรรม
- ในกรณีที่อัยการระงับคำฟ้องของคดี นอกเสียจากความผิดเล็กน้อย อัยการต้องอบรมผู้ต้องสงสัยอย่างเข้มงวดและให้เขา/เธอเขียนคำมั่นว่าจะปรับปรุงอุปนิสัยเสียใหม่ (มาตรา 71 วรรค 1 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
- สำหรับผู้ต้องสงสัยที่เป็นเด็กและเยาวชน อัยการจะใช้มาตรการในการชี้แนะและคุ้มครองเมื่อมีการ “ระงับคำฟ้องเพื่อให้คำแนะนำ” (มาตรา 71 วรรค 3 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
ไม่มีการชะลอฟ้อง
- ไม่มีการชะลอฟ้อง (ไม่ถือเป็นอาชญากรรม)
· หากการกระทำของผู้ต้องสงสัยไม่ได้รับการจัดประเภทเป็นอาชญากรรมหรือไม่ยอมรับว่าเป็นอาชญากรรม อัยการจะสรุปให้เป็นคดีที่ "ไม่มีการชะลอฟ้อง (ไม่ถือเป็นอาชญากรรม)" (มาตรา 69 วรรค 3 อนุวรรค 2 รายการ A 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
- ไม่มีการชะลอฟ้อง (หลักฐานไม่เพียงพอ)
· หากไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุได้ว่า ผู้ต้องสงสัยได้ก่ออาชญากรรมจริง พนักงานอัยการจะสรุปให้เป็นคดีที่ “ไม่มีการชะลอฟ้อง (หลักฐานไม่เพียงพอ)” (มาตรา 69 วรรค 3 อนุวรรค 2 รายการ B 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
- หากอัยการสรุปคดีอาญาที่มีการกล่าวหาหรือแจ้งความให้เป็นคดีที่ "ไม่มีการชะลอฟ้อง" เขา/เธอจะต้องพิจารณาว่า ผู้กล่าวหาหรือผู้แจ้งข้อมูลมีความบริสุทธิ์ใจในการกล่าวหาหรือไม่ (มาตรา 70 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
ไม่ครบองค์ประกอบในฐานะอาชญากรรม
- ในกรณีที่การกระทำของผู้ต้องสงสัยเข้าข่ายว่าเป็นองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดอาชญากรรม แต่มีเหตุผลทางกฎหมายที่จะตีความได้ว่า องค์ประกอบดังกล่าวยังไม่เป็นอาชญากรรมโดยสมบูรณ์ ในกรณีนี้ อัยการจะสรุปคดีว่า “ไม่ครบองค์ประกอบในฐานะอาชญากรรม” (มาตรา 69 วรรค 3 อนุวรรค 3 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
- หากคดีอยู่ภายใต้เงื่อนไขของวรรคใดๆ ด้านล่างนี้ พนักงานอัยการจะสรุปคดีว่า "ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง" (มาตรา 69 วรรค 3 อนุวรรค 4 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
· หากคำพิพากษาของศาลเป็นที่สิ้นสุด
· หากมีการแจ้งว่าจำหน่ายคดีแล้ว
· หากยืนยันการจำหน่ายเพื่อการคุ้มครองแล้ว (ยกเว้นคดีที่ยกเลิกการจำหน่ายเพื่อการคุ้มครองซึ่งถูกส่งต่อไปยังสำนักงานอัยการ) ภายใต้「พระราชบัญญัติเยาวชน」, 「พระราชบัญญัติคดีพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษ ฯลฯ สำหรับอาชญากรรมความรุนแรงในครอบครัว」, 「พระราชบัญญัติว่าด้วยการปกป้องและคุ้มครองการค้าประเวณี ฯลฯ สำหรับเหยื่อ หรือพระราชบัญญัติคดีพิเศษเกี่ยวกับบทลงโทษ ฯลฯ สำหรับอาชญากรรมการทารุณกรรมเด็ก」
· หากได้รับการนิรโทษกรรม
· หากอายุความในการดำเนินคดีโดยภาครัฐสิ้นสุดแล้ว
· หากบทลงโทษถูกยกเลิกหลังจากสิ้นสุดคดีอาญา เนื่องจากการแก้ไขหรือการยกเลิกกฎหมาย
· หากได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมาย
· หากไม่มีเขตอำนาจศาลที่จะบังคับใช้อำนาจเหนือผู้ต้องสงสัยได้
· หากมีการยื่นฟ้องดำเนินคดีเดียวกันไปแล้ว (อย่างไรก็ตาม คดีอาจถูกฟ้องร้องเพิ่มได้หากพบหลักฐานสำคัญอื่นๆ)
· หากการฟ้องคดีเดียวกันถูกฟ้องหรือถูกยกเลิกไปแล้ว (อย่างไรก็ตาม คดีอาจถูกฟ้องร้องเพิ่มได้หากพบหลักฐานสำคัญอื่นๆ)
· หากยังไม่มีการกล่าวหาหรือแจ้งความใดๆ เลย หรือหากข้อกล่าวหาหรือการแจ้งความที่เคยเกิดขึ้นได้ถูกยกเลิกหรือทำให้เป็นโมฆะ สำหรับคดีอาชญากรรมที่มีการร้องเรียนจากเหยื่อหรือมีรายงานจากเจ้าหน้าที่ของรัฐมาก่อน
· สำหรับกรณีที่ไม่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาเนื่องจากมีผู้คัดค้าน หากเหยื่อแสดงเจตนาจะไม่เอาโทษกับผู้ก่อเหตุ หรือเจตนาของเหยื่อในการลงโทษผู้ก่อเหตุได้ถูกเพิกถอนแล้ว
· หากผู้ต้องสงสัยเสียชีวิตแล้ว หรือหากนิติบุคคล (ผู้ต้องสงสัย) ไม่มีชีวิตอีกต่อไป
การเพิกถอนคดี
- หากคดีเข้าข่ายในเงื่อนไขในวรรคใดๆ ด้านล่างนี้ พนักงานอัยการจะสรุปคดีว่า “ถูกเพิกถอน” (มาตรา 69 วรรค 3 อนุวรรค 5 「ของระเบียบว่าด้วยงานฟ้องร้องดำเนินคดี」)
· หากคำให้การของผู้กล่าวหาหรือผู้ให้ข้อมูลหรือคำแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรมีการระบุชัดเจนว่า ผู้ต้องสงสัยอยู่ในสถานะ "ไม่มีการชะลอฟ้อง" หรือคดี "ไม่ครบองค์ประกอบของคดีอาชญากรรม"
· หากบุคคลใดกล่าวหาหรือแจ้งความต่อบุพการีของตัวเองหรือคู่สมรสของเขา/เธอ (มาตรา 224 และ 235 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากบุคคลใดยื่นข้อกล่าวหาซ้ำอีกครั้งในคดีที่เคยถูกถอนฟ้องไปแล้ว (มาตรา 232 วรรค 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากอัยการสรุปว่า “ไม่ฟ้อง” ในคดีเดียวกัน (อย่างไรก็ตาม คดีจะไม่ถูกเพิกถอน หากผู้กล่าวหาหรือผู้ให้ข้อมูลพบหลักฐานสำคัญใหม่และขอคำอธิบายสำหรับประเด็นนั้น)
· หากถูกกล่าวหาโดยบุคคลอื่นนอกเหนือจากผู้มีสิทธิยื่นเรื่องร้องเรียน
· หากผู้กล่าวหาหรือผู้ให้ข้อมูลปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำขอให้มาพบเจ้าหน้าที่ หลังจากที่ได้ยื่นคำร้องหรือยื่นข้อกล่าวหาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือหากผู้กล่าวหาหรือผู้ให้ข้อมูลหายตัวไปและไม่สามารถให้การได้
· หากพิจารณาแล้วว่า ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกแจ้งความมีส่วนรับผิดชอบเล็กน้อยในคดี เมื่อพิจารณาถึงความร้ายแรงและรายละเอียดของคดีที่ถูกกล่าวหา/แจ้งความ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถูกกล่าวหา/ถูกแจ้งความกับบุคคลผู้กล่าวหาและแจ้งความ นอกจากนี้ ยังใช้ได้กับกรณีที่มีผลประโยชน์สาธารณะเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ไม่ควรค่าแก่การสอบสวนและดำเนินการ จึงพิจารณาได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวน
· หากไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมเพียงพอที่จะเริ่มดำเนินการสอบสวน ตัวอย่างมากมาย เช่น รายงานของสื่อที่ขาดความถูกต้อง, ข้อมูลเนื้อหาจากอินเทอร์เน็ต, โพสต์บนเว็บไซต์, รายงานจากบุคคลที่ไม่มีตัวตน, ข้อความหรือคำบอกเล่าจากบุคคลที่สามซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับคดีที่มีการรายงาน หรือหากผู้ให้ข้อมูลเพียงแค่รู้สึกสงสัย แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันในสมมติฐานของตนแต่อย่างใด