THAI

เหยื่อและผู้ก่อเหตุที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการได้รับบาดเจ็บ
การตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายในการกักขังหรือควบคุมตัว
คำจำกัดความของการตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของการกักขัง/ควบคุมตัว
- “การตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของการกักขัง/ควบคุมตัว” หมายถึง การที่ศาลตรวจคัดกรองว่า การกักขังผู้ต้องสงสัยนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากเห็นว่า การกักขังผู้ต้องสงสัยผิดกฎหมายหรือไม่ยุติธรรม ศาลจะสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยที่ถูกคุมขัง (ศัพท์ทางกฎหมายและคดีต่างๆ ที่รวบรวมโดย Ministry of Government Legislation และสถาบันวิจัยกฎหมายแห่งเกาหลี,2003)
การเรียกร้องให้ตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของการกักขัง/ควบคุมตัว
- บุคคลต่อไปนี้อาจเรียกร้องศาลที่มีอำนาจให้ตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายในการกักขังผู้ต้องสงสัยได้: ผู้ต้องสงสัยที่ถูกคุมขังหรือทนายความของเขา/เธอ, ตัวแทนทางกฎหมาย, คู่สมรส, ญาติที่สืบสายเลือดโดยตรง, พี่น้องแท้ๆ หรือสมาชิกในครอบครัว, ผู้ที่พักอาศัยอยู่ด้วยกันหรือนายจ้าง (มาตรา 214-2 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- พนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายคดีที่กักขังผู้ต้องสงสัย จะต้องแจ้งผู้ต้องสงสัยที่ถูกคุมขังและตรวจสอบผู้ร้องเรียนที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้ต้องสงสัยว่า มีสิทธิเรียกร้องให้มีการตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายในการกักขังได้หรือไม่ (มาตรา 214-2 วรรค 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
คำตัดสินของศาล
- ในกรณีที่ศาลถูกร้องขอให้ตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของการกักขังและได้พิจารณาว่า คำขอดังกล่าวไม่มีเหตุผลอันสมควร หลังจากที่ได้สอบปากคำผู้ต้องสงสัยที่ถูกคุมขังภายใน48 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำร้องและตรวจสอบเอกสารกับหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ในกรณีนี้ ศาลอาจเพิกถอนคำร้องได้ อย่างไรก็ตาม ศาลจะปล่อยตัวผู้ต้องสงสัย หากพิจารณาแล้วว่าคำขอดังกล่าวมีเหตุผลอันสมควร (มาตรา 241-2 วรรค 4 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ กระบวนการข้างต้นจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีการฟ้องร้องดำเนินคดีโดยภาครัฐต่อผู้ต้องสงสัย หลังจากมีการร้องขอให้มีการตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายของการกักขัง (มาตรา 214-2 วรรค 4 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- หากคำขอดังกล่าวเข้าข่ายในกรณีใดกรณีหนึ่งด้านล่างนี้ ศาลอาจตัดสินยกเลิกคำขอให้มีการทบทวนความถูกต้องตามกฎหมายของการกักขังได้ โดยไม่ต้องมีการสอบสวน (มาตรา 214-2 วรรค 3 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากคำร้องขอนั้นดำเนินการโดยบุคคลที่ไม่มีสิทธิร้องทุกข์หรือมีการยื่นเรื่องซ้ำสำหรับหมายจับเพื่อการกักขังเดียวกัน
· หากเป็นที่แน่ชัดว่า ผู้สมรู้ร่วมคิดหรือผู้ต้องสงสัยร่วมคดีเดียวกัน เป็นผู้ร้องขอให้มีการตรวจสอบในทันที เพื่อขัดขวางการสอบสวน
- ห้ามอุทธรณ์คำตัดสินของศาลข้างต้น (มาตรา 214-2 วรรค 8 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- หากผู้ต้องสงสัยที่ถูกคุมขังไม่ได้รับการแต่งตั้งทนายความ ศาลจะแต่งตั้งทนายฝ่ายจำเลยที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อให้แก่ผู้ต้องสงสัย (มาตรา 214-2 วรรค 10 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
ห้ามการกักขังซ้ำ
- หากผู้ต้องสงสัยไม่ได้หลบหนีหรือทำลายหลักฐานในการก่ออาชญากรรมหลังจากได้รับการปล่อยตัวตามคำตัดสินของศาลแล้ว ผู้ต้องสงสัยจะไม่ถูกกักขังในความผิดทางอาญาเดิมซ้ำอีก (มาตรา 214-3 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- หากผู้ต้องสงสัยซึ่งได้รับการปล่อยตัวภายใต้เงื่อนไขของการจ่ายเงินค้ำประกัน ไม่กระทำการที่เข้าข่ายในกรณีใดกรณีหนึ่งด้านล่างนี้ ผู้ต้องสงสัยจะไม่ถูกกักขังในความผิดทางอาญาเดิมซ้ำอีก (มาตรา 214-3 วรรค 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากผู้ต้องสงสัยหลบหนี
· หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ต้องสงสัยหลบหนีหรืออาจทำลายหลักฐาน
· หากผู้ต้องสงสัยปฏิเสธที่จะปรากฏตัวเพื่อสู้คดีในชั้นศาล โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหลังจากได้รับการเรียกตัว
· หากผู้ต้องสงสัยไม่มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม หรือหากเขา/เธอได้ฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ศาลกำหนด