THAI

เหยื่อและผู้ก่อเหตุที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและการได้รับบาดเจ็บ
การร้องทุกข์กล่าวโทษหรือการยื่นเรื่องร้องเรียน
คำจำกัดความของการร้องทุกข์กล่าวโทษ/การยื่นเรื่องร้องเรียน
- “การร้องทุกข์กล่าวโทษหรือการยื่นเรื่องร้องเรียน” หมายถึง การที่บุคคลได้แสดงเจตนาของเขา/เธอให้หน่วยงานสอบสวนลงโทษผู้ก่อเหตุ โดยใช้วิธีการรายงาน (ศัพท์ทางกฎหมายและคดีต่างๆ ที่รวบรวมโดย Ministry of Government Legislation และสถาบันวิจัยกฎหมายแห่งเกาหลี,2003)
บุคคลที่มีสิทธิยื่นเรื่องร้องเรียน
- บุคคลที่เข้าข่ายในคดีความรุนแรงหรือการบาดเจ็บใดๆ ต่อไปนี้ มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อหน่วยงานสอบสวน
· เหยื่อ (มาตรา 223 「ของพระราชบัญญัติอาญา」)
· ตัวแทนทางกฎหมายของเหยื่อ (มาตรา 225 วรรค 1 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· หากเหยื่อเสียชีวิต จะเป็นคู่สมรส, ญาติที่สืบสายเลือดโดยตรงหรือพี่น้องแท้ๆ ของเหยื่อ (มาตรา225 วรรค 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
· ญาติของเหยื่อ ในกรณีที่ตัวแทนทางกฎหมายของเหยื่อหรือญาติของตัวแทนทางกฎหมายของเหยื่อตกเป็นผู้ต้องสงสัยเสียเอง (มาตรา 226 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- ตัวแทนทางกฎหมายสามารถยื่นคำร้องในนามของเหยื่อได้ (มาตรา 236 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
ขั้นตอนการร้องทุกข์กล่าวโทษ/การยื่นเรื่องร้องเรียน
- บุคคลอาจยื่นคำร้องได้ โดยยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังพนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายคดี หรือเอ่ยโดยวาจาต่อหน้าพนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายคดี ในกรณีนี้ เจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายคดีจะตรวจสอบหนังสือร้องเรียนในทันที และส่งเอกสารกับหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังพนักงานอัยการ (มาตรา 237 วรรค 1 และมาตรา 238 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
- เจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายคดีอาจส่งข้อมูลหลักฐาน ใบรับรองแพทย์ ฯลฯ เพื่อพิสูจน์ว่า เหยื่อได้รับความรุนแรงหรือได้รับบาดเจ็บจริง
※ “เจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายคดี” หมายถึง รองผู้ช่วยผู้บัญชาการ, ผู้กำกับการอาวุโส, หัวหน้าผู้กำกับการ และนายร้อยตำรวจ “ผู้ช่วยตำรวจฝ่ายคดี” หมายถึงสิบตำรวจเอก, สิบตำรวจโทและนายตำรวจ (มาตรา 197 วรรค 1 และ 2 「ของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา」)
※ สำหรับตัวอย่างวิธีการกรอกหนังสือร้องเรียน (รายงาน) คลิก [ที่นี่]
※ คำจำกัดความของการร้องทุกข์กล่าวโทษซึ่งกันและกัน
ผู้ก่อเหตุความรุนแรงหรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงหรือการบาดเจ็บนั้นๆ แต่กลับเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่ก่อความรุนแรงหรือทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้น ดังนั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ทั้งสองฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ก่อเหตุและเหยื่อในเวลาเดียวกัน ในกรณีดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายอาจกล่าวโทษอีกฝ่ายหนึ่งและยื่นคำร้องเรียน ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงต่าง "กล่าวโทษซึ่งกันและกัน"