THAI

การกักกันโรคเมื่อเข้าออกประเทศ
การตรวจกักกันโรคทางเรือและมาตรกร
ส่งเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการตรวจกักกันโรคทางเรือ
- ผู้รับผิดชอบเรือที่ต้องการตรวจกักกันโรคจะต้องส่งเอกสารดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้อำนวยการการกักกันโรคเพื่อรับการตรวจกักกันโรค (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 ตอนต้นมาตรา 12(4) วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 6(5) วรรค 1).
· ใบรายชื่อของลูกเรือและผู้โดยสาร
· แบบสอบถามสถานะสุขภาพ (ผู้เข้าออกประเทศกรอกและส่งด้วยตนเอง, กรณีมีเหตุสุดวิสัยทำให้กรอกเอกสารด้วยตนเองไม่ได้ ให้ตัวแทนทางกฎหมายหรือผู้รับผิดชอบฝ่ายยานพาหนะขนส่งดังกล่าวช่วยกรอกและส่งให้แทน)
· ใบรายงานสถานะสุขอนามัยของเรือ
· อกสารอื่น ๆ ที่ผู้อำนวยการกักกันโรคเรียกขอเพื่อตรวจกักกันโรค
- ในกรณีนี้ ผู้รับผิดชอบเรือจะต้องมาถึงสถานที่กักกันโรค และปักธงสีเหลือง หรือเปิดไฟหน้าสีเหลือง ฯลฯ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การกักกันโรค (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 ตอนสุดท้ายมาตรา 12(4) วรรค 1).
การส่งเอกสารและการเรียกขอให้แสดงเอกสาร
- ผู้อำนวยการการกักกันโรคสามารถเรียกขอให้ตัวแทนของการขนส่งทางทะเล (「พระราชบัญญัติการขนส่งทางทะเล」 มาตรา 33) ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แทนก่อนที่เรือจะเดินทางมาถึงได้ เมื่อมีการเรียกขอให้ผู้รับผิดชอบเรือส่งเอกสารเพื่อการตรวจกักกันโรค (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12(4) วรรค 2).
การกักกันโรคผ่านเอกสาร และการกักกันโรคผ่านการขึ้นเครื่อง
- ผู้อำนวยการกักกันโรคจะทำการตรวจสอบเอกสารการตรวจกักกันโรคที่ส่งมาจากฝ่ายเรือที่ยืนขอกักกันโรค ในกรณีพิจารณาแล้วว่าไม่มีความเสี่ยงต่อแพร่ระบาดของเชื้อโรคติดต่อภายในประเทศ การตรวจกักกันจะสามารถดำเนินการได้ผ่านการตรวจสอบเอกสาร (เนื้อหาใน「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12(4) วรรค 3).
- อย่างไรก็ตาม กรณีพบความเสี่ยงสูงต่อแพร่ระบาดของเชื้อโรคติดต่อ ฯลฯ ตามกรณีดังต่อไปนี้ จะต้องขึ้นเครื่องเพื่อตรวจกักกันโรค (จาก「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12(4) วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 6(5) วรรค 2).
· กรณีรายงานรายละเอียดดังต่อไปนี้ ให้แก่ผู้อำนวยการการกักกันโรค หรือส่งใบรายงานสถานะสุขอนามัย
√ กรณีพบผู้ป่วยของการกักกันโรคติดต่อ ผู้ป่วยที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้ป่วยของการกักกันโรคติดต่อ และผู้แพร่เชื้อ (ต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้ป่วยของการกักกันโรคติดต่อ ฯลฯ”) หรือพบผู้ที่น่าสงสัยว่ามีอาการติดเชื้อโรคติดต่อภายในเรือ
√ กรณีพบผู้เสียชีวิตภายในเรือ
√ กรณีพบรูปแบบสื่อกลางของโรคติดต่อ หรือร่องรอยอยู่ภายในเรือ
· กรณียังไม่พ้นระยะเวลาฟักตัวนานที่สุดของตัวโรคติดต่อ หลังจากออกจากจุดสำคัญของพื้นที่จัดการการกักกันโรคแล้ว
· กรณีมีการเปลี่ยนลูกเรือที่จุดสำคัญของพื้นที่จัดการการกักกันโรค ภายในระยะเวลาฟักตัวนานที่สุดของตัวโรคติดต่อก่อนการเทียบท่าเรือ
· กรณีไม่มีใบรับรองการจัดการด้านสุขอนามัยของเรือ หรือใบรับรองการละเว้นการจัดการด้านสุขอนามัยของเรือตาม 「กฎอนามัยระหว่างประเทศ」 หรือเข้าเทียบท่าเรือหลังจากหมดระยะเวลาที่เป็นผล รวมถึงกรณีไม่ปฏิบัติตามมาตรการของผู้อำนวยการการกักกันโรค ณ จุดออกเรือก่อนหน้า
· กรณีอื่น ๆ ที่ผู้อำนวยการการกักกันโรคเห็นว่าต้องดำเนินการตรวจกักกันโรคเมื่อนั่งเรือ
การตรวจสอบสุขอนามัยของเรือ
- ผู้อำนวยการการกักกันโรคสามารถดำเนินการตรวจสอบสุขอนามัยที่สอดคล้องกับการตรวจกักกันโรคของเรือที่ตรงคุณสมบัติได้ เพื่อตรวจสอบเอกสารที่ส่งและการจัดการด้านสุขอนามัยจากบรรดาเรือที่ผ่านการตรวจกักกันโรคโดยการตรวจสอบเอกสารเสร็จสิ้น (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12(4) วรรค 5 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 6(5) วรรค 3).
มาตรการจำเป็นสำหรับการตรวจกักกันโรคซ้ำ
- กรณีพบว่าข้อมูลในเอกสารการตรวจกักกันโรคที่ส่งโดยผู้รับผิดชอบเรือมีความแตกต่างจากความเป็นจริง จะต้องใช้มาตรการจำเป็นเพื่อตรวจกักกันโรคซ้ำ ฯลฯ เกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12(4) วรรค 6 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 6(5) วรรค 4).
· ความคืบหน้าและสถานะปัจจุบันด้านสุขอนามัยของเรือและสัมภาระ
· สถานะของผู้เข้าออกประเทศด้านการติดเชื้อ·ปัจจัยเสี่ยงของการกักกันโรคติดต่อ และเหตุการณ์เกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกันโรค
· สถานการณ์ของการเก็บรักษาอาหารของเรือ
· การปรากฏของรูปแบบสื่อกลางของโรคติดต่อและสถานการณ์การแพร่เชื้อ