THAI

การกักกันโรคเมื่อเข้าออกประเทศ
เนื้อหาและวิธีของการตรวจกักกันโรค
เนื้อหาของการตรวจกักกันโรค
- ผู้อำนวยการการกักกันโรคจะดำเนินการตรวจกักกันโรคเกี่ยวกับหัวข้อดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12 วรรค 1).
· ความคืบหน้าและสถานะปัจจุบันของสถานะด้านสุขอนามัยของยานพาหนะขนส่งและสัมภาระ
· เหตุการณ์เกี่ยวกับด้านการติดเชื้อ·ปัจจัยเสี่ยงของการกักกันโรคติดต่อ และการจัดการเพื่อป้องกันโรค (ยกเว้นกรณีของรถยนต์) ของทุกคนที่เป็นผู้โดยสารและลูกเรือ ฯลฯ ที่เดินทางเข้าออกจากประเทศเกาหลี (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้เข้าออกประเทศ”)
· สถานการณ์การเก็บรักษาอาหารของยานพาหนะขนส่ง
· การปรากฏของรูปแบบสื่อกลางของโรคติดต่อและสถานการณ์การแพร่เชื้อ
วิธีการตรวจกักกันโรค
- ผู้เข้าออกประเทศทางบกจะต้องผ่านการตรวจกักกันโรคที่พื้นที่กักกันโรคหรือทางเข้าออก (「พระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างเกาหลีใต้และเหนือ」 มาตรา 2 ข้อ 1) ก่อนที่จะเข้าออกไปยังที่ใดได้ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12 วรรค 2 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 5 วรรค 4).
- ผู้อำนวยการการกักกันโรคสามารถเรียกขอให้ผู้เข้าออกประเทศหรือผู้รับผิดชอบฝ่ายยานพาหนะขนส่งยื่นเอกสารสำคัญดังต่อไปนี้เพื่อดำเนินการตรวจกักกันโรค และสามารถสอบถามหรือ ตรวจสอบ·สำรวจสิ่งที่จำเป็นได้ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12 วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 6 วรรค 2).
· บันทึกประจำวันทางเรือ·บันทึกประจำวันทางการบิน หรือบันทึกประจำวันทางเดินรถ (ยื่นโดยผู้รับผิดชอบฝ่ายยานพาหนะขนส่ง)
· ใบรับรองการจัดการด้านสุขอนามัยของเรือหรือใบรับรองการละเว้นการจัดการด้านสุขอนามัยของเรือที่ระบุตาม 「กฎอนามัยระหว่างประเทศ」 (ยื่นโดยกัปตันเรือ)
· เอกสารอื่น ๆ เช่น หนังสือเดินทาง ฯลฯ ที่ผู้อำนวยการการกักกันโรคเรียกขอเพื่อการตรวจกักกันโรค
※ บทกำหนดโทษ: กรณีปฏิเสธ·ขัดขวาง·หลีกเลี่ยงที่จะส่งหรือแสดงเอกสารตามการเรียกขอ หรือยื่นเอกสารที่เป็นเท็จ บุคคลนั้นจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 39 วรรค 1 ข้อ 2)
- ผู้อำนวยการการกักกันโรคสามารถเตรียมให้ผู้เข้าออกประเทศให้ส่งเอกสารที่จำเป็นผ่านการใช้อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลเพื่อการตรวจกักกันโรค (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12 วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 6 วรรค 1).
- ผู้อำนวยการการกักกันโรคสามารถใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องประมวลผลข้อมูลผ่านวิดีโอ เซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เพื่อให้ดำเนินการกักกันโรคผ่านไปได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 12 วรรค 4).
ข้อมูลการกักกันโรคสำหรับผู้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สนามบิน หรือท่าเรือ ฯลฯ
- ผู้จัดการสิ่งอำนวยความสะดวกของสนามบิน (「พระราชบัญญัติสิ่งอำนวยความสะดวกในสนามบิน」 มาตรา 2 ข้อ 3) หรือท่าเรือ (「พระราชบัญญัติท่าเรือ」 มาตรา 2 ข้อ 1) ฯลฯ ต้องประกาศต่อผู้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับพื้นที่จัดการการกักกันโรคและจุดสำคัญของพื้นที่จัดการการกักกันโรค ที่ตั้งของการกักกันโรค ประเภทของโรคติดต่อที่กำลังเกิดขึ้นและวิธีป้องกัน มาตรการกรณีพบการติดเชื้อหรือสงสัยว่ามีการติดเชื้อตามวิธีการดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 29(6) วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติการใช้การกักกันโรค」 มาตรา 25(4) วรรค 1).
· ติดประกาศไว้ตรงที่ที่เห็นได้ชัดเจนด้วยรูปแบบที่ผู้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องเข้าใจได้ง่าย (รวมถึงคลิปวิดีโอ)
· ออกอากาศด้วยวิธีที่ผู้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องเข้าใจได้ง่าย
ห้ามเปิดเผยความลับของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจกักกันโรค ฯลฯ
- ห้ามมิให้ผู้ที่มีส่วนร่วมหรือปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการตรวจกักกันโรค เช่น การตรวจกักกันโรค ฯลฯ เปิดเผยความลับใด ๆ ที่ได้รู้ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ตรวจกักกันโรคให้แก่ผู้อื่น (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 38).
- บุคคลใดที่เปิดเผยความลับที่ได้รู้ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ตรวจกักกันโรคแก่ผู้อื่น จะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 39 วรรค 1 ข้อ 5).