“การกักกันโรคเมื่อเข้าออกประเทศ” คืออะไร?
“การกักกันโรคเมื่อเข้าออกประเทศ” คืออะไร?
- "การกักกันโรคเมื่อเข้าออกประเทศ" หมายถึงการป้องกันโรคติดต่อเพื่อรักษาและปกป้องสุขภาพของประชาชน โดยการป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อทั้งในและต่างประเทศรวมถึงผู้ที่เข้าออกประเทศเกาหลีผ่านสนามบินและท่าเรือ, เครื่องบิน, เรือ, รถยนต์, สัมภาระ ฯลฯ โดยการตรวจ·กักตัว·ป้องกันโรคระบาด ฯลฯ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」มาตรา 1).
- แผนภาพแสดงขั้นตอนการกักกันโรคเมื่อเข้าออกประเทศ
· ขั้นตอนการออกนอกประเทศ
· ขั้นตอนการเข้าประเทศ
การป้องกันการแพร่กระจายโรคติดต่อภายใน·นอกประเทศ
หน้าที่ของรัฐ
- รัฐจะต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้มีคุณสมบัติในการกักกันโรคเมื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านกักกันโรค และจะต้องวางแผนเพื่อรับมือการระบาดของโรคติดต่อทั้งในและนอกประเทศอย่างรวดเร็ว (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 3).
- ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีจะต้องปรึกษาร่วมกับคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการกักกันโรค เพื่อวางแผนและปฏิบัติการตามแผนขั้นพื้นฐานทุก ๆ 5 ปี ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมายพื้นฐานและทิศทางการขับเคลื่อนของการจัดการการกักกันโรค แผนการทางธุรกิจและวิธีการดำเนินการของการกักกันโรค สถิติและวิธีการจัดการข้อมูลของการกักกันโรค การอบรมและวิธีเสริมสร้างความสามารถของข้าราชการด้านการกักกันโรค รวมถึงหัวข้อต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการจัดการการกักกันโรค (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 4(2) วรรค 1 และ วรรค 2).
สิทธิและหน้าที่ของประชาชน
- ประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลและวิธีการรับมือเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ ฯลฯ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 3(2) วรรค 1).
- กรณีประชาชนต้องถูกกักตัวเนื่องจากโรคติดต่อ บุคคลนั้นจะได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 3(2) วรรค 2).
- ประชาชนจะต้องให้ความร่วมมืออย่างจริงจังกับนโยบายของรัฐและองค์กรท้องถิ่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่เกิดขึ้นอยู่ภายในและนอกประเทศ (「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 3(2) วรรค 3).