THAI

การป้องกันและจัดการกับโรคติดต่อ
การชดเชยสถานที่ควบคุมโรคติดต่อ
การชดเชยความเสียหายในสถานที่ควบคุมโรคติดต่อ
- กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ นายกเทศมนตรีเมืองพิเศษ·นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการจังหวัด·ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต จะต้องชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายดังต่อไปนี้ ตามการพิจารณาอย่างละเอียดและการลงมติของคณะกรรมการพิจารณาค่าชดเชยจาก 「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 70-2 (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 70 วรรค 1).
· ความเสียหายที่เกิดขึ้นที่กำหนดโดยสถาบันควบคุมโรคติดต่อ「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 36
· ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งและใช้งานของสถานกักตัว ฯลฯ ตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 37
· ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการติดตั้งและใช้งานของสถานที่กักตัวผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโรคติดต่อตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 39-3
· ความเสียหายของสถาบันการแพทย์ที่ใช้รักษาตามาตรการให้ผู้ป่วยโรคติดต่อ ผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโรคติดต่อตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」
· ความเสียหายที่เกิดขึ้นในสถาบันการแพทย์จากการปิดสถาบันการแพทย์หรือระงับการทำงาน ฯลฯ ตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」
- ผู้บริหารของสถาบันการแพทย์ที่ต้องการรับค่าชดเชยความเสียหาย จะต้องแนบเอกสารยืนยันเกี่ยวกับความเสียหายลงในใบเรียกร้องค่าชเดชยความเสียหาย และส่งให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 70 วรรค 2 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」เอกสารแนบหมายเลข 31).
- กรณีบุคคลที่ได้รับความเสียหายในการคำนวณค่าชดเชยจนทำให้เกิดหรือเพิ่มความเสียหายดังกล่าว โดยฝ่าฝืนหน้าที่ดำเนินการตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」หรือกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง บุคคลนั้นจะไม่ได้รับค่าชดเชย หรือสามารถรับค่าชดเชยที่มีจำนวนลดลงไป โดยการกระทำความผิดที่จะไม่ได้รับค่าชดเชยมีดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 70 วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติการบังคับใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 28-2 วรรค 1).
· กรณีละเลยที่จะรายงาน·แจ้ง หรือรายงาน·แจ้งความเท็จ
· กรณีละเลยหน้าที่การรายงาน หรือขัดขวางการรายงานของผู้มีหน้าที่รายงานตามกฎหมายวรรค 1 ในแต่ละข้อ
· กรณีปฏิบัติข้อห้ามเมื่อมีการสอบสวนทางระบาดวิทยา
· กรณีไม่ติดตั้งสถานที่ควบคุมโรคติดต่อ
· กรณีฝ่าฝืนโดยไม่ให้ความร่วมมือ
· กรณีฝ่าฝืนคำชี้แนะหรือคำสั่ง
· กรณีฝ่าฝืนภาระหน้าที่การทำงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการเห็นว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ