THAI

การป้องกันและจัดการกับโรคติดต่อ
การวินิจฉัยผู้ป่วยโรคติดต่อ
ผู้ป่วยโรคติดต่อคืออะไร
- “ผู้ป่วยโรคติดต่อ” หมายถึง ผู้ที่แสดงอาการติดเชื้อของโรคติดต่อที่แพร่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ ทันตแพทย์ หรือแพทย์แผนโบราณตามมาตรฐานการวินิจฉัย หรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งดังต่อไปนี้ (ต่อไปนี้เรียกว่า “สถาบันตรวจสอบการแพร่เชื้อของโรคติดต่อ”)ของ「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 11 วรรค 6 ได้รับการตรวจสอบผ่านห้องปฏิบัติการของ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 2 ข้อ 13 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 16-2 วรรค 1).
· กรมควบคุมโรค
· สถานที่กักกันโรคแห่งชาติ
· สถาบันวิจัยสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมตาม「พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม」 มาตรา 2
· สถานีอนามัยตาม「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สาธารณสุขในท้องถิ่น」 มาตรา 10
· 「สถาบันที่แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ชันสูตรใช้ทำงานเต็มเวลาจากบรรดาสถาบันการแพทย์ตาม「พระราชบัญญัติการแพทย์」 มาตรา 3
· คณะแพทยศาสตร์ที่ก่อตั้งตามตาม「พระราชบัญญัติอุดมศึกษา」 มาตรา 4
· สมาคมวัณโรคแห่งเกาหลีที่ก่อตั้งตาม「พระราชบัญญัติป้องกันวัณโรค」 มาตรา 21 (เฉพาะกรณีตรวจสอบการแพร่เชื้อของผู้ป่วยวัณโรค)
· สถาบันที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์การสนับสนุนการรักษาและการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคเรื้อน ฯลฯ ตาม「กฎหมายแพ่ง」 มาตรา 32 (เฉพาะกรณีตรวจสอบการแพร่เชื้อของผู้ป่วยโรคเรื้อน)
· สถาบันที่แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ชันสูตรใช้ทำงานเต็มเวลาจากบรรดาสถาบันจากบรรดาสถาบันที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการแพทย์ ฯลฯ ตาม「พระราชบัญญัติการแพทย์」 มาตรา 3 ให้ดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับการตรวจร่างกาย
- “ผู้ป่วยที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อ” หมายถึง บุคคลที่ถูกสงสัยว่ามีการติดเชื้อของโรคติดต่อที่แพร่เข้าสู่ร่างกาย ที่อยู่ในขั้นตอนก่อนการยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 2 ข้อ 14).
- “ผู้แพร่เชื้อ” หมายถึง บุคคลที่ไม่มีอาการทางคลินิกแต่เป็นพาหะของโรคติดเชื้อ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 2 ข้อ 15).
- “ผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโรคติดต่อ” หมายถึง บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 2 ข้อ 15-2).
· บุคคลที่สัมผัสหรือสงสัยว่าสัมผัสกับผู้ป่วยโรคติดต่อ ผู้ป่วยที่ถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อ และผู้แพร่เชื้อ
· บุคคลที่พักอาศัยอยู่หรือเดินทางในพื้นที่จัดการการกักกันโรคหรือจุดสำคัญของพื้นที่จัดการการกักกันโรค และกังวลว่าติดเชื้อตาม「พระราชบัญญัติการกักกันโรค」 มาตรา 2 ข้อ 7 และ ข้อ 8
· ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยปัจจัยเสี่ยง เช่น ตัวแพร่เชื้อของโรคติดต่อ ฯลฯ
การรับประกันสิทธิผู้ป่วยโรคติดต่อ
- รัฐและองค์กรท้องถิ่นต้องเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ เช่น ผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ ต้องปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานนั้น และห้ามเอาเปรียบ เช่น จำกัดการจ้างงาน ฯลฯ โดยไม่ปฎิบัติตามกฎหมาย (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 4 วรรค 1).
- ประชาชนมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลและวิธีรับมือเกี่ยวกับสถานการณ์พพโรคติดต่อ การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ ฯลฯ รัฐและองค์กรท้องถิ่นจะต้องเปิดเผยข้อมูลอย่างรวดเร็ว (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 6 วรรค 2).
- ประชาชนมีสิทธิที่จะรับการวินิจฉัยและรักษาที่สถาบันการแพทย์ตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」และรัฐและองค์กรท้องถิ่นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 6 วรรค 3).
- ประชาชนจะต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เมื่อมีกิจกรรมป้องกันและจัดการโรคติดต่อของรัฐและองค์กรท้องถิ่น เช่น การรักษาและกักตัว ฯลฯ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 6 วรรค 4).
ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคติดต่อ
- ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตสามารถให้เจ้าหน้าที่ข้าราชการเข้าไปยังสิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน ยานพาหนะขนส่ง เช่น เรือ·เครื่องบิน·รถไฟ ฯลฯ และสถานที่อื่น ๆ ที่ได้รับการยืนยันว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ อยู่ตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้และดำเนินการตรวจสอบที่จำเป็น หากผลการตรวจพบว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ เจ้าหน้าที่ข้าราชการจะต้องพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 1).
· โรคติดต่อระดับ 1
· โรค โรคหัด อหิวาตกโรค โรคไทฟอยด์ ไข้รากสาดเทียม โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา โรคติดเชื้ออีโคไล ไวรัสตับอักเสบ A โรคติดต่อไข้กาฬหลังแอ่น โรคโปลิโอ โรคไข้อีดำอีแดง หรือโรคติดต่อที่กำหนดโดยผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีจากบรรดาโรคติดต่อระดับ 2
· โรคติดต่อที่กำหนดโดยผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีจากบรรดาโรคติดต่อระดับ 3
· โรคติดต่อที่องค์การอนามัยโลกเฝ้าระวัง
- กรณีพบเจอโรคติดต่อระดับ 1 ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการใดมาตรการหนึ่งดังต่อไปนี้กับผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโรคติดต่อ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 2 เนื้อหา).
· การจำกัดให้อยู่บ้านของตนเอง หรือการใช้ยานพาหนะขนส่งที่มีความจำเป็นในการกักตัว
· การตรวจสอบสถานะอาการของโรคติดต่อโดยใช้การสื่อสารแบบมีสาย·ไร้สาย ด้วยอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ฯลฯ หรือการรวบรวมข้อมูลที่อยู่ (เฉพาะข้อมูลที่อยู่ของบุคคลที่กักตัว)
· การตรวจสถานะโรคติดต่อ
※ กรณีนี้ เจ้าหน้าที่ข้าราชการสามารถทำการตรวจสอบหรือตรวจร่างกายที่จำเป็นเพื่อยืนยันอาการของโรคติดต่อ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 2 ตอนท้าย).
- เมื่อผลตรวจตามข้างต้นออกมายืนยันว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตและเจ้าหน้าที่ข้าราชการที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ารับการรักษาพร้อมกันได้ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 3).
- หากมีบุคคลที่ปฏิเสธที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้ปฏิเสธการตรวจ”) ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องให้เจ้าหน้าที่ข้าราชการนำพาผู้ป่วยรับการตรวจสอบและตรวจร่างกายที่จำเป็น (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 4).
· การตรวจสอบและตรวจร่างกายตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 วรรค 1·วรรค 2
· การตรวจตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 13 วรรค 2
※ ข้าราชการข้างต้นที่ดำเนินการตรวจสอบ ตรวจร่างกาย กักตัว หรือเข้ารักษาในโรงพยาบาล หรือเดินทางไปพร้อมกับผู้ป่วยจะต้องพิสูจน์หลักฐาน และแจ้งความสัมพันธ์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องระหว่างตนเองและผู้ป่วย (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 5).
- ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตสามารถกักกันผู้ปฏิเสธการตรวจไว้ที่บ้านพักหรือสถานที่ควบคุมโรคติดต่อ และเมื่อได้รับการยืนยันจากผลการตรวจสอบและตรวจร่างกายว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ จะต้องนำบุคคลนั้นมารักษา ณ สถานที่ควบคุมโรคติดต่อหรือเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล กรณีนำผู้ปฏิเสธการตรวจมารักษา·เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล จะต้องรายงานความจริงดังกล่าวแก่ผู้ปกครองของผู้ปฏิเสธการตรวจ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 7·วรรค 9).
- หากผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ·นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ·ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตได้รับการยืนยันว่าผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโรคติดต่อ หรือผู้ปฏิเสธการตรวจไม่ใช่ผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ จะต้องยกเลิกมาตรการกักตัวโดยทันที (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 8).
※ กรณีไม่ยกเลิกมาตรการกักตัวโดยไร้เหตุผลอันสมควร ผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโรคติดต่อ หรือผู้ปฏิเสธการตรวจสามารถเรียกขอความช่วยเหลือโดยปรับใช้ขั้นตอนและวิธีการตาม「พระราชบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพส่วนบุคคล」 (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 10).
- บุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการบังคับข้างต้น (ยกเว้น บุคคลที่ปฏิเสธเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือกักตัวตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 42 วรรค 1·วรรค 2 ข้อ 1·วรรค 3 และ วรรค 7) จะมีโทษปรับไม่เกิน 3 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 80 ข้อ 5).