THAI

การป้องกันและจัดการกับโรคติดต่อ
การรายงานโรคติดต่อ
การรายงานโรคติดต่อของแพทย์ ฯลฯ
- หากแพทย์ ทันตแพทย์ หรือแพทย์แผนโบราณประสบเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตามความจริงดังต่อไปนี้ (ยกเว้น กรณีโรคติดต่อระดับ 4 ที่ต้องเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่) จะต้องรายงานต่อหัวหน้าสถาบันการแพทย์ และจะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีป้องกันการติดโรค ฯลฯ สำหรับผู่ป่วยและผู้ที่อยู่อาศัยร่วมที่กำหนดโดยผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 11 วรรค 1 เนื้อหา).
· กรณีวินิจฉัยผู้ป่วยโรคติดต่อ หรือชันสูตรศพนั้น
· กรณีวินิจฉัยผู้ป่วยโรคติดต่อที่มีอาการผิดปกติหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หรือชันสูตรศพนั้น
· กรณีผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ เสียชีวิตเนื่องจากเป็นโรคติดต่อระดับ 1 ถึง 3
· กรณีผู้ที่น่าสงสัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคติดต่อปฎิเสธการตรวจหาโรคติดต่อ
※ อย่างไรก็ตาม แพทย์ ทันตแพทย์ หรือแพทย์แผนโบราณที่ไม่ได้อยู่ในเครือสถาบันการแพทย์จะต้องแจ้งความจริงนี้ต่อหัวหน้าสถานีอนามัย (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 11 วรรค 1 ที่มา).
- กรณีพนักงานของเครือสถาบันตรวจสอบการแพร่เชื้อของโรคติดต่อตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 16-2 ตรวจพบเชื้อโรคติดต่อระดับ 1 ถึง 3 ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ฯลฯ จะต้องรายงานความจริงนั้นต่อหัวหน้าสถาบันนั้น (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 11 วรรค 2 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 6 วรรค 3).
- หัวหน้าสถาบันการแพทย์ที่ได้รับรายงานจะต้องรีบรายงานต่อผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีหรือหัวหน้าสถานีอนามัย กรณีพบเชื้อโรคติดต่อระดับ 1 จะต้องรีบแจ้งโดยทันที กรณีพบเชื้อพบเชื้อโรคติดต่อระดับ 2 และระดับ 3 จะต้องรีบแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง และกรณีพบเชื้อโรคติดต่อระดับ 4 จะต้องแจ้งภายใน 7 วัน (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 11 วรรค 3).
- หากแพทย์ทหารประจำทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือหน่วยทหารภายใต้การควบคุมโดยตรงของกระทรวงกลาโหมประสบเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตามความจริงดังต่อไปนี้ (ยกเว้น กรณีโรคติดต่อระดับ 4 ที่ต้องเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่ตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 16 วรรค 5) จะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาในเครือ และผู้บังคับบัญชาที่ได้รับรายงานจะต้องรีบรายงานต่อหัวหน้าสถานีอนามัย กรณีพบเชื้อโรคติดต่อระดับ 1 จะต้องรีบแจ้งโดยทันที กรณีพบเชื้อพบเชื้อโรคติดต่อระดับ 2 และระดับ 3 จะต้องรีบแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 11 วรรค 4).
- หากสถาบันเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่ประสบเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งตามความจริงดังต่อไปนี้เนื่องจากการเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่ของโรคติดต่อระดับ 4 จะต้องยื่นเอกสารใบรายงานสำหรับสถาบันเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่ (รวมถึง ใบรายงานแบบอิเล็กทรอนิกส์) ต่อผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีหรือผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ หรือยื่นเอกสารผ่านการใช้ระบบข้อมูลหรือโทรสารมายังหัวหน้าสถานีอนามัยที่ควบคุมดูแลสถาบันเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่ใกล้ที่พัก (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 11 วรรค 5 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 6 วรรค 4).
· กรณีวินิจฉัยผู้ป่วยโรคติดต่อ หรือชันสูตรศพนั้น
· กรณีผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ เสียชีวิตเนื่องจากเป็นโรคติดต่อระดับ 1 ถึง 4
การรายงานโรคติดต่อของผู้มีหน้าที่รายงานอื่น ๆ
- กรณีพบโรคติดต่อที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการจากบรรดาโรคติดต่อระดับ 1 ถึง 3 โดยแพทย์ บุคคลใดบุคคลหนึ่งดังต่อไปนี้สามารถเรียกขอการวินิจฉัยหรือชันสูตรของแพทย์ ทันตแพทย์ หรือแพทย์แผนโบราณ หรือจะต้องรายงานต่อหัวหน้าสถานีอนามัยที่ควบคุมดูแลในพื้นที่ใกล้ที่พัก (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 12 วรรค 1, 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 8 วรรค 1 และ วรรค 2).

ผู้มีหน้าที่รายงานอื่น ๆ

โรคติดต่อที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ

√ เจ้าบ้านครัวสำหรับครัวเรือนทั่วไป หรือ สมาชิกครอบครัวรายอื่นในกรณีเจ้าบ้านไม่อยู่

 

√ ผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือตัวแทนสำหรับโรงเรียน องค์กรสวัสดิการ โรงพยาบาล สำนักงานราชการ บริษัท โรงแสดงละคร ปูชนียสถาน ยานพาหนะขนส่งเช่นเรือ·เครื่องบิน·รถไฟ ฯลฯ สำนักงานและสถานประกอบการต่าง ๆ ร้านอาหาร สถานที่ประกอบธุรกิจที่พักแรม หรือสถานที่ต่าง ๆ ที่มีการรวมตัวของคนหลายคน ร้านขายยา องค์กรสวัสดิการ ศูนย์พักฟื้นแม่หลังคลอดบุตร ธุรกิจโรงอาบน้ำ สถานบันเทิง ธุรกิจเสริมความงาม

 

√ เภสัชกร เภสัชกรแผนโบราณ และผู้ก่อตั้งร้านขายยา

√ วัณโรค

√ โรคหัด

√ อหิวาตกโรค

√ โรคไทฟอยด์

√ ไข้รากสาดเทียม

√ โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา

√ โรคติดเชื้ออีโคไล

√ ไวรัสตับอักเสบ A

- หากท่านจะไม่ใช่ผู้มีหน้าที่รายงานตามขที่ระบุไว้ข้างต้นก็ต้องแจ้งต่อหัวหน้าสถานีอนามัยเมื่อพบผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ หรือบุคคลที่น่าสงสัยว่าเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดต่อ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 12 วรรค 2).
- กรณีรายงานเหตุ จะต้องรายงานหรือแจ้งรายละเอียดดังต่อไปนี้ต่อหัวหน้าสถานีอนามัยเป็นลายลักษณ์อักษร ทางวาจา โทรเลข โทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์โดยทันที (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 12 วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 9).
· ชื่อของผู้รายงาน ที่อยู่และความสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ หรือผู้เสียชีวิต
· ชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ หรือผู้เสียชีวิต
· อาการหลักและวันที่เริ่มมีอาการของผู้ป่วยโรคติดต่อ ฯลฯ หรือผู้เสียชีวิต