THAI

การป้องกันและจัดการกับโรคติดต่อ
การฆ่าเชื้อ
หน้าที่การฆ่าเชื้อ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษหรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องดำเนินการทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อตามมาตรฐานและวิธีของการฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันโรคติดต่อหรือจะต้องใช้มาตรการกำจัดหนูและศัตรูพืช ฯลฯ ที่ถูกสุขลักษณะ (ต่อไปนี้เรียกว่า “การฆ่าเชื้อ”) เพื่อดำเนินการฆ่าเชื้อ สถานีอนามัยแต่ละแห่งสามารถจัดการและบริหารทีมงานกักกันโรคได้ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 ส่วนต้นมาตรามาตรา 51 วรรค 1·วรรค 2, 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 36 ตั้งแต่วรรค 1 ถึงวรรค 3 และ เอกสารแนบตาราง 5·6).
※ การฆ่าเชื้อจะดำเนินการอย่างปลอดภัย และต้องส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และธรรมชาติให้น้อยที่สุด (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」ตอนสุดท้ายมาตรา 51 วรรค 1).
- บุคคลที่จัดการ·ประกอบการสิ่งอำนวยความสะดวกที่ผู้คนจำนวนมากอาศัยหรือใช้งาน เช่น ที่พักอาศัยรวมกันและสถานที่ประกอบธุรกิจที่พักแรม ฯลฯ ที่ระบุไว้ตาม「พระราชบัญญัติการบังคับใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 24 จำเป็นจะต้องฆ่าเชื้อที่จำเป็นในการป้องกันโรคติดต่อโดยจะต้องดำเนินการตามมาตรฐานจำนวนครั้งของการฆ่าเชื้อใน「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」เอกสารแนบตาราง 7 (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 51 วรรค 3, 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 36 วรรค 4 และ เอกสารแนบตาราง 7).
· ผู้จัดการ·ผู้ประกอบการของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องฆ่าเชื้อตามข้างต้น จะต้องให้ผู้ประกอบการที่มีใบอนุญาตฆ่าเชื้อดำเนินการฆ่าเชื้อให้บุคคลที่แจ้งต่อบริษัทฆ่าเชื้อ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 51 วรรค 4 เนื้อหา).
· อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้รับเหมาจัดการที่พักอาศัยมีอุปกรณ์การฆ่าเชื้อเตรียมพร้อมตาม 「พระราชบัญญัติการจัดการที่พักอาศัยรวมกัน」 บุคคลที่จัดการที่พักอาศัยรวมกันสามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยตนเอง (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 51 วรรค 4 ที่มา).
· บุคคลที่ไม่ยอมฆ่าเชื้อตาม 「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 51 วรรค 3 จะมีโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 83 วรรค 3 ข้อ 3).
การมอบหมายและทำหน้าที่ฆ่าเชื้อแทน
- ผู้ว่าจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่านครปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตสามารถมอบหมายหน้าที่การกักกันและฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันโรคติดต่อให้แก่สถาบันการแพทย์และสถาบัน·องค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสุขอนามัย (「พระราชบัญญัติการบังคับใช้สาธารณสุขในท้องถิ่น」 มาตรา 23 วรรค 1 ข้อ 3).
- กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษหรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตต้องดำเนินการฆ่าเชื้อเอง สามารถให้ผู้ประกอบการธุรกิจฆ่าเชื้อดำเนินการแทนได้ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 56).
· บุคคลที่ต้องการประกอบกิจการฆ่าเชื้อ จะต้องเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก·อุปกรณ์ให้พร้อมตามมาตรฐานแรงงานตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 เอกสารแนบตาราง 8 และต้องรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษหรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 52 วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 37 วรรค 1).
· ผู้ประกอบการธุรกิจฆ่าเชื้อ (กรณีเป็นบริษัท หมายถึง ตัวแทนนั้น ๆ) จะต้องได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรความรู้เรื่องการฆ่าเชื้อตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 เอกสารแนบตาราง 9 ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่รายงานธุรกิจการฆ่าเชื้อ โดยพนักงานฆ่าเชื้อจะต้องได้รับการฝึกอบรมเรื่องการฆ่าเชื้อ (ต้องได้รับการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อย 1 ครั้ง ตั้งแต่วันที่เสร็จการฝึกอบรมทันทีจนถึงวันสุดท้ายของสิ้นเดือนที่ครบ 3 ปี) ด้วยเช่นกัน (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 55 วรรค 1·วรรค 2 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 41 วรรค 1·วรรค 2).
※ การศึกษาเกี่ยวกับผู้ประกอบการธุรกิจฆ่าเชื้อ ฯลฯ ตามข้างต้นจะดำเนินการโดยสถาบันที่กำหนดโดยผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี และกรณีผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีกำหนดสถาบันฝึกอบรม จะต้องออกใบกำหนดการฝึกอบรม「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 เอกสารแนบหมายเลข 30 (「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 41 วรรค 3).
· ผู้ประกอบการธุรกิจฆ่าเชื้อจะต้องดำเนินการฆ่าเชื้อตามมาตรฐานและวิธีตาม「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 เอกสารแนบตาราง 5·6 และต้องบันทึกและจัดเก็บข้อมูลการฆ่าเชื้อไว้เป็นเวลา 2 ปี (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 54 วรรค 1,「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 40 วรรค 1·วรรค 3 และเอกสารแนบตาราง 5·6).
สิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องฆ่าเชื้อ
- สิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องฆ่าเชื้อที่มีความจำเป็นต้องทำการฆ่าเชื้อมีดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการบังคับใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 24 และ 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 36 วรรค 4 และเอกสารแนบตาราง 7).

ประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องฆ่าเชื้อ

จำนวนครั้งในการฆ่าเชื้อ

เมษายน

ถึงกันยายน

ตุลาคม

ถึงมีนาคม

1. สถานที่ประกอบธุรกิจที่พักแรมตาม「พระราชบัญญัติการจัดการด้านสาธารณสุข」 (เฉพาะกรณีมีจำนวนห้องตั้งแต่ 20 ห้องขึ้นไป), สถานที่ประกอบธุรกิจที่พักแรมสำหรับนักท่องเที่ยวตาม「พระราชบัญญัติส่งเสริมการท่องเที่ยว」

2. สถานประกอบการธุรกิจบริการอาหาร (ต่อไปนี้เรียกว่า “สถานประกอบการธุรกิจบริการอาหาร”) ตาม「พระราชบัญญัติการบังคับใช้ด้านสุขาภิบาลอาหาร」 มาตรา 21 ข้อ 8 (ยกเว้น หัวข้อ จ.) ที่มีพื้นที่รวม 300 ตารางเมตรขึ้นไป

3. รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเกษตรกรและชาวประมง·รถประจำทางหมู่บ้าน·รถประจำทางระหว่างเมือง·รถบัสเช่า· รถสำหรับพิธีศพตาม「พระราชบัญญัติบริการขนส่งผู้โดยสาร」, เครื่องบินตาม「พระราชบัญญัติความปลอดภัยการบิน」และสิ่งอำนวยความสะดวกในสนามบินตาม「พระราชบัญญัติธุรกิจการบิน」, เรือโดยสารตาม「พระราชบัญญัติการขนส่งทางทะเล」, ห้องพักผู้โดยสารที่มีพื้นที่กว้าง 300 ตารางเมตรขึ้นไปตาม「พระราชบัญญัติท่าเรือ」, รถไฟขนส่งผู้โดยสาร อาคารสถานีรถไฟ และสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานีตาม「พระราชบัญญัติกิจการรถไฟ」และ「พระราชบัญญัติการรถไฟในเมือง」

4. ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ร้านค้าที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ร้านค้าขนาดใหญ่อื่น ๆ ตาม「พระราชบัญญัติการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดจำหน่าย」และตลาดท้องถิ่นตาม「พระราชบัญญัติพิเศษส่งเสริมตลาดท้องถิ่นและย่านการค้า」

5. สถาบันการแพทย์ระดับโรงพยาบาลตาม「พระราชบัญญัติการแพทย์」 มาตรา 3 วรรค 2 ข้อ 3

1 ครั้งขึ้นไป/

1 เดือน

1 ครั้งขึ้นไป/

2 เดือน

6. สถานประกอบการด้านอาหารตาม「พระราชบัญญัติด้านสุขาภิบาลอาหาร」 มาตรา 2 ข้อ 12 (เฉพาะกรณีเสริฟอาหารอย่างต่อเนื่องมากกว่า 100 คนต่อครั้ง)

6(2). สถานประกอบการธุรกิจบริการอาหารที่บริการจัดเตรียมอาหารที่มีพื้นที่รวม 300 ตารางเมตรขึ้นไปตาม「พระราชบัญญัติการบังคับใช้ด้านสุขาภิบาลอาหาร」 มาตรา 21 ข้อ 8 หัวข้อ จ.

7. หอพักตาม「พระราชบัญญัติบังคับใช้ในการควบคุมอาคาร」 เอกสารแนบตาราง 1 ข้อ 2 หัวข้อ ง.

7(2). ที่พักร่วมกัน (เฉพาะกรณีบรรจุคนได้ 50 คนขึ้นไป) ตาม「พระราชบัญญัติบังคับใช้ใน การป้องกันอัคคีภัย ติดตั้งและจัดการอุปกรณ์ดับเพลิง และการจัดการความปลอดภัย」 เอกสารแนบตาราง 2 ข้อ 8 หัวข้อ ก.

8. โรงแสดงละคร (เฉพาะกรณีมี 300 ที่นั่งขึ้นไป) ตาม「พระราชบัญญัติการแสดงสาธารณะ」

9. สถานศึกษาตาม「พระราชบัญญัติการศึกษาของประถมศึกษาและมัธยมศึกษา」 มาตรา 2 และ「พระราชบัญญัติการศึกษาของมัธยมศึกษาตอนปลาย」 มาตรา 2

10. สถาบันสอนพิเศษโรงเรียนที่มีพื้นที่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไปตาม「พระราชบัญญัติจัดตั้ง·ดำเนินการสถาบันสอนพิเศษและการสอนนอกหลักสูตร」

11. อาคารสำนักงานและอาคารเอนกประสงค์ที่มีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตรขึ้น

 

12. สถานรับเลี้ยงเด็กตาม「พระราชบัญญัติการดูแลเด็กเล็ก」และ โรงเรียนอนุบาลตาม「พระราชบัญญัติการศึกษาของเด็ก」(เฉพาะสถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาลที่รองรับจำนวน 50 คนขึ้นไป)

1 ครั้งขึ้นไป/

2 เดือน

1 ครั้งขึ้นไป/

3 เดือน

13. ที่พักอาศัยรวมกัน (เฉพาะกรณีที่มี 300 ครัวเรือนอาศัยอยู่ขึ้นไป) ตาม 「พระราชบัญญัติการจัดการที่พักอาศัยรวมกัน」

1 ครั้งขึ้นไป/

3 เดือน

1 ครั้งขึ้นไป/

6 เดือน