THAI

การป้องกันและจัดการกับโรคติดต่อ
การป้องกันโรคติดต่อ
มาตรการป้องกันโรคติดต่อ
- ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องดำเนินมาตรการป้องกันโรคติดต่อดังต่อไปนี้ทั้งหมดหรือดำเนินบางมาตรการที่จำเป็นสำหรับแต่ละกรณีเพื่อป้องกันโรคติดต่อ (「พระราชบัญญัติขั้นพื้นฐานว่าด้วยการสาธารณสุขและการรักษาทางการแพทย์」 มาตรา 40 และ 「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 49 วรรค 1·วรรค 2).
· ปิดกั้นการจราจรทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังพื้นที่ควบคุมดูแล (ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า)
· จำกัดหรือห้ามไปที่สาธารณะ ชุมนุม จัดพิธีการ หรือการรวมตัวหลายคน (ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสามารถจำกัดหรือห้ามเพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อ)
· ออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคระบาด เช่น ทำรายชื่อผู้เดินทางเข้ามา การสวมหน้ากากอนามัย ฯลฯ สำหรับผู้จัดการ·ผู้ประกอบการและผู้ใช้ของสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อ
· ออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคระบาด เช่น สวมใส่หน้ากากอนามัย ฯลฯ ให้ผู้ใช้พาหนะเดินทางอย่างรถบัส·รถไฟ·เรือ·เครื่องบิน ฯลฯ ที่กังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อ
· ออกคำสั่งให้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคระบาด เช่น สวมใส่หน้ากากอนามัย ฯลฯ ตามช่วงเวลาและพื้นที่ที่กังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อ
· ดำเนินการตรวจร่างกาย ชันสูตรศพ หรือการผ่าศพ
· ห้ามขายหรือรับอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อของโรคติดต่อ กำจัดอาหารเหล่านั้น หรือออกคำสั่งจัดการนอกเหนือจากนี้ตามความจำเป็น
· ออกคำสั่งมาตรการป้องกันโรคสำหรับบรรดาบุคคลที่เข้าร่วมการฆ่าสัตว์ หรือผู้ที่สัมผัสโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนเพื่อป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
· จำกัด·ห้ามครอบครอง·การเคลื่อนย้ายสิ่งของที่เป็นพาหะในการแพร่เชื้อ หรือกำจัดสิ่งของดังกล่าว เผาหรือออกคำสั่งจัดการนอกเหนือจากนี้ตามความจำเป็น (ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า)
· กำหนดให้มีแพทย์มาประจำอยู่ในพาหนะขนส่งเรือ·เครื่องบิน·รถไฟ ฯลฯ สถานที่ทำงาน หรือ สถานที่ต่าง ๆ ที่มีผู้คนจำนวนมาก หรือออกคำสั่งให้ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นต่อการป้องกันโรคติดต่อ
· ออกคำสั่งให้ฆ่าเชื้อสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข หรือดำเนินมาตรการที่จำเป็น หรือห้ามสร้างใหม่·ปรับปรุง·เปลี่ยนแปลง·ยกเลิก หรือใช้งานระบบการจ่ายน้ำประปา ท่อระบายน้ำเสีย บ่อน้ำ ที่กำจัดขยะ ห้องน้ำ (ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ต้องจัดเตรียมน้ำดื่มแยกต่างหากในช่วงระยะเวลาห้าม)
· ออกคำสั่งให้กำจัดหนู แมลงศัตรูพืช หรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอื่น ๆ หรือให้ติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการกำจัด
· จำกัดหรือห้ามการตกปลา·ว่ายน้ำ หรือใช้บ่อน้ำบางแห่งในสถานที่ที่กำหนด (ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า ต้องจัดเตรียมน้ำดื่มแยกต่างหากในช่วงระยะเวลาห้าม)
· ห้ามจับสัตว์ที่เป็นตัวกลางของพาหะนำโรค หรือการแพร่พันธุ์ (ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบล่วงหน้า)
· ระดมแพทย์·ผู้ประกอบการด้านการแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดต่อ
· ระดมเตียงผู้ป่วยของสถาบันการแพทย์ สถาบันฝึกอบรม·ที่พัก ฯลฯ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดต่อ
· ออกคำสั่งฆ่าเชื้อหรือจัดการนอกเหนือจากนี้ตามความจำเป็น สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสถานที่ที่แพร่เชื่อโรคติดต่อหรือสงสัยว่ามีอาการของโรคติดต่อ
· เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือกักตัวผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อโรคติดต่อในสถานที่ที่เหมาะสมและช่วงระยะเวลาตามกำหนด
※ ผู้ที่ฝ่าฝืนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือกักตัวในสถานที่ที่เหมาะสมและช่วงระยะเวลาตามกำหนด บุคคลนั้นจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 10 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 79-3 ข้อ 5).
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตสามารถออกคำสั่งต่อผู้จัดการ·ผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคระบาด เช่น จัดทำรายชื่อผู้เดินทางเข้ามา สวมใส่หน้ากากอนามัย ฯลฯ ให้ปิดหรือระงับการประกอบการในสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวเป็นระยะเวลาสูงสุด 3 เดือน (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 49 วรรค 3 เนื้อหา).
※ อย่างไรก็ตาม กรณีบุคคลที่ได้รับคำสั่งให้ระงับการประกอบการแต่ยังคงประกอบกิจการในระยะเวลาระงับการประกอบการ จะต้องสั่งให้ปิดสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 49 วรรค 3 ที่มา).
※ หากผู้จัดการ·ผู้ประกอบการที่ได้รับคำสั่งให้ปิดหรือระงับการประกอบการของสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างไร้เหตุผลอันสมควร จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งปิดโดยไม่มีเหตุที่เหมาะสม บุคคลจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20 ล้านวอน (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 49 วรรค 4 และ มาตรา 79 ข้อ 3-3).
※ ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตที่ออกคำสั่งให้ปิดสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถตัดสินสถานะการปิดกิจการผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการท้องถิ่นของ「พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยจากภัยพิบัติ」 มาตรา 11 ในกรณีหมดความจำเป็นในการปิดสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของการแจ้งเตือนวิกฤต หรือแนวทางการป้องกันโรคระบาด (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 49 วรรค 6).
- นายกเทศมนตรี·ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตสามารถให้เจ้าหน้าที่ข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เพื่อปิดสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในกรณีผู้จัดการ·ผู้ประกอบการยังคงประกอบกิจการต่อไปทั้ง ๆที่มีคำสั่งให้ปิดกิจการตามข้างต้น (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 49 วรรค 5).
· ถอดป้ายหรือประกาศต่าง ๆ ของสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว
· เขียนข้อความลงในกระทู้ ฯลฯ ระบุความจริงที่ว่าสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าวได้ปิดกิจการลงตามคำสั่งปิดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว
มาตรฐานค่าปรับการฝ่าฝืนแนวทางการกักกัน
- กรณีผู้จัดการ ผู้บริหาร และผู้ใช้ทำการฝ่าฝืนจะต้องชำระค่าปรับหากฝ่าฝืนตามประเภทดังต่อไปนี้(「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 83 วรรค 2·วรรค 4 ข้อ 1, มาตรา 49 วรรค 1 ข้อ 2-2·2-3, 「พระราชบัญญัติบังคับใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 33 และตารางแนบที่ 3 ข้อ 2 (อา)·(จา).

คุณสมบัติ

พฤติกรรมการฝ่าฝืน

ค่าปรับ

ผู้จัดการ·ผู้บริหาร(เจ้าของกิจการ ฯลฯ)

(「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 83 วรรค 2)

กรณีผู้จัดการ·ผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคระบาดเช่น จัดทำรายชื่อผู้เดินทางเข้ามา สวมใส่หน้ากากอนามัย ฯลฯ ให้ปิดหรือระงับการประกอบการในสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวก

√ ฝ่าฝืนครั้งที่ 1: 500,000 วอน

√ ฝ่าฝืนครั้งที่ 2: 1,000,000 ล้านวอน วอน

√ ฝ่าฝืนครั้งที่ 3 ขึ้นไป: 2,000,000 ล้านวอน

ผู้ใช้บริการ/งาน (ลูกค้า)

(「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 83 วรรค 4 ข้อ 1)

√ กรณีผู้ใช้บริการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดต่อที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคระบาดเช่น จัดทำรายชื่อผู้เดินทางเข้ามา สวมใส่หน้ากากอนามัย ฯลฯ ให้ปิดหรือระงับการประกอบการในสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวก

 √ กรณีไม่ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคระบาดเช่น สวมใส่หน้ากากอนามัย ฯลฯ ให้ผู้ใช้พาหนะเดินทางอย่างรถบัส·รถไฟ·เรือ·เครื่องบิน ฯลฯที่กังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของโรคติดต่อ

√ ฝ่าฝืนครั้งที่ 1: 100,000 วอน

√ ฝ่าฝืนครั้งที่ 2 ขึ้นไป: 100,000วอน