THAI

การป้องกันและจัดการกับโรคติดต่อ
การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคืออะไร
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรค แบ่งออกเป็นวัคซีนบังคับ วัคซีนแบบชั่วคราว และวัคซีนแบบอื่น ๆ
· วัคซีนบังคับ คือ การฉีดวัคซีนที่รัฐสนับสนุน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องเป็นผู้ดำเนินการฉีดวัคซีนที่จำเป็น (ต่อไปนี้เรียกว่า “วัคซีนบังคับ”) ของโรคดังต่อไปนี้ผ่านสถานีอนามัยและสถาบันการแพทย์ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 24 วรรค 1·วรรค 2, 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3 และ 「การกำหนดโรคติดต่อที่ต้องฉีดวัคซีนแบบจำเป็น」 มาตรา 1).

คุณสมบัติโรคติดต่อ

คุณสมบัติการฉีดวัคซีน

ช่วงเวลาการฉีด

วัณโรค

(BCG, การฉีดวัคซีนทางผิวหนัง)

ทารกทุกคน

ภายใน 4 สัปดาห์หลังคลอด

ไวรัสตับอักเสบ B

ทารกทุกคน

ฉีดวัคซีนเบื้องต้น 3 ครั้ง เมื่ออายุตรบ 0, 1, 6 เดือน (อย่างไรก็ตาม กรณีร่างกายของแม่ลูกอ่อนมีผลแอนติเจน (HBsAg) ไวรัสตับอักเสบ B เป็นบวก ทารกควรฉีดวัคซีนอิมมูโนโกลบูลิน (HBIG) และไวรัสตับอักเสบ B ครั้งที่ 1 ที่คนละส่วนของร่างกายภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด)

โรคคอตีบ

ทารกทุกคน

- ฉีดวัคซีนเบื้องต้น 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2, 4, 6 เดือน

- ฉีดวัคซีนกระตุ้นอย่างละ 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 15-18 เดือน และ 4-6 ปี

- ฉีดวัคซีน Tdap หรือ Td 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 11-12 ปี

※ สามารถฉีดวัคซีนเบื้องต้นได้ทั้งหมด 3 ครั้งและฉีดวัคซีนกระตุ้นสำหรับเด็กอายุ 4-6 ปีด้วยวัคซีนผสม DTap-IPV เป็นวัคซีนคอมโบได้

※ เมื่อฉีดวัคซีนเบื้องต้นเป็นวัคซีน DTaP เพียงอย่างเดียวหรือวัคซีนผสม DTaP-IPV เป็นวัคซีนคอมโบ แนะนำให้ฉีดวัคซีนที่มีผู้ผลิตรายเดียวกัน

บาดทะยัก

ทารกทุกคน

- ฉีดวัคซีนเบื้องต้น 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2, 4, 6 เดือน

- ฉีดวัคซีนกระตุ้นอย่างละ 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 15-18 เดือน และ 4-6 ปี

- ฉีดวัคซีน Tdap หรือ Td 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 11-12 ปี

※ สามารถฉีดวัคซีนเบื้องต้นได้ทั้งหมด 3 ครั้งและฉีดวัคซีนกระตุ้นสำหรับเด็กอายุ 4-6 ปีด้วยวัคซีนผสม DTap-IPV เป็นวัคซีนคอมโบได้

※ เมื่อฉีดวัคซีนเบื้องต้นเป็นวัคซีน DTaP เพียงอย่างเดียวหรือวัคซีนผสม DTaP-IPV เป็นวัคซีนคอมโบ แนะนำให้ฉีดวัคซีนที่มีผู้ผลิตรายเดียวกัน

โรคไอกรน

ทารกทุกคน

- ฉีดวัคซีนเบื้องต้น 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2, 4, 6 เดือน

- ฉีดวัคซีนกระตุ้นอย่างละ 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 15-18 เดือน และ 4-6 ปี

- ฉีดวัคซีน Tdap หรือ Td 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 11-12 ปี

※ สามารถฉีดวัคซีนเบื้องต้นได้ทั้งหมด 3 ครั้งและฉีดวัคซีนกระตุ้นสำหรับเด็กอายุ 4-6 ปีด้วยวัคซีนผสม DTap-IPV เป็นวัคซีนคอมโบได้

※ เมื่อฉีดวัคซีนเบื้องต้นเป็นวัคซีน DTaP เพียงอย่างเดียวหรือวัคซีนผสม DTaP-IPV เป็นวัคซีนคอมโบ แนะนำให้ฉีดวัคซีนที่มีผู้ผลิตรายเดียวกัน

โรคโปลิโอ

ทารกทุกคน

- ฉีดวัคซีนเบื้องต้น 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2, 4, 6 เดือน

- ฉีดวัคซีนกระตุ้นอย่างละ 1 ครั้ง เมื่ออายุครบ 15-18 เดือน และ 4-6 ปี

※ สามารถฉีดวัคซีนโปลิโอด้วยวัคซีนรวม DTap-IPV

※ อย่างไรก็ตาม กรณีฉีดวัคซีนเบื้องต้นด้วยวัคซีน DTaP-IPV ต้องฉีดวัคซีนประเภทเดียวกัน

ไข้หวัดใหญ่จากเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิด B

(โรคฮิบ)

- เด็กเล็กอายุ 2-59 เดือน

- เด็กเล็กอายุครบ 5 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อฮิบ (โรคซิกคลีเมีย การตัดม้ามภูมิคุ้มกันลดลงหลังจากเคมีบำบัด มะเร็งเม็ดเลือดขาว การติดเชื้อ HIV โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องทางร่างกาย ฯลฯ)

- กรณีเคยเป็นโรคฮิบเมื่ออายุน้อยกว่า 2 ปี

- ฉีดวัคซีนเบื้องต้น 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2, 4, 6 เดือน

- วัคซีนกระตุ้น 1 ครั้งเมื่ออายุครบ 12-15 เดือน

โรคปอดบวม

- วัคซีนคอนจูเกตโปรตีน (10-valent, 13-valent)

·ทารกและเด็กเล็กที่มีอายุ 2-59 เดือน

・เด็กที่มีอายุ 2 เดือน - 18 ปีที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคปอดบวม

- วัคซีนโพลีแซคคาไรด์ ( 23-valent)

・เด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่อายุ 64 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคปอดบวม

・ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

- วัคซีนคอนจูเกตโปรตีน (10-valent, 13-valent) : ฉีดวัคซีนพื้นฐาน 3 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2, 4 และ 6 เดือน, ฉีดวัคซีนกระตุ้นเมื่ออายุ 12-15 เดือน

※ ไม่แนะนำให้วัคซีนสลับชนิดระหว่าง 10-valent กับ 13-valent

- วัคซีนโพลีแซคคาไรด์ ( 23-valent)

- ฉีดวัคซีน 1 ครั้งเมื่ออายุ 65 ปี

- หากเป็นไปได้ ควรฉีดวัคซีนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัดเช่น ผ่าตัดม้าม ผ่าตัดประสาทหูเทียม เคมีบำบัด หรือการบำบัดรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน

โรคหัด

ทารกทุกคน

ฉีดวัคซีน 1 ครั้งเมื่ออายุครบ 12-15 เดือน และ 4-6 ปี

โรคคางทูม

ทารกทุกคน

ฉีดวัคซีน 1 ครั้งเมื่ออายุครบ 12-15 เดือน และ 4-6 ปี

โรคหัดเยอรมัน

ทารกทุกคน

ฉีดวัคซีน 1 ครั้งเมื่ออายุครบ 12-15 เดือน และ 4-6 ปี

โรคอีสุกอีใส

ทารกทุกคน

ฉีดวัคซีน 1 ครั้งเมื่ออายุครบ 12-15 เดือน

โรคไข้สมองอักเสบ

(วัคซีนชนิดเชื้อตาย)

ทารกทุกคน

- ฉีดวัคซีน 2 ครั้งเมื่ออายุครบ 12-23 เดือนโดยเว้นระยะห่าง 7-30 วัน และ ฉีดวัคซีนครั้งที่ 3 โดยเว้นระยะห่าง 12 เดือนหลังการฉีดครั้งที่ 2

- ฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 เมื่ออายุครบ 6 และ 12 ปี

※ วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย ซึ่งได้มาจากเนื้อเยื่อสมองของหนู และวัคซีนเชื้อตายจากเซลล์วีโรจึงไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนสลับชนิดระหว่างทั้ง 2 ชนิด

โรคไข้สมองอักเสบ

(วัคซีนชนิดเชื้อเป็น)

ทารกทุกคน

ฉีดวัคซีน 1 ครั้งเมื่ออายุครบ 12~23 เดือน และฉีดวัคซีนครั้งที่ 2 โดยเว้นระยะห่าง 12 เดือนหลังการฉีดครั้งที่ 1

※ ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบสลับชนิดระหว่างวัคซีนชนิดเชื้อตายและวัคซีนชนิดเชื้อเป็น

ไข้หวัดใหญ่

- โรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหัวใจเรื้อรัง

- ผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษา พักฟื้น หรือกักตัวในสถานที่อำนวยความสะดวกแบบกลุ่ม เช่น ศูนย์สวัสดิการสังคม

- ผู้ป่วยโรคลมชักเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรคประสาทและกล้ามเนื้อ โรคเลือดและเนื้องอก โรคเบาหวาน ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ผู้ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน) เด็กที่มีอายุ 6 เดือน - 18 ปีที่กำลังทานยาแอสไพริน

- ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

- บุคลากรทางการแพทย์

- ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง สตรีมีครรภ์ และผู้ที่อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

- ผู้ที่ดูแลทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน

- สตรีมีครรภ์

- ประชาชนที่มีอายุ 50-64 ปี

- ประชาชนที่มีอายุ 6-59 เดือน

- เจ้าหน้าที่องค์กรรับมือโรคซาร์สและโรคไข้หวัดนก

- เจ้าหน้าที่ฟาร์มไก่ เป็ด หมู และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม - ธันวาคม

โรคไทฟอยด์

- ผู้ที่สัมผัสอย่างใกล้ชิดกับบุคคลที่เป็นพาหะของโรคไทฟอยด์ (สมาชิกในครอบครัว ฯลฯ )

- ผู้ที่เดินทางหรือพำนักอยู่ในพื้นที่ระบาดของโรคไทฟอยด์

- บุคลากรผู้จัดการกับแบคทีเรียไทฟอยด์

เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีน 1 ครั้ง ฉีดวัคซีนกระตุ้นทุก 3 ปี (กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 2-5 ปี จะต้องพิจารณาจากภูมิหลังด้านระบาดวิทยา และความเสี่ยงต่อการเป็นไทฟอยด์)

โรคไข้เลือดออกรวมกับกลุ่มอาการทางไต

- กลุ่มเสี่ยงสูงที่จะสัมผัสเชื้อไวรัสไข้เลือดออกจากทางไต เช่น ทหารและเกษตรกร ฯลฯ

- บุคลากรในห้องปฏิบัติการที่จัดการกับไวรัสไข้เลือดออกหรือหนูทดลอง

- ผู้ที่ถูกพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงในการสัมผัสแบบส่วนบุคคล เช่น ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งบ่อยครั้ง ฯลฯ

เว้นระยะห่าง 1 เดือนสำหรับฉีดวัคซีน 2 ครั้งและ ฉีดวัคซีน 1 ครั้งโดยเว้นระยะห่าง 12 เดือน

ไวรัสตับอักเสบ A

- กรณีผู้ใหญ่ในวัย 20-30 ปีที่ไม่เคยฉีดวัคซีน หรือไม่เคยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ A

- กรณีหากคุณกำลังเดินทางไปต่างประเทศ- (พื้นที่) ที่มีอัตราการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ A สูง

- ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ A

- เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการที่จัดการกับเชื้อไวรัสตับอักเสบ A

- เจ้าหน้าที่ทหาร บุคลากรทางการแพทย์ และพนักงานบริการอาหาร

- ผู้ที่มีปัญหาด้านลิ่มเลือด

- ผู้ป่วยโรคลมชักเรื้อรัง

- ผู้ที่ติดยา

- ชายรักร่วมเพศ

หลังจากฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 เมื่ออายุครบ 12~23 เดือน,และฉีดครั้งที่ 2 เมื่อผ่านไป 6-12 เดือน (หรือ 6-18 เดือน)

โรคแพปพิลโลมาไวรัส

- เด็กผู้หญิงที่อายุ 12 ปีบริบูรณ์

ฉีด 2 ครั้งหลังจากเว้นระยะห่างไป 6 เดือน

การติดเชื้อไวรัสโรต้าชนิด A

ทารกอายุ 2 ~6เดือน

ฉีดวัคซีนครั้งแรกให้แล้วเสร็จก่อนอายุครบ 15 สัปดาห์ (ฉีดวัคซีนทั้งหมดให้แล้วเสร็จก่อนอายุครบ 8 เดือน)

· วัคซีนแบบชั่วคราวจะต้องมีผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตเป็นผู้ดำเนินการฉีดวัคซีนผ่านสถานีอนามัยและสถาบันการแพทย์เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 25 วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3).
√ กรณีผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีเรียกขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
√ กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตเห็นชอบว่าจำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
· วัคซีนแบบอื่น ๆ คือ วัคซีนที่สามารถฉีดได้ที่สถาบันการแพทย์ที่อยู่นอกเหนือจากการสนับสนุนของรัฐ ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG, การฉีดวัคซีนทางผิวหนัง) โรคจากไวรัสโรตา โรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคงูสวัด ฯลฯ
- การเก็บรักษาและรายงานของบันทึกการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
· หากผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตเป็นผู้ดำเนินการฉีดวัคซีนบังคับและวัคซีนแบบชั่วคราว จะต้องกรอกและเก็บรักษารายงานการฉีดวัคซีน ซึ่งรายละเอียดนั้นจะต้องรายงานแต่ละอย่างต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษ ผู้ว่าราชการเมือง·จังหวัดและผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลี (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 28 วรรค 1, 「พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 23 วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3).
· หากผู้ที่ไม่ใช่ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตเป็นผู้ดำเนินการฉีดวัคซีน จะต้องกรอกเกี่ยวกับบันทึกการฉีดวัคซีนในรายงานและบันทึกการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และจะต้องส่งรายงานและบันทึกการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 28 วรรค 2, 「พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 23 วรรค 2, เอกสารแนบหมายเลข 17 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3).
ตรวจสอบสถานะการฉีดวัคซีนครบ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (หมายถึง นายกเทศมนตรีเขตปกครองตนเอง) สามารถเรียกขอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นให้ส่งบันทึกการตรวจเกี่ยวกับสถานะการฉีดวัคซีนครบตาม 「พระราชบัญญัติสาธารณสุขโรงเรียน」 มาตรา 10 (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」มาตรา 31 วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3).
· ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจะต้องรับใบรับรองการฉีดวัคซีนที่ออกโดยผู้ว่าราชการเมืองปกครองตนเองพิเศษเชจู นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง นายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขต (หมายถึง นายกเทศมนตรีเขตปกครองตนเอง) ภายใน 90 วันนับจากวันที่มีนักเรียนเข้าใหม่ และตรวจสอบว่าทุกคนได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคครบแล้วหรือไม่ จากนั้นจะต้องบันทึกลงในระบบข้อมูลการศึกษา (「พระราชบัญญัติสาธารณสุขโรงเรียน」 มาตรา 10 วรรค 1, 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษเพื่อการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเชจูและจัดตั้งเมืองเสรีนานาชาติ」 มาตรา 9 วรรค 3).
· ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจะต้องชี้แนะนักเรียนใหม่ทั้งหมดที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามผลการตรวจข้างต้น ซึ่งหากมีความจำเป็น สามารถเรียกขอความร่วมมือจากหัวหน้าสถานีอนามัยในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการฉีดวัคซีน ฯลฯ (「พระราชบัญญัติสาธารณสุขโรงเรียน」 มาตรา 10 วรรค 2).
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตสามารถเรียกขอให้ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลตาม「พระราชบัญญัติการศึกษาของเด็ก」และผู้อำนวยการสถานรับเลี้ยงเด็กตาม「พระราชบัญญัติการดูแลเด็กเล็ก」ยื่นขอให้ตรวจสอบใบรับรองการฉีดวัคซีนของเด็กเล็กที่ได้ฉีดวัคซีนบังคับเพื่อเป็นการตรวจสอบสถานะการฉีดวัคซีนของเด็กเล็ก (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 31 วรรค 2, 「พระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายการใช้การป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 25 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3).
· ผู้อำนวยการสถานรับเลี้ยงเด็กสามารถตรวจสอบความจริงเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคของเด็กเล็กโดยใช้ระบบการจัดการการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปีตาม「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 33(4) (เนื้อหาจาก「พระราชบัญญัติการดูแลเด็กเล็ก」 มาตรา 31-3 วรรค 1 ).
※ อย่างไรก็ตาม กรณีดำเนินการดูแลเด็กเล็กเป็นครั้งแรก จะต้องทำการตรวจสอบภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มเลี้ยงเด็ก (จาก「พระราชบัญญัติการดูแลเด็กเล็ก」 มาตรา 31-3 วรรค 1).
· ผู้อำนวยการสถานรับเลี้ยงเด็กสามารถชี้แนะแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จำเป็นต่อเด็กเล็กที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามผลยืนยันการฉีดวัคซีนข้างต้น และสามารถร้องขอความร่วมมือ เช่น การสนับสนุนฉีดวัคซีนป้องกันโรค ฯลฯ ต่อหัวหน้าสถานีอนามัยในกรณีจำเป็น (「พระราชบัญญัติการดูแลเด็กเล็ก」 มาตรา 31-3 วรรค 2).
· ผู้อำนวยการสถานรับเลี้ยงเด็กจะต้องบันทึกและจัดการเกี่ยวกับสถานะและรายละเอียดการฉีดวัคซีนของเด็กเล็กเพื่อเป็นการตรวจสอบและจัดการสถานะการฉีดวัคซีนของเด็กเล็ก (「พระราชบัญญัติการดูแลเด็กเล็ก」 มาตรา 31-3 วรรค 3).
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นายกเทศมนตรีนครปกครองตนเองพิเศษเซจง หรือนายกเทศมนตรีเมือง·นายอำเภอ·นายกเทศมนตรีเขตจะต้องตรวจสอบการส่งบันทึกผลการตรวจเกี่ยวกับสถานะการฉีดวัคซีนครบ และผลลัพธ์ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคของเด็กเล็ก หากมีเด็กเล็กหรือนักเรียนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะต้องดำเนินการรฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่บุคคลเหล่านั้น (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 31 วรรค 3 และ 「พระราชบัญญัติพิเศษการก่อตั้งเมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง」 มาตรา 8 วรรค 3).