THAI

การป้องกันและจัดการกับโรคติดต่อ
โรคติดต่อคืออะไร
กรอบความคิดของโรคติดต่อ
- โรคติดต่อ หมายถึง โรคที่ประกอบด้วยโรคติดต่อระดับ 1 โรคติดต่อระดับ 2 โรคติดต่อระดับ 3 โรคติดต่อระดับ 4 โรคติดต่อระดับ 5 โรคติดต่อจากเชื้อปรสิต โรคติดต่อที่องค์การอนามัยโลกเฝ้าระวัง โรคติดต่อทางชีวภาพ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทั่วไป และโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 2 ข้อ 1).
ประเภทของโรคติดต่อ
- ประเภทของโรคติดต่อมีดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติการป้องกันและจัดการโรคติดต่อ」 มาตรา 2 ข้อ 2 ถึงข้อ 12 และ 「ประเภทของโรคติดต่อที่กำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ」 ข้อ 1].

กลุ่มประเภท

กรอบความคิด

ประเภทของโรคติดต่อ

โรคติดต่อ

ระดับ 1

โรคติดต่อทางชีวภาพ หรือโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง หรือพบความเสี่ยงสูงในการระบาดเป็นกลุ่ม หรือต้องรีบรายงานทันทีเมื่อรายงานทันทีเมื่อพบเจอหรือเกิดการระบาดของโรค หรือโรคติดต่อที่ต้องการกักตัวระดับสูงเหมือนกับการแยกโรคติดเชื้อความดันลบ (อย่างไรก็ตาม รวมถึงกรณีที่จำเป็นต้องป้องกัน·จัดการโรคติดต่อที่โดยทันทีเนื่องจากคาดเดาแล้วว่าจะเข้ามาและแพร่ระบาดอย่างกระทันหัน ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่กำหนดโดยการหารือระหว่างผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ)

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา, โรคไวรัสมาร์บวร์ค, โรคไข้เลือดออกลาสซา, โรคไข้เลือดออกไครเมียนคองโก, โรคไข้เลือดออกอเมริกาใต้, โรคไข้ริฟต์แวลลีย์, โรคไข้ทรพิษ, กาฬโรค, โรคแอนแทรกซ์, โรคโบทูลิซึม, โรคทูลารีเมีย, โรคติดเชื้ออุบัติใหม่, โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS), โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS), โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อเอเวียนอินฟลูเอนซ่าไวรัส, โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และโรคคอตีบ

โรคติดต่อระดับ 2

โรคติดต่อที่จำเป็นต้องรายงานภายใน 24 ชั่วโมงเมื่อพบเจอหรือเกิดการระบาดของโรค เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการแพร่กระจายเชื้อ (อย่างไรก็ตาม รวมถึงกรณีที่โรคติดต่อที่จำเป็นต้องป้องกัน·จัดการโดยทันทีเนื่องจากคาดเดาแล้วว่าจะเข้ามาและแพร่ระบาดอย่างกระทันหัน ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่กำหนดโดยการหารือระหว่างผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ)

วัณโรค, โรคอีสุกอีใส, โรคหัด, อหิวาตกโรค, โรคไทฟอยด์, ไข้รากสาดเทียม,โรคบิดจากเชื้อชิเกลลา, โรคติดเชื้ออีโคไล, โรคไวรัสตับอักเสบ A, โรคไอกรน, โรคคางทูม, โรคหัดเยอรมัน, โรคโปลิโอ, โรคติดต่อไข้กาฬหลังแอ่น, ไข้หวัดใหญ่จากเชื้อฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา ชนิด B (โรคฮิบ), โรคปอดบวม, โรคเรื้อน, โรคไข้อีดำอีแดง, โรคติดเชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส (VRSA) และโรคติดเชื้อดื้อยา (CRE) โรคติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบอี โควิด19 และโรคฝีดาษลิง

โรคติดต่อระดับ 3

โรคติดต่อที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังการระบาดอย่างต่อเนื่องและต้องรายงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังพบเจอหรือเกิดการระบาดของโรค (อย่างไรก็ตาม รวมถึงกรณีที่โรคติดต่อที่จำเป็นต้องป้องกัน·จัดการโดยทันทีเนื่องจากคาดเดาแล้วว่าจะเข้ามาและแพร่ระบาดอย่างกระทันหัน ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่กำหนดโดยการหารือระหว่างผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ)

โรคบาดทะยัก, ไวรัสตับอักเสบ B, โรคไข้สมองอักเสบ, ไวรัสตับอักเสบ C, โรคมาลาเรีย, โรคลีเจียนแนร์, โรคติดเชื้อในกระแสเลือดวิบริโอ, โรคไข้รากสาดใหญ่, โรคไข้รากสาดใหญ่ประจำถิ่น, โรคไข้รากสาดใหญ่, โรคฉี่หนู, โรคบรูเซลโลสิส, โรคพิษสุนัขบ้า), โรคติดเชื้อไวรัสฮานตา, โรคเอดส์(AIDS), โรคสมองฝ่อ (CJD) และ โรคสมองฝ่อวาเรียนท์ (vCJD), โรคไข้เหลือง, โรคไข้เลือดออก, โรคไข้คิว, โรคไข้เวสต์ไนล์, โรคลายม์, โรคไข้สมองอักเสบจากเห็บ, โรคเมลิออยด์, โรคชิคุนกุนยา, โรคไวรัสเห็บ (SFTS) และโรคไข้ซิกา

โรคติดต่อระดับ 4

โรคติดต่อที่จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังเฉพาะกลุ่มเฉพาะพื้นที่เพื่อสำรวจสถานะการระบาด โดยเป็นโรคติดต่อที่ไม่รวมโรคติดต่อระดับ 1 ถึงระดับ 3

ไข้หวัดใหญ่, โรคซิฟิลิส, โรคติดเชื้อพยาธิไส้เดือน, โรคพยาธิแส้ม้า, โรคพยาธิเส้นด้าย, โรคพยาธิใบไม้ตับ, โรคพยาธิใบไม้ปอด, โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้, โรคมือเท้าปาก, โรคหนองใน, โรคติดเชื้อคลาไมเดีย, โรคแผลริมอ่อน, โรคเริม ที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ, โรคหูดหงอนไก่, โรคติดเชื้อดื้อยา (VRE), โรคติดเชื้อดื้อยา (MRSA), โรคติดเชื้อดื้อยา (MRPA), โรคติดเชื้อดื้อยา (MRAB), โรคติดเชื้อในลำไส้ และโรคอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน โรคติดเชื้อจากเชื้อปรสิตที่มาจากต่างประเทศ โรคติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี

โรคติดต่อจากเชื้อปรสิต

โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อปรสิต

โรคติดเชื้อพยาธิไส้เดือน, โรคพยาธิแส้ม้า, โรคพยาธิเส้นด้าย,โรคพยาธิใบไม้ตับ,โรคพยาธิใบไม้ปอด, โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้ และ โรคติดเชื้อจากเชื้อปรสิตที่มาจากต่างประเทศ

โรคติดต่อที่

องค์การอนามัยโลกเฝ้าระวัง

โรคติดต่อที่ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีประกาศว่าเป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เฝ้าระวังเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ

โรคไข้ทรพิษ, โรคโปลิโอ, โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่, โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS), อหิวาตกโรค, โรคปอดอักเสบ, กาฬโรค , โรคไข้เหลือง, โรคไข้เลือดออกจากไวรัส, โรคไข้เวสต์ไนล์

โรคติดต่อทางชีวภาพ

โรคติดต่อจากในบรรดาโรคติดต่อที่แพร่เชื้อโดยมีเจตนาเพื่อการก่อการร้ายที่ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีประกาศ

โรคแอนแทรกซ์, โรคโบทูลิซึม, กาฬโรค, โรคไวรัสมาร์บวร์ค, โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา, โรคไข้เลือดออกลาสซา โรคไข้ทรพิษ, โรคทูลารีเมีย,

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อจากในบรรดาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีประกาศ

โรคซิฟิลิส, โรคหนองใน, โรคติดเชื้อคลาไมเดีย, โรคแผลริมอ่อน, โรคหูดหงอนไก่

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคติดต่อจากในบรรดาโรคติดต่อที่แพร่เชื้อระหว่างสัตว์และมนุษย์ที่ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีประกาศ

โรคติดเชื้ออีโคไล, โรคไข้สมองอักเสบ, โรคแอนแทรกซ์, โรคพิษสุนัขบ้า, โรคไข้หวัดนก, โรคทางเดินหายใจรุนแรงเฉียบพลัน (SARS), โรคสมองฝ่อวาเรียนท์ (vCJD), โรคไข้คิว, วัณโรค

โรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์

โรคติดต่อที่พบในระหว่างขั้นตอนการรักษาของผู้ป่วย สตรีมีครรภ์ ฯลฯ จนมีจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ และเป็นโรคติดต่อที่ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคแห่งเกาหลีประกาศ

โรคติดเชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส (VRSA), โรคติดเชื้อดื้อยา (VRE), โรคติดเชื้อดื้อยา (MRSA), โรคติดเชื้อดื้อยา (MRPA), โรคติดเชื้อดื้อยา (MRAB), โรคติดเชื้อดื้อยา (CRE)