THAI

การรับมรดก
การร้องขอและประกาศการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
การร้องขอและประกาศการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
- กรณีไม่ทราบอย่างชัดเจนว่ามีผู้รับมรดกหรือไม่ ญาติหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเจ้ามรดกสามารถร้องขอการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 1).
※ “ญาติของเจ้ามรดก” หมายถึงครอบครัวทางสายเลือดภายในรุ่นที่ 8, ญาติพี่น้องใกล้ตัวภายในรุ่นที่ 4 หรือคู่สมรส (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 777).
※ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” หมายถึง บุคคลที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทางกฎหมาย เจ้าหนี้ทรัพย์มรดก ผู้ได้รับทรัพย์สินจากการยกมรดก ที่ดำเนินการจัดขายทรัพย์มรดก
· ดังนั้น หลังจากแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องดำเนินการประกาศโดยเร็วที่สุด [「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 1 และ 「พระราชบัญญัติการฟ้องร้องคดีครอบครัว」มาตรา 2 วรรค 1 ข้อ 2(37)].
· เนื้อหาของการประกาศแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมีดังต่อไปนี้ (「กฎข้อบังคับการฟ้องร้องคดีเยาวชนและครอบครัว」มาตรา 79).
√ ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องขอ
√ ชื่อ อาชีพ และที่อยู่ล่าสุดของเจ้ามรดก
√ วันเกิด สถานที่และวันที่เสียชีวิตของเจ้ามรดก
√ ชื่อและสถานที่ของผู้จัดการมรดก
· ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการประกาศจะถูกหักออกจากทรัพย์มรดก (「กฎข้อบังคับการฟ้องร้องคดีเยาวชนและครอบครัว」มาตรา 81).
การจัดการทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้ง
- ผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้งโดยศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องระบุเกี่ยวกับรายการของทรัพย์สินที่ตนจะต้องจัดการ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 2 และ มาตรา 24 วรรค 1).
· ศาลเยาวชนและครอบครัวสามารถออกคำสั่งแก่ผู้จัดการมรดกให้ดำเนินการการจัดการที่จำเป็นเพื่อรักษาทรัพย์มรดก (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 2 และ มาตรา 24 วรรค 2).
· ค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกจะถูกหักออกจากทรัพย์มรดก (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 2 และ มาตรา 24 วรรค 4)
- ผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้งโดยศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อใช้หรือปรับปรุงสิ่งของหรือสิทธิที่มีวัตถุประสงค์ในการรักษาและจัดการกับทรัพย์สิน (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 118) กรณีไม่ทราบอย่างชัดเจนถึงความเป็นความตายของผู้รับมรดก ผู้จัดการมรดกจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อกระทำการใด ๆ ที่นอกเหนือจากอำนาจและสิทธิของตนเอง (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 2 และ มาตรา 25).
การจัดสรรการค้ำประกันของผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้ง
- ศาลเยาวชนและครอบครัวสามารถออกคำสั่งต่อผู้จัดการมรดกให้จัดสรรการค้ำประกันสำหรับการจัดการและส่งคืนทรัพย์สิน (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 2 และ มาตรา 26 วรรค 1).
ค่าตอบแทนสำหรับผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้ง
- ศาลเยาวชนและครอบครัวสามารถจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้จัดการมรดกที่ถูกแต่งตั้งโดยหักออกจากทรัพย์มรดก (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1053 วรรค 2 และ มาตรา 26 วรรค 2).