THAI

การรับมรดก
การรับมรดกแบบทั่วไป
แนวคิดของการรับมรดกแบบทั่วไป
- “การรับมรดกแบบทั่วไป” หมายถึงการแสดงออกว่าจะไม่ปฎิเสธผลประโยชน์ของการรับมรดก
· เมื่อผู้รับมรดกดำเนินการรับมรดกแบบทั่วไป บุคคลนั้นจะต้องสืบทอดสิทธิและหน้าที่ของเจ้ามรดกอย่างไร้ข้อจำกัด (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1025)
การรับมรดกแบบทั่วไปทางกฎหมาย
- กรณีมีเหตุผลดังต่อไปนี้ จะถือว่าผู้รับมรดกจะดำเนินการรับมรดกแบบทั่วไป (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1026).
· เมื่อผู้รับมรดกได้จัดการขายทรัพย์มรดก (เช่น กรณีขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทรัพย์มรดกและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่น, กรณีขายหุ้นที่เป็นทรัพย์มรดก, กรณีชำระหนี้สินของตนเองด้วยประกันเงินฝากที่เป็นทรัพย์มรดก ฯลฯ)
· เมื่อผู้รับมรดกไม่การรับมรดกแบบจำกัดหรือสละมรดกภายในระยะเวลาการพิจารณาของการรับมรดกของผู้รับมรดก ฯลฯ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1019 วรรค 1)
· เมื่อมีการซุกซ่อนทรัพย์มรดก หรือใช้จ่ายในทางที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงไม่ระบุเกี่ยวกับรายการของทรัพย์สินโดยเจตนาหลังจากที่ผู้รับมรดกดำเนินการรับมรดกแบบจำกัดหรือสละมรดก
ข้อยกเว้นของการรับมรดกแบบทั่วไปทางกฎหมาย
- การรับมรดกจะไม่เกิดขึ้นหากผู้รับมรดกลำดับแรกสละมรดกให้แก่ผู้รับมรดกลำดับถัด แต่ผู้รับมรดกลำดับแรกได้ทำการใช้จ่ายในทางที่ไม่ถูกต้อง(「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1027).