THAI

การรับมรดก
การแบ่งทรัพย์มรดก
ทรัพย์มรดกจะแบ่งตามทรัพย์สินของผู้รับมรดกรายบุคคล
- ผู้รับมรดกร่วมจะสืบทอดสิทธิและหน้าที่ของเจ้ามรดกโดยการเริ่มรับมรดก ซึ่งทรัพย์มรดกนั้นจะเป็นการถือครองร่วมกันของผู้รับมรดกร่วม (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1007 และ 1006).
· กรณีนี้ การแบ่งทรัพย์มรดกจำเป็นต้องแบ่งตามทรัพย์สินของผู้รับมรดกรายบุคคล ซึ่งเรียกว่าสิ่งนี้ว่าการแบ่งของทรัพย์มรดก
- กรณีมีการแบ่งทรัพย์สมบัติโดยพินัยกรรมหรือข้อตกลงระบุว่าห้ามมิให้มีการแบ่งทรัพย์มรดก การแบ่งทรัพย์มรดกจะถูกห้ามให้เกิดขึ้น
· กรณีเจ้ามรดกระบุในพินัยกรรมว่าห้ามมิให้มีการแบ่งทรัพย์มรดก การแบ่งทรัพย์มรดกจะถูกห้ามให้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
√ เจ้ามรดกสามารถห้ามการแบ่งสำหรับทรัพย์มรดกทั้งหมดหรือบางส่วน รวมถึงผู้รับมรดกทุกรายหรือบางราย โดยการระบุผ่านพินัยกรรม (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1012).
√ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการกำหนดระยะเวลาการแบ่งเกิน 5 ปีขึ้นไป ระยะเวลาของการห้ามแบ่งดังกล่าวจะลดลงเป็น 5 ปี
· กรณีผู้รับมรดกร่วมห้ามมิให้แบ่งทรัพย์มรดกผ่านข้อตกลง การแบ่งทรัพย์มรดกจะถูกห้ามให้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
√ ผู้รับมรดกร่วมสามารถตกลงกันไม่ให้มีการแบ่งมรดกภายในระยะเวลา 5 ปี (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 268 วรรค 1).
√ การตกลงห้ามแบ่งมรดกเช่นนี้สามารถปรับปรุงใหม่และต่ออายุเพิ่มได้อีก 5 ปี (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 268 วรรค 2).
- การแบ่งทรัพย์มรดกผู้รับมรดกร่วมจะต้องเข้าร่วมทุกคน
· บุคคลที่สามารถทำการร้องขอให้แบ่งมรดกประกอบด้วย ผู้รับมรดก ผู้ที่ได้รับบริจาคทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ผู้รับมรดกของผู้รับมรดกร่วม ผู้รับมอบอำนาจจากส่วนแบ่งมรดก ฯลฯ
√ เจ้าหนี้ของผู้รับมรดกสามารถใช้สิทธิการร้องขอให้แบ่งมรดกโดยวิธีทดแทนเจ้าหนี้ (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา404).