THAI

การรับมรดก
มีความรู้ทางกฎหมายที่สำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้เมื่อมีคนใกล้ชิดในครอบครัวเสียชีวิต
สิ่งที่ต้องตรวจสอบเมื่อมีการรับมรดก
- กรณีคนใกล้ชิดในครอบครัวเสียชีวิต สิ่งแรกที่จะต้องทราบคือตนเองเป็นผู้รับมรดกของผู้เสียชีวิตหรือไม่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องข้างต้น ได้แก่
1. ต้องทราบว่าตนเองเป็นผู้รับมรดกหรือไม่
· หากพบว่าตนเป็นผู้รับมรดกของผู้เสียชีวิต นอกจากสิทธิในการรับทรัพย์มรดกแล้ว ในฐานะหน้าที่ของการรับมรดกตามกฎหมาย ผู้รับมรดกมีความจำเป็นต้องทราบโดยเร็วว่าตนเองเป็นผู้รับมรดกจริงหรือไม่ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงมรดกที่เป็นหนี้สิน
2. ต้องตรวจสอบว่าเจ้ามรดกเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้หรือไม่
· กรณีมีการจัดทำพินัยกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายไว้ จะต้องทำตามเนื้อหาในพินัยกรรมตามกฎหมายนั้น โดยเฉพาะกรณีมีการยกมรดก จะต้องตรวจสอบเนื้อหาในพินัยกรรมให้ดี เนื่องจากหลังจากยกมรดกให้ผู้รับมรดกก่อนแล้ว ทรัพย์สินที่เหลือจะกลายมาเป็นมรดกด้วยเช่นกัน
3. กรณีตนเองคือผู้รับมรดก จะต้องตรวจสอบสถานะทรัพย์สินของเจ้ามรดก
· สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับเจ้ามรดกว่ามีเงินฝาก เงินกู้ การค้ำประกัน บัญชีหุ้น สัญญาประกันภัย หนี้สินเกี่ยวกับบัตรเครดิตหรือไม่ ผ่านสำนักงานใหญ่ของหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินชั้น 1 ของศูนย์การเงิน หรือสถาบันทางการเงินต่าง ๆ
· อกจากนี้ ผู้รับมรดกสามารถยื่นคำขอทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตได้ภายในครั้งเดียวที่สำนักงานตามเมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้านซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตที่ว่ารวมถึงธุรกรรมทางการเงิน จำนวนเงินค้างชำระภาษีในประเทศ และระดับท้องถิ่น รายละเอียดการสมัครเงินบำนาญสำหรับประชาชน เงินบำนาญข้าราชการ เงินบำนาญเจ้าหน้าที่โรงเรียนเอกชน รายละเอียดการเป็นเจ้าของรถยนต์ การถือครองอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
√ สามารถยื่นคำขอได้โดยไปที่ศูนย์ให้บริการประชาชนด้วยตนเองหรือเข้าไปที่เว็บไซต์รัฐบาล24
4. จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบว่าตนเองมีส่วนแบ่งในการรับมรดกเท่าไหร่ หรือจะได้รับทรัพย์สินทางมรดกเท่าไหร่
· กรณีมีผู้รับมรดกหลายคน จะประกอบไปด้วยผู้รับมรดกร่วม หากไม่มีการการยกมรดกให้ผู้ใด ส่วนแบ่งมรดกของแต่ละคนจะเป็นไปตามส่วนแบ่งของการรับมรดกตามกฎหมายทั่วไป (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1009).
5. กรณีที่ได้รับหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินทางมรดกแต่ไม่ทราบจำนวนของหนี้ที่แน่นอน จำเป็นต้องพิจารณาว่าจะสละมรดกหรือการรับมรดกแบบจำกัด
· การสละมรดก (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1019) หรือการรับมรดกแบบจำกัด (「ประมวลกฎหมายแพ่ง」มาตรา 1028) จะต้องตัดสินใจว่าจะสละมรดกหรือการรับมรดกแบบจำกัดภายในช่วงเวลาของการรายงานโดยจะต้องรายงานต่อศาลเยาวชนและครอบครัวภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ผู้รับมรดกทราบว่ามีการเริ่มรับมรดกเกิดขึ้น