THAI

สตาร์ทอัพและการดำเนินกิจการร้านดูแลผิว
การประกาศการปิดตัวของกิจการ
การประกาศการปิดตัวของกิจการเสริมสวย (ผิวหนัง)
- บุคคลที่ต้องการจะรายงานการปิดกิจการร้านเสริมสวย (ผิวหนัง) ซึ่งประสงค์จะปิดกิจการนั้น เขา/เธอจะต้องส่งรายงานการปิดกิจการ (รวมถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์) กับผู้อำนวยการฝ่ายปกครองในจังหวัด/เขต/อำเภอทราบภายใน 20 วันจากวันที่ทำการปิดกิจการ (พระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข มาตรา 3 (2) กฎข้อบังคับพระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข มาตรา 3-3 (1) และแบบฟอร์มที่ 5-2)
※ การประกาศปิดกิจการนั้นไม่อนุญาตให้กระทำในช่วงเวลาที่กิจการของเขา/เธอถูกระงับตามบทบัญญัติในมาตรา 11 (บทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข มาตรา 3 (2))
การประกาศปิดกิจการที่ลงทะเบียนแล้ว
- เมื่อผู้ประกอบกิจการร้านดูแลผิวต้องการปิดกิจการของเขา/เธอ ผู้ประกอบกิจการนั้นจะต้องส่ง (รวมถึงการส่งทางบริการ Hometax ของกรมสรรพากร) รายงานการปิดกิจการนั้นให้กับผู้บริหารสำนักงานสรรพากร (ผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีอำนาจหรือสำนักงานสรรพากรอื่น) โดยไม่ชักช้า โดยระบุข้อความดังต่อไปนี้ (เนื้อหาหลักของพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 8 (7) พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 13 (1) และกฎข้อบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบฟอร์มที่ 9)
· ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการ
· วันที่ระงับหรือปิดกิจการ และสาเหตุ
· ข้อมูลอ้างอิงอื่น ๆ ใบอนุญาติประกอบกิจการ
- รายงานการปิดกิจการนั้นจะต้องส่งพร้อมกับใบอนุญาติประกอบกิจการและข้อความยืนยัน (หมายถึงสำเนาของเอกสารที่ยืนยันการปิดกิจการ) การปิดกิจการ (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 13 (2))
- ถ้าผู้ประกอบกิจการซึ่งลงทะเบียนในฐานะกิจการได้ส่งรายงานการปิดกิจการพร้อมใบอนุญาติประกอบกิจการและข้อความยืนยันการปิดกิจการ ระบุวันที่ทำการปิดกิจการและสาเหตุ ถือว่าเขา/เธอได้ส่งรายงานปิดกิจการสำหรับการปิดการลงทะเบียนกิจการ (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 13 (3) และกฎข้อบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบฟอร์มที่ 21)
ความสัมพันธ์ระหว่างการประกาศปิดกิจการเสริมสวย (ผิวหนัง) และการปิดกิจการตามกฎหมายในพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เมื่อผู้ประกอบกิจการร้านดูแลผิวซึ่งประสงค์จะรายงานการปิดกิจการดูแลผิว ต้องการรายงานการปิดกิจการตามกฎหมายในพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาเดียวกัน เขา/เธอสามารถส่งใบประกาศการปิดกิจการ รวมถึงรายงานการปิดกิจการตามกฎข้อบังคับพระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข แบบฟอร์มที่ 9 (กฎข้อบังคับพระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข มาตรา 3-3 (2) ส่วนต้น และแบบฟอร์มที่ 5-2)
- เมื่อผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีอำนาจได้รับรายงานการปิดกิจการตามกฎหมายในพระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ส่งรายงานดังกล่าวให้กับผู้อำนวยการฝ่ายปกครองในจังหวัด/เขต/อำเภอ ถือว่ารายงานการปิดกิจการนั้นได้ส่งสำเร็จแล้ว (กฎข้อบังคับพระราชบัญญัติควบคุมสาธารณสุข มาตรา 3-3 (3) และแบบฟอร์มที่ 5-2)