THAI

สตาร์ทอัพและการดำเนินกิจการร้านดูแลผิว
การลงทะเบียนกิจการ
แนวคิดเกี่ยวกับการลงทะเบียนกิจการ
- “การลงทะเบียนกิจการ” หมายถึงการที่ผู้ประกอบกิจการรายงานหน้าที่การจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม และรายละเอียดของกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสรรพากรที่มีอำนาจ ([สมุดคำศัพท์กฎหมาย] กระทรวงพระราชกำหนด ศูนย์วิจัยกฎหมายแห่งประเทศเกาหลี 2003)
Q. ถ้าฉันประกอบกิจการร้านดูแลผิวโดยไม่ลงทะเบียนกิจการ จะเกิดอะไรขึ้น
A. ถ้าคุณประกอบกิจการร้านดูแลผิวโดยไม่ลงทะเบียนกิจการ จะมีผลเสียดังต่อไปนี้
· คุณจะไม่สามารถออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า และจะไม่ได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวข้อง
· การซื้อขายที่กระทำโดยปราศจากการลงทะเบียนกิจการนั้นเป็นการซื้อขายที่ไม่ได้ลงทะเบียน โดยคุณจะมีหน้าที่จ่ายภาษีเพิ่มจากการที่ไม่ได้ลงทะเบียนนั้น
· คุณจะต้องรับผิดการมีหน้าที่จ่ายภาษีเพิ่มเติมเนื่องจากการปราศจากความซื่อสัตย์ในการรายงาน และการจ่ายเงินของสถานที่ประกอบกิจการซึ่งไม่มีการรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่ทำการลงทะเบียนกิจการ
<กรมสรรพากร - นโยบาย/ระบบกรมสรรพากร – ข้อมูลการลงทะเบียนกิจการ >
ช่วงเวลาที่เปิดให้สมัครและวิธีการสมัคร
- ผู้ประกอบกิจการร้านดูแลผิวต้องสมัครลงทะเบียนกิจการสำหรับสถานที่ประกอบกิจการทั้งหมดกับผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ประกอบกิจการ โดยส่งเอกสารที่จำเป็นภายใน 20 วันหลังเริ่มต้นการประกอบกิจการของเขา/เธอ แต่ว่า บุคคลที่ต้องการจะเปิดกิจการใหม่สามารถยื่นใบสมัครลงทะเบียนกิจการได้ตั้งแต่ก่อนวันที่เริ่มต้นการประกอบกิจการ (พระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 8 (1))
- ผู้ประกอบกิจการร้านดูแลผิวยังสามารถยื่นใบสมัครลงทะเบียนกิจการกับผู้บริหารสำนักงานสรรพากรใด ๆ นอกเหนือจากผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ประกอบกิจการของเขา/เธอ ในกรณีนั้น เขา/เธอจะถือว่าได้ทำการยื่นใบสมัครลงทะเบียนกิจการกับผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ประกอบกิจการของเขา/เธอแล้ว (พระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 8 (2))
- ผู้ประกอบกิจการร้านดูแลผิวที่มีสถานที่ประกอบกิจการตั้งแต่สองแห่งหรือมากกว่า (รวมทั้งที่กำลังประกอบกิจการในสถานที่ประกอบกิจการอยู่แล้วหนึ่งแห่ง และต้องการเปิดสถานที่ประกอบกิจการเพิ่มเติม) สามารถยื่นใบสมัครลงทะเบียนหน่วยกิจการของเขา/เธอกับผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ประกอบกิจการสำนักงานหลัก หรือสำนักงานแรกของเขา/เธอ ในกรณีนั้น ผู้ประกอบกิจการนั้นจะลงทะเบียนเป็นผู้บริหารต่อหน่วยกิจการที่จ่ายภาษี (พระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 8 (3))
เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร
- ผู้ประกอบกิจการร้านดูแลผิวที่ประสงค์จะลงทะเบียนกิจการของเขา/เธอต้องส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้สำนักงานสรรพากรที่มีอำนาจ หรือสำนักงานภาษีอื่นๆ (รวมถึงการส่งเอกสารผ่านบริการ Hometax ของกรมสรรพากร) (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 11 (1) และ (3) และกฎข้อบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบฟอร์มที่ 4)
· ใบสมัครลงทะเบียนกิจการ
· สำเนาใบรับรองการลงทะเบียนกิจการ หนึ่งฉบับ
· สำเนาสัญญาการเช่าที่ดิน (เฉพาะบุคคลที่ทำการเช่าที่ดิน) หนึ่งฉบับ
· ถ้าคุณได้ทำสัญญาเช่าที่ดินอาคารเพื่อการพาณิชย์ สำเนาพิมพ์เขียวของชั้นที่ใช้ประกอบกิจการ (เฉพาะในอาคารที่อยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติการปกป้องการเช่าที่ดินสำหรับอาคารการพาณิชย์)
· ในกรณีเป็นผู้ประกอบกิจการที่มีสถานที่ประกอบกิจการตั้งแต่สองแห่งหรือมากกว่า ซึ่งต้องการจะสมัครลงทะเบียนหน่วยกิจการของเขา/เธอกับผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ประกอบกิจการสำนักงานหลัก หรือสำนักงานแรก ให้ส่งเอกสารที่ระบุข้างต้นสำหรับสถานที่ประกอบกิจการนอกเหนือจากสถานที่ที่ต้องจ่ายภาษี และเอกสารที่ระบุที่ตั้ง ประเภทของกิจการ รายการกิจการ เป็นต้น
- ในกรณีเป็นผู้ประกอบกิจการที่มีสถานที่ประกอบกิจการตั้งแต่สองแห่งหรือมากกว่า ซึ่งต้องการจะสมัครลงทะเบียนหน่วยกิจการของเขา/เธอกับผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ประกอบกิจการสำนักงานหลัก หรือสำนักงานแรก จะต้องส่งเอกสารที่ระบุข้างต้นสำหรับสถานที่ประกอบกิจการนอกเหนือจากสถานที่ที่ต้องจ่ายภาษี และเอกสารที่ระบุที่ตั้ง ประเภทของกิจการ รายการกิจการ เป็นต้น ให้กับสำนักงานสรรพากรที่มีเขตอำนาจเหนือหน่วยกิจการของเขา/เธอ (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 11 (2) และ (3))
การออกใบอนุญาติประกอบกิจการ
- เมื่อได้รับใบสมัครแล้วให้ผู้บริหารสำนักงานสรรพากรที่มีอำนาจเหนือสถานที่ประกอบกิจการของผู้สมัคร(สำนักงานใหญ่หรือสำนักงานหลัก)ออกใบอนุญาติประกอบกิจการที่ระบุข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของกิจการและข้อมูลอื่น ๆที่สำคัญให้ผู้สมัคร ภายใน 2วัน (วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดราชการ วันหยุดชดเชยวันหยุดราชการ และวันหยุด (กฎข้อบังคับวันหยุดของเจ้าหน้าที่รัฐ มาตรา 2)และวันแรงงาน (พระราชบัญญัติกำหนดวันแรงงาน)จะไม่นำมาใช้ในการคำนวณเวลาการออกใบอนุญาตถ้าอธิบดีกรมสรรพากรเห็นว่าจำเป็นต้องตรวจสอบการปฏิบัติการของกิจการเขา/เธอสามารถเลื่อนวันออกใบอนุญาตเพิ่มเติมได้ 5 วัน) จากวันที่ได้รับใบสมัครนั้น(พระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 8 (6)พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 11 (5)และกฎข้อบังคับพระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่มแบบฟอร์มที่ 7)
บทลงโทษของการละเมิดกฎ
- ถ้าผู้ประกอบกิจการร้านดูแลผิวไม่ทำการสมัครลงทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ประกอบกิจการนั้นจะมีหน้าที่จ่ายภาษีเพิ่มขึ้น หรือถูกลดจำนวนที่หักภาษีได้ เท่ากับร้อยละ 1 ของมูลค่าทั้งหมดของรายได้ระหว่างช่วงที่เริ่มต้นการประกอบกิจการจนถึงช่วงก่อนวันทำการสมัครลงทะเบียน (พระราชบัญญัติภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 60 (1) อนุวรรค 1)