THAI

สตาร์ทอัพและการดำเนินกิจการร้านดูแลผิว
การเลือกสถานที่ และย่านธุรกิจที่เหมาะสม
อาคารที่อนุญาตให้เปิดร้านดูแลผิว
- ร้านดูแลผิวนั้นอนุญาตให้เปิดเฉพาะในอาคารที่เข้าเกณฑ์เป็นอาคารอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียง ประเภท 2 )1( (พระราชบัญญัติสิ่งปลูกสร้าง อนุวรรค 3 (c) ตารางที่ 1)
ใช้พื้นที่ที่อนุญาตให้เปิดร้านดูแลผิว
- การดำเนินกิจการร้านดูแลผิวนั้นต้องกระทำในสถานที่ใช้เฉพาะโดยไม่มีข้อห้าม แต่การดำเนินกิจการดังกล่าวยังต้องปฏิบัติตามข้อห้ามดังต่อไปนี้ในสถานที่ใช้เฉพาะ (พระราชบัญญัติการวางแผนและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ มาตรา 76 (1) และพระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติการวางแผนและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ มาตรา 71 (1)):

สถานที่ใช้เฉพาะ 

ข้อห้าม 

▪ เขตเฉพาะเป็นที่อยู่อาศัย ประเภท-1 

▪ เขตเฉพาะเป็นที่อยู่อาศัย ประเภท-2 

พื้นที่อาคารทั้งหมดของกิจการเสริมสวยต้องเล็กกว่า 1,000 ตร.ม. (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติการวางแผนและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ อนุวรรค 1(b) ตารางที่ 2 และอนุวรรค 1(c) ตารางที่ 3) 

▪ พื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติ 

เทศบัญญัติการวางผังเมืองและพัฒนาเขตต้องอนุญาตให้สามารถสร้างอาคารอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียง ประเภท 1 ในกรณีนั้น พื้นที่อาคารทั้งหมดของกิจการเสริมสวยต้องเล็กกว่า 500 ตร.ม. (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติการวางแผนและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ อนุวรรค 2(b) ตารางที่ 15) 

▪ การจัดการพื้นที่อนุรักษ์ 

▪ การจัดการพื้นที่การผลิต 

▪ พื้นที่เพื่อการเกษตรและป่าไม้ 

เทศบัญญัติการวางผังเมืองและพัฒนาเขตต้องอนุญาตให้สามารถสร้างอาคารอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียง ประเภท 1 (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติการวางแผนและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ อนุวรรค 2(a) ตารางที่ 18 อนุวรรค 2(b) ตารางที่ 19 และอนุวรรค 2(a) ตารางที่ 21) 

▪ พื้นที่อนุรักษ์สภาพแวดล้อมธรรมชาติ 

กิจการที่ต้องห้าม (พระราชกฤษฎีกาบังคับพระราชบัญญัติการวางแผนและใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ตารางที่ 22) 

ประเภทของย่านธุรกิจที่เหมาะสมเป็นที่ตั้งของร้านดูแลผิว

ประเภทของย่านที่เหมาะสม 

ข้อดีและข้อเสีย 

ลักษณะ 

สถานที่ตั้งหลัก 

(ย่านการค้าใจกลางเมือง หรือบริเวณที่ใกล้เคียงรถไฟใต้ดิน)  

ข้อดี

▪ ง่ายต่อการสร้างฐานลูกค้าสตรี ที่มีความสัมพันธ์กับกิจการแฟชั่นเช่นร้านขายเสื้อผ้าและร้านทั่วไป  

▪ ความต้องการทางแฟชั่นเพิ่มยอดขายทั้งหมด โดยการให้บริการและสินค้าที่มีราคา  

▪ มีอุปสงค์พียงพอ และต้องการบริการและสินค้าที่คุณภาพสูง 

ข้อเสีย 

▪ ค่าเช่าที่ดินราคาแพงเนื่องจากการพัฒนาย่านการค้าใจกลางเมือง หรือบริเวณที่ใกล้เคียงรถไฟใต้ดิน 

▪ เนื่องจากอัตราการแข่งขันสูง กำไรอาจจะได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุน  

▪ ต้องมีวิธีการตอบโต้ร้านแฟรนไชส์ของนักออกแบบที่มีชื่อเสียง 

พื้นที่ลำดับรอง (อาคารอำนวยความสะดวกในบริเวณใกล้เคียงในเขตที่อยู่อาศัย)  

ข้อดี

▪ สามารถสร้างฐานลูกค้าที่แน่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ลูกจ้างสำคัญเพียง 1-2 คน 

▪ อัตราการแข่งขันมักจะต่ำกว่าในย่านการค้าใจกลางเมือง หรือบริเวณที่ใกล้เคียงรถไฟใต้ดิน

▪ การบริการสามารถสร้างชื่อเสียงได้อย่างรวดเร็วผ่านการโฆษณาแบบการบอกต่อ เหมาะสมกับผู้ริเริ่มกิจการที่มีฝีมือ แต่ขาดเงินทุน  

ข้อเสีย 

▪ อุปสงค์จำกัด และเมื่อมีร้านขนาดเล็กและขนาดกลางเข้าเป็นตัวหารตลาด รายได้ที่สร้างได้ก็จะมีจำกัด 

▪ ร้านขนาดเล็กจะพบอุปสรรคเช่น ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เมื่ออุปสงค์สูงเกินไป