THAI

การเริ่มต้นและการดำเนินงานร้านกาแฟ
ข้อควรระวังเมื่อต้องนำเข้าและขายเมล็ดกาแฟโดยตรง
ข้อควรระวังเมื่อต้องนำเข้าเมล็ดกาแฟโดยตรง เป็นต้น
- การเพิ่มจำนวนร้านกาแฟที่นำเข้าเมล็ดกาแฟ โดยไม่ได้รับการจัดส่งจากซัพพลายเออร์รายอื่นเพื่อ ขายกาแฟคั่วสด บุคคลใดก็ตามที่มีความประสงค์จะนำเข้าและขายเมล็ดกาแฟ จะต้องยื่นใบขน สินค้าขาเข้าตาม「พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารนำเข้า」
ใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับเมล็ดกาแฟ
- การยื่นใบขนสินค้าขาเข้า
·ในกรณีที่ธุรกิจมีความประสงค์ที่จะนำเข้า (รวมถึงการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าโดยใช้ตัวแทน) อาหาร เพื่อจุดประสงค์ในการขายหรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อธุรกิจ เขา/เธอจะต้องยื่นใบขนสินค้า ขาเข้าสำหรับอาหารนำเข้าที่เกี่ยวข้อง ต่อหัวหน้าสำนักงานความปลอดภัยอาหารและยา ประจำ ภูมิภาคที่มีเขตอำนาจเหนือพิธีการศุลกากรอาหารที่นำเข้าพร้อมเอกสารประกอบดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความ ปลอดภัยอาหารนำเข้า」 มาตรา 20(1) และ「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติ พิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」 ส่วนเดิมของมาตรา27(1))
√ ใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับอาหารนำเข้า (「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติ พิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」 แบบฟอร์มภาคผนวก 25)
√ กระดาษห่อที่พิมพ์เป็นภาษาเกาหลี (รวมถึงกระดาษห่อที่แนบฉลากที่พิมพ์ด้วยภาษาเกาหลี) หรือเอกสารที่กล่าวถึงเนื้อหาในภาษาเกาหลี
√ รายงานการทดสอบหรือการตรวจสอบที่ออกโดยหน่วยงานทดสอบ หรือตรวจสอบจาก ต่างประเทศผ่านการตรวจพินิจอย่างละเอียด (ใช้เฉพาะกับอาหารที่นำเข้า ตามการตรวจพินิจ อย่างละเอียด ตาม「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุม ความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」ภาคผนวก 9 วรรค 2(ค)
√ เอกสารใด ๆ ดังต่อไปนี้ [อาหารดัดแปลงพันธุกรรม (หมายถึง อาหารที่ผ่านการประเมินความ ปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ปศุสัตว์ และการประมง เป็นต้น ที่เพาะปลูกหรือเลี้ยง โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมที่ระบุไว้ใน「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」มาตรา 12-2(1) หรืออาหารที่ผลิตหรือแปรรูปด้วยผลิตภัณฑ์ เช่น วัตถุดิบ) ใช้เฉพาะกับอาหารที่ต้องมีการ ติดฉลากจีเอ็มโอ แต่ไม่ได้ติดฉลากอาหารจีเอ็มโอ]
(ก) หนังสือรับรองการกระจายสินค้าแบบแยกต่างหาก (หมายถึง เอกสารที่พิสูจน์ว่าอาหารที่นำเข้า เป็นต้น ได้รับการจัดการแยกต่างหากจากอาหาร ดัดแปลงพันธุกรรมในกระบวนการจัดการ รวมถึงการซื้อเมล็ดพันธุ์ การแปรรูป การผลิต การจัดเก็บ การคัดแยก การลำเลียง และการขนส่ง)
(ข) หนังสือรับรองที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของประเทศผู้ผลิต ว่ามีผลเช่นเดียวกับหนังสือ รับรองการกระจายสินค้าแบบแยกต่างหาก
(ค) รายงานการทดสอบและการตรวจสอบที่แสดงให้เห็นว่าอาหารที่นำเข้า ไม่จำเป็นต้องติดฉลาก ว่าเป็นอาหารดัดแปลงพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่งออกโดยสถาบันการทดสอบและตรวจสอบที่กำหนด หรือถือว่าได้รับมอบหมายตาม「พระราชบัญญัติการทดสอบและตรวจสอบในอุตสาหกรรม อาหารและยา」 มาตรา 6 และมาตรา 8
√ คำชี้แจงของเหตุผลสำหรับการกำหนดวันหมดอายุ หรือคำชี้แจงของเหตุผลสำหรับวันที่หมดอายุ (ใช้เฉพาะกับอาหารที่นำเข้าจากแบรนด์ OEM เป็นต้น)
√ แผนการส่งออก (ต้องมีการกำหนดแผนเฉพาะเรื่องหลังจากการนำสินค้าเข้าประเทศสาธารณรัฐ เกาหลี และใช้ได้มีผลบังคับใช้เฉพาะในกรณีที่มีการนำเข้าอาหารที่นำเข้า เพื่อรับสกุลเงินตรา ต่างประเทศตาม「พระราชบัญญัติการค้าต่างประเทศ」)
√ สำเนาเอกสารการอนุมัติหรือเอกสารการอนุญาต เช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ หรือสำเนา รายงานของรายการสินค้าที่ผลิต (ใช้ได้มีผลบังคับใช้เฉพาะในกรณีที่มีการนำเข้าอาหารที่นำเข้า เพื่อรับสกุลเงินตราต่างประเทศ หรือเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ของผู้นำเข้าตาม「พระราชบัญญัติการค้าต่างประเทศ」ไม่รวมถึงในกรณีที่มีการตรวจสอบเอกสารดังกล่าว ผ่านทางคอมพิวเตอร์)
√หนังสือรับรองสุขอนามัยหรือหนังสือรับรองการตรวจสอบ (ใช้เฉพาะกับกรณีผลิตภัณฑ์ทางทะเลนำเข้าจากประเทศที่ได้ลงนามในข้อตกลงฯลฯ กับรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออกเกี่ยวกับการแนบใบรับรอง ฯลฯและยกเว้นกรณีที่สามารถตรวจสอบหนังสือรับรองที่ออกโดยหน่วยข่าวกรองของประเทศผู้ส่งออกที่ผ่านการยอมรับโดยอธิบดีสถาบันความปลอดภัยของอาหารและยาแห่งชาติ)
√ หนังสือรับรองสุขอนามัยสำหรับการส่งออก (ใช้เฉพาะกับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์เท่านั้น)
√ สำเนาหนังสือรับรองสำหรับการรับรองอาหารที่ผ่านการรับรองฮาลาล หรือผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ที่ผ่านการรับรองฮาลาล (ใช้เฉพาะกับการติดฉลากหรือการโฆษณาอาหารที่ผ่านการรับรองฮาลาล หรือผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่ผ่านการรับรองฮาลาล)
√ เอกสารดังต่อไปนี้ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความปลอดภัยด้านอาหารและยา เห็นว่าจำเป็นต่อ ความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้า เป็นต้น
(ก) หนังสือรับรองที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศผู้ผลิต ที่รับรองว่ามีการใช้วัตถุดิบจากสัตว์เคี้ยว เอื้องที่แข็งแรง ซึ่งไม่ใช้สัตว์เคี้ยวเอื้องที่ติดเชื้อโรควัวบ้า หรือ Bovine Spongiform Encephalopathy (BSE)
(ข) รายงานการตรวจสอบสารไดออกซินที่ตกค้าง (ใช้ได้เฉพาะเมื่อนำเข้าเกลือที่ผ่านความร้อน)
(ค) เอกสารอื่น ๆ ที่ปิดประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา บนหน้า โฮมเพจของเว็บไซต์กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลความเป็น อันตราย เช่น เอกสารที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก
- ระยะเวลาของการสำแดงสินค้า
·ในกรณีเช่นนี้ เขา/เธออาจจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration)ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 5 วัน ก่อนวันที่อาหารที่นำเข้ามาถึงตามกำหนดเวลาและในกรณีที่มีข้อมูลสำคัญ เช่น ท่าเรือที่สินค้า มาถึงตามที่รายงานล่วงหน้าวันที่สินค้ามาถึงตามหมายกำหนดการ สถานที่นำสินค้าเข้ามาและวันที่นำสินค้าเข้ามาตามหมายกำหนดการ หากมีการเปลี่ยนแปลง เขา/เธอจะต้องรายงานรายละเอียดในเอกสารทันที(「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」 ส่วนหลังของมาตรา 27(1))
- การลงโทษการละเมิด
· บุคคลใดก็ตามที่จำเป็นต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า แต่ไม่ดำเนินการดังกล่าว ต้องโทษจำคุกไม่เกิน5 ปี หรือโทษปรับไม่เกิน 50 ล้านวอน หรืออาจต้องโทษทั้งจำทั้งปรับดังกล่าว (「พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」มาตรา 42 วรรค 2)
ใบขนสินค้าขาเข้าของตัวแทนซื้อทางอินเทอร์เน็ต
- ในกรณีที่ธุรกิจประกอบธุรกิจการจัดซื้ออาหารที่นำเข้า ทางออนไลน์โดยตัวแทนมีความประสงค์ ที่จะจัดทำใบขนสินค้าขาเข้า ตัวแทนจะต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า (รวมถึงใบขนสินค้าขาเข้าในรูป แบบอิเล็กทรอนิกส์) ของอาหารที่นำเข้า ซึ่งตัวแทนได้ทำการจัดซื้อทางอินเตอร์เน็ต ตาม「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」แบบฟอร์มภาคผนวก 26) ต่อหัวหน้าสำนักงานความปลอดภัยอาหารและยาประจำภูมิภาค ที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่สำหรับดำเนินพิธีการศุลกากรอาหารที่นำเข้า เป็นต้น (「กฎระเบียบการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」 มาตรา 27(2))
ความรับผิดชอบของผู้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้า
- บุคคลที่ประสงค์จะยื่นใบขนสินค้าขาเข้า หรือบุคคลที่ได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าแล้ว จะต้องรับผิดชอบ ต่อความปลอดภัยและคุณภาพของอาหาร ที่เขา/เธอนำเข้า และจะต้องไม่มีส่วนร่วมในการดำเนิน การใดก็ตามดังต่อไปนี้ (「พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า มาตรา」 มาตรา 20(2))
· การดำเนินการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าโดยวิธีการฉ้อฉลหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ
· การใช้หรือขายอาหารที่นำเข้า เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า อย่างไรก็ตามข้อความก่อนหน้านี้จะไม่ใช้บังคับเมื่อบุคคลที่ลงทะเบียนสำหรับการผลิตหรือการแปรรูปอาหาร หรือการผลิตวัตถุเจือปนอาหาร หรือได้จัดทำประกาศการเริ่มต้นธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต ภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ หรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และธุรกิจบรรจุภัณฑ์และการจัดการเนื้อสัตว์ ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ หลังจากที่เขา/เธอได้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับอาหารที่นำเข้า เพื่อเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของเขา/เธอ
· การดำเนินการนำเข้าอาหารที่นำเข้า กลับไปยังประเทศผู้ส่งออกใหม่อีกครั้ง หรือนำออกไปยัง ประเทศอื่น หลังจากถูกชี้ขาดว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานอันเป็นผลมาจากการตรวจสอบ
· การดำเนินการที่ละเมิดเงื่อนไขใดก็ตามของใบขนสินค้าขาเข้า ตาม「พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วย การควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」 ส่วนหลังของมาตรา 21(1)
· การดำเนินการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าสำหรับอาหารที่นำเข้า ซึ่งละเมิดมาตรฐานและข้อกำหนด ตาม「พระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหาร」 มาตรา 7 「พระราชบัญญัติอาหารเสริมสุขภาพ」 มาตรา 14 และ「พระราชบัญญัติการควบคุมสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์」 มาตรา 4
- บุคคลที่ละเมิดความรับผิดชอบของผู้ยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือโทษปรับไม่เกิน 50 ล้านวอน หรืออาจต้องโทษทั้งจำทั้งปรับ (「พระราชบัญญัติพิเศษ ว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยอาหารที่นำเข้า」 มาตรา 42 วรรค 3)
ประเภทของการตรวจสอบสิ่งของนำเข้าและอาหารที่ต้องมีการตรวจสอบดังกล่าว
- ในกรณีที่ผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยอาหารและยาในพื้นที่ได้รับใบสำแดงการนำเข้า(ยกเว้นที่อยู่ภายใต้「พระราชกำหนดการบังคับใช้พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยในอาหารที่นำเข้า」) อาหารนำเข้าตาม「พระราชกำหนดการบังคับใช้พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยในอาหารที่นำเข้า」) ตารางภาคผนวก 9 จะต้องได้รับการตรวจสอบและในกรณีที่เห็นสมควรจะต้องออกใบรับรองยืนยันการนำเข้า(รวมถึงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์)(「พระราชกำหนดการบังคับใช้พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยในอาหารที่นำเข้า」แบบฟอร์มหมายเลข28)สำหรับอาหารนำเข้า (「พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยในอาหารที่นำเข้า」มาตรา 21วรรค 5 และ 「พระราชกำหนดการบังคับใช้พระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยในอาหารที่นำเข้า」มาตรา 30วรรค 1)